บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2013

กิเลสมี 3 ระดับ

พระพุทธองค์ ได้ บอกวิธี เพื่อกำจัดกิเลส แต่ละ แบบไว้ดังนี้ กิเลส ชั้นหยาบ กำจัดได้ด้วยการ รักษาศีล กิเลส ชั้นกลาง  กำจัดได้ด้วยการ ทำสมาธิ กิเลส ชั้นละเอียด กำจัดได้ด้วย  ปัญญา เมื่อ กิเลส (เครื่องเศร้าหมอง) ถูกจำกัด ออกไป ที่เหลือ คือ จิตที่ใส สงบ รู้ทุกข์ ทำให้ ถึงซึ่งความดับทุกข์ทั้งปวง กิเลส ชั้นหยาบ  เห็นได้ง่าย เป็นผลปรากฎทางกาย  วาจา   - พูดเพ้อเจ้อ โกหก ส่อเสียด - ฆ่าสัตว์ เบียดเบียน ทำร้าย   ลักทรัพย์  ฯลฯ  (สังเกต เห็นได้โดยง่าย) กิเลส ชั้นกลาง   ซ่อนอยู่ในใจ    ร้อนรุ่ม  กระวนกระวาย  อิจฉา ริษยา  โกรธ อาฆาต  พยาบาท ลังเลสงสัย ซึม เศร้า  ความอยากทั้งหลายทั้งปวง  (พอจะรู้ได้บ้าง) นิวรณ์ 5 กิเลส ชั้นละเอียด  ซ่อนลึก ตกเป็นตะกอน อยู่ในสันดาน  พร้อมที่จะผุดขึ้น เมื่อถูกกระทบ แม้เพียงเล็กน้อย  (ยากที่จะรู้เท่าทัน)     ที่มา  http://diarylove.com/

ทุกข์ทั้งหลายมารวมลงที่ใจ

ทุกข์ทั้งหลายมารวมลงที่ใจ มีสติรู้ปล่อยวางเสียได้จะหมดทุกข์ ทุกข์ที่กายมีมากมาย เช่นทุกข์จากความเจ็บไข้ในโรคร้ายต่างๆ ทุกข์เพราะความพิการตั้งแต่เล็ก หรือพิการเพราะอุบัติเหตุต่างๆ และเนื่องด้วยกายกับใจ เช่นความศูนย์เสียบุคคลอันเป็นที่รัก ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก มีความปารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นๆก็เป็นทุกข์ มีความเกลียดใครก็เป็นทุกข์ มีความอิจฉาริษยาใครก็เป็นทุกข์ มีความรักใคร่ในใครก็เป็นทุกข์ ทุกข์เหล่านี้มารวมลงในใจเป็นความจำได้หมายรู้ หรือจิตใต้สำนึกของเรา ยามใดที่เราได้เห็นรูป ได้ยินเสียง ได้ดมกลิ่น ได้รับรส ได้สัมผัสทางกาย และธรรมารมณ์คือเรื่องที่มีอยู่ในใจ การรับรู้กับสิ่งที่มีความคล้ายคลึงกับเรื่องที่ทำให้เราเป็นทุกข์ ก็จะเกิดความนึกคิดให้เกิดทุกข์ขึ้นมาอีกทุกครั้ง ตรงนี้แหละที่เรียกว่าใจเป็นเหตุ หรือสมุทัย ถ้าไม่อยากให้เกิดทุกข์อีก จะต้องหมั่นภาวนาไว้เสมอๆในหัวข้อธรรมนี้ว่า “ไม่ยินดียินร้าย...ไม่ว่าร้ายใคร...ไม่คิดร้ายใคร...” เพื่อให้จิตมีความรู้ตัว มีอินทรีย์สังวรรู้ระวังในใจเมื่อได้รับรู้ใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรมารมณ์ จะทำให้มีสติ ถอนความรู้สึกยินดียินร้

15 ข้อฝึกหาความสุขแบบตัดตรง(ไม่หรูหราแต่ได้ผลจริง)

1. ฝึกมองตัวเองให้เล็กเข้าไว้ หมายความว่า จงเป็นคนตัวเล็ก อย่าเป็นคนตัวใหญ่ จงเป็นคนธรรมดา อย่าเป็นคนสำคัญ เวลามีอะไรเกิดขึ้นกับเรา อย่าไปให้ความสำคัญกับตัวเองมาก อย่าปล่อยให้จิตใจวนไปวนมากับความรู้สึกของตัวเอง เหมือนจมอยู่ในอ่าง ลองเปิดตามองไปรอบๆ แล้วมองให้เห็นว่า คนบนโลกนี้มีมากมายแค่ไหน ตัวเราไม่ได้เป็นศูนย์กลางของโลก ดังนั้นก็อย่าไปให้ความสำคัญกับมันมากนัก ทุกข์บ้าง ผิดบ้าง เรื่องธรรมดา 2. ฝึกให้ตัวเองเป็นนักไม่สะสม หมายความว่า การสะสมอะไรสักอย่างนั้นเป็นภาระ ไม่มีอะไรที่เราสะสมแล้วไม่เป็นภาระยกเว้นความดี นอกนั้นล้วนเป็นภาระทั้งหมดไม่มากก็น้อย ในแง่ของความสุข เราไม่จำเป็นต้องสะสมอะไรเพื่อให้มีความสุข วิธีมีความสุขของคนเรามีมากมายหลายอย่าง และเราไม่ควรเลือกวิธีที่สร้างภาระให้กับตนเอง 3. ฝึกให้ตนเองเป็นคนสบายๆ หมายความว่า อย่าไปบ้ากับความสมบูรณ์แบบ เพราะความสมบูรณ์แบบมันไม่มีจริง มีแต่คนโง่เท่านั้นที่มองว่า ความสมบูรณ์แบบมีจริง ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม หัดเว้นที่วางไว้ให้ความผิดพลาดบ้าง ทุกอย่างไม่จำเป็นต้องไร้ที่ติ การผิดบ้างถูกบ้างเป็นเรื่องธรรมดาของชีวิต เพียงแต่เราต้องรู้จักปรับ

การทำจิตให้กลับมาอยู่กับตนเอง

การทำจิตให้กลับมาอยู่กับตนเอง คือการทำจิตให้สงบนิ่ง คนทุกวันนี้ มีจิตที่ไม่อยู่กับตนเองเสียเป็นส่วนใหญ่ จึงหาความสงบนิ่งไม่ได้ มีความทุกข์เกิดในใจอยู่เสมอๆ ก็เพราะการขาดสติ เป็นสิ่งสำคัญ จิตจึงส่งออกไปกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทางกาย ที่ชวนให้รัก,ชักให้ใคร่,พาใจให้ไหลหลง, รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทางกาย จึงจัดเป็นวัตถุแห่งกาม คือพัสดุอันน่าใคร่ เมื่อ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ มากระทบสัมผัสสิ่งเหล่านี้ ก็ทำให้เกิดความรู้สึกยินดียินร้ายบ้าง,ความรู้สึกพอใจหรือความรู้สึกไม่พอใจบ้าง, จึงทำให้จิตของเราเกิดกิเลสกาม คือกิเลสเป็นเหตุให้เกิดความใคร่ได้แก่ความอยาก เกิดเป็นบาปอกุศลจิต มีความไม่สบายใจ ความเศร้าหมองใจเป็นทุกข์เกิดขึ้น ยิ่งมีความปารถนาในสิ่งใด หรือไม่ปารถนาในสิ่งใด การได้เห็นสิ่งนั้นๆ ยิ่งทำให้เกิดความทุกข์ เพราะการได้เห็นสิ่งนั้นๆด้วยความรู้สึกยินดียินร้าย ยิ่งจะไปกระตุ่นความจำในจิตใต้สำนึก ให้เกิดความนึกคิดปรุงแต่งให้เกิดความทุกข์ใจกลับมาอีก มันจะเป็นอยู่อย่างนี้ตลอดเวลา ถ้าเราไม่ได้ฝึกให้จิตของตนมีสติ รู้ปล่อยวางในอารมณ์ยินดียินร้ายเสีย ความสงบสุขก็ยากจะเกิดขึ้นได้ ถ้าท่านทั้

กรรมกำหนดชีวิต

กรรมกำหนด ให้ชีวิตทุกชีวิตมีความเป็นไปทั้งสุขและทุกข์ คนเราเกิดมาทุกๆคนจะต้องพบ จะต้องเจอปัญหาชีวิตด้วยกันเกือบทุกคน ไม่ว่าจะอยู่ในสถานะไร จะมั่งมีหรือยากจน ไม่ว่าในด้านการงาน การเงินการเรียนการศึกษา ปัญหาทางครอบครัวและญาติมิตร ปัญหาชีวิตในด้านความรักความพลัดพราก ความเจ็บป่วยด้วยสาเหตุต่างๆ ปัญหาความเป็นอยู่และอีกมากมายจนพรรณนาไม่หมด ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะ คนเราเกิดมาจากกรรมหรือกรรมกำหนด คือการที่เราได้กระทำกรรมไว้แล้วแต่อดีตชาติบ้าง จากปัจจุบันชาติบ้าง มาส่งผลให้ชีวิตมีความเป็นไปต่างๆนาๆ มีเกิดสุขบ้างและมีเกิดทุกข์บ้าง สิ่งที่เรากำลังเผชิญความเป็นอยู่ในปัจจุบันนี้จึงเรียกว่าวิบาก ซึ่งเป็นเศษกรรมเก่ามาส่งผล(กรรมหนักเราได้ชดใช้ในนรกมาแล้ว) ถ้าเราต้องพบกับปัญหาชีวิต ดังที่กล่าวมาแล้ว ก็ขอให้เราอย่าท้อถอย ขอให้เข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตของเราแม้ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทางกาย ต่างๆ ที่เราต้องเจออยู่ทุกวัน ก็ยังจัดเป็นส่วนหนึ่งของวิบากกรรมเก่า ที่เราจำต้องรับรู้อยู่ทุกวัน อันเป็นเหตุให้เราเกิดความสุขหรือความทุกข์ได้ ถ้าเราไม่ยอมรับและเข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้นต่อเราก็จะเกิดทุกข์ ถ้าเราเ

ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นมรรค

ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นมรรค อันเอกอุกฤษฏ์ เดินทางนี้ตรงไปสู่ความดับทุกข์ได้แน่ อันพระอริยเจ้าทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้า เป็นต้น ได้ดำเนินมาสำเร็จตามปรารถนามาแล้วทุกๆ พระองค์ มรรค ๘ เป็นทางดำเนินด้วยใจ ถึงแม้จะแสดงออกมาให้เป็นศีล ก็แสดงศีลในองค์มรรคนั่นเอง มรรคแท้มีอันเดียว คือ สัมมาทิฏฐิ อีก ๗ ข้อเบื้องปลายเป็นบริวารบริขารของสัมมาทิฏฐิทั้งนั้น หากขาดสัมมาทิฏฐิตัวเดียวเสียแล้ว สัมมาสังกัปปะเป็นต้น ย่อมเป็นไปไม่ได้ เช่น ปัญญาพิจารณาเห็นความทุกข์ตามเป็นจริงว่า มนุษย์สัตว์ทั้งหลายที่เกิดมาในโลกนี้ย่อมถูกทุกข์คุกคามอยู่ตลอดเวลา โลกนี้จึงเป็นที่น่าเบื่อหน่ายเห็นเป็นภัย แล้วก็ดำริตริตรองหาช่องทางที่จะหนีให้พ้นจากกองทุกข์ในโลกนี้ การดำริเช่นนั้นก็เป็นผลสืบเนื่องมาจาก สัมมาทิฏฐิ ปัญญาอันเห็นชอบนั่นเอง การดำริที่ชอบที่ถูกนั้นก็เป็นสัมมาวาจาอยู่แล้ว เพราะวาจาจะพูดออกมาก็ต้องมีการตริตรองก่อน การตริตรองเป็นศีลของอริยมรรค การพูดออกมาด้วยวาจาชอบเป็นศีลทั่วไป การงานของใจ คือ ดำริชอบ วาจาชอบ อยู่ภายในใจ เป็นการงานของอริยมรรคผู้ไม่ประมาท ดำเนินชีวิตเป็นไปในอริยมรรคดังกล่าวมาแล้วนั้น ได้ชื่อว่าความเป็นอยู่ชอบ

การทำให้จิตมีความสงบสุขและนิ่ง

การทำให้จิตมีความสงบสุขและนิ่ง สามารถทำได้ในชีวิตประจำวัน ชีวิตประจำวันของคนในยุคนี้ มีแต่เรื่องต้องรู้ ต้องเห็นอะไรต่อมิอะไรมากมาย แล้วทำให้จิตเกิดความหวั่นไหวสับสนวุ่นวาย หาความสงบสุขไม่ค่อยได้ เพราะสิ่งที่ได้รู้ได้เห็นคือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทางกาย ที่ชวนให้รัก, ชักให้ใคร่, พาใจให้ไหลหลง, ทำให้เกิดมีความรู้สึกยินดียินร้ายบ้าง,ความรู้สึกพอใจหรือไม่พอใจบ้าง,ความรู้สึกชอบใจหรือไม่ชอบใจ, ความรู้สึกเหล่านี้เป็นบาปคือความไม่สบายใจ เป็นอกุศลคือความเศร้าหมองใจ จึงหาความสงบสุขและนิ่งได้ยาก เพราะบาปอกุศลคือกิเลสความอยาก เป็นโลภะจิต โทสะจิต และโมหะจิต ที่ทำให้จิตไม่สงบนิ่ง เกิดอัตตาคือความยึดมั่นถือมั่น และอคติคือความลำเอียงมองคนในแง่ร้าย แต่ถ้าเราอยากให้จิตของเราเกิดความสงบสุขและนิ่ง จึงจำเป็นจะต้องมีความเพียรชอบในการดำริชอบคือการคิดเห็นหัวข้อธรรมะอยู่ในใจไว้เสมอตลอดเวลาของชีวิตประจำวัน หัวข้อธรรมะในการที่จะนำมาดำริชอบคือการคิดเห็นในใจ หรือเป็นธัมมะภาวนาคือ “อย่ายินดียินร้าย...อย่าว่าร้ายใคร...อย่าคิดร้ายใคร...” เพื่อสร้างความรู้ตัวไว้ในจิตใต้สำนึกให้มากๆ อย่างน้อยให้ได้ ๓๐ ครั้งต่อวัน

หลวงปู่มั่นเล่าเรื่องพระธาตุพนม

รูปภาพ
หลวงปู่มั่นเล่าเรื่องพระธาตุพนมให้หลวงพ่อวิริยังค์ฟัง ~ ท่านอาจารย์มั่น ฯได้เล่าขณะที่ข้าพเจ้าทำหมากถวายท่านเวลากลางวันต่อไป อีกว่า พวกเราก็ต้องเดินทางหลังจากออกพรรษาแล้ว รอนแรมตามฝั่งแม่น้ำโขงเรื่อยลงมา ณ ตามฝั่งแม่น้ำโขงนั้นก็มีหมู่บ้านเป็นหย่อมๆ หลายก๊ก เช่น ภูไท ไทยดำ ลาวโซ่ง ~ท่านเล่าว่า~ ภูไทมีศรัทธาดีกว่าทุกก๊ก แต่ภูไทนี้การภาวนาจิตใจอ่อน รวมง่าย รักษาไม่ใคร่เป็น ส่วนลาวโซ่งนั้นไม่ใคร่เอาไหนเลย แต่ทุก ๆ ก๊กก็ทำบุญนับถือพุทธทั้งนั้น เขาให้พวกเราได้มีชีวิตอยู่ก็นับว่าดี แต่ขณะนี้ตัวของเราเองก็ยังมองไม่เห็นธรรมของจริง ยังหาที่พึ่งแก่ตนยังไม่ได้ จะไปสอนผู้อื่นก็เห็นจะทำให้ตัวของเราเนิ่นช้า จึงไม่แสดงธรรมอะไร นอกจากเดินทางไป พักไป บำเพ็ญสมณธรรมไป ตามแต่จะได้ ครั้นแล้วท่านอาจารย์เสาร์ก็พาข้ามแม่น้ำโขงกลับประเทศไทย ที่ท่าข้ามตรงกับพระธาตุพนมพอดี ~ ท่านเล่าไปเคี้ยวหมากไปอย่างอารมณ์ดีว่า ขณะนั้นพระธาตุพนมไม่มีใครเหลียวแลดอก มีแต่เถาวัลย์นานาชนิดปกคลุมจนมิดเหลือแต่ยอด ต้นไม้รกรุงรังไปหมด ทั้ง ๓ ศิษย์อาจารย์ก็พากันพักอยู่ที่นั้น เพื่อบำเพ็ญสมณธรรม ขณะที่ท่านอยู่กันนั้น พอตกเวลากลางคื

พระธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

พระธรรมเทศนาโดย...หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ลักษณะจิตที่หลุดพ้นนั้นมีลักษณะการหลุดพ้นต่างกัน จำแนกออกได้ 5 ประเภทคือ ๑. ตทงฺควิมุตฺติ คือ ความหลุดพ้นเป็นบางขณะ ได้แก่ ความหลุดพ้นที่เกิดจากความสงบของจิตในบางคราว หรืออาจเกิดจากการเจริญวิปัสสนาแล้วเห็นทุกข์ ทำให้จิตละสังขารเพียงบางครั้งบางคราว แต่ไม่เกิดปัญญา ไม่เกิดมรรค ที่จะทำลายกิเลสให้สิ้นไปได้ เพียงแต่ละได้ในบางครั้งบางคราวเป็นขณะ ๆ เท่านั้น ๒. วิกฺขมฺภนวิมุตฺติ จิตหลุดพ้นโดยการใช้สมาธิกดข่มจิตไว้ คือ การเข้าฌาณสมาบัติ ระงับจิตจากกิเลสชั่วคราว จัดเป็นโลกียวิมุติ เมื่อออกจากฌานสมาบัติ กิเลสก็เข้าเกาะกุมจิตได้อีก เป็นความหลุดพ้นที่ไม่เด็ดขาด เพราะมรรคไม่ประหารนั่นเอง ๓. สมุจฺเฉทวิมุตฺติ จิตหลุดพ้นโดยมรรคประหารกิเลส ขาดไปจากจิต เป็นการหลุดพ้นโดยเด็ดขาด คือ กิเลสขาดไปจากจิต ได้แก่ ผู้เจริญสมถวิปัสสนาจนเกิดมัคญาณประหารกิเลสในจิต ๔. ปฏิปสฺสทฺธิวิมุตฺติ จิตหลุดพ้นด้วยความสงบ คือ จิตสงบหลุดพ้นจากกิเลสเป็นผลเกิดจากมรรคประหาร ๕. นิสฺสรณวิมุตฺติ จิตหลุดพ้นโดยแล่นออกจากสังขารธรรม เป็นวิมุตฺติของผู้เจริญวิปัสสนา มีปัญญาเห็นตามความเป็นจริง

โลกียสุขคือสุขทางโลกหาได้ยาก

โลกียสุขคือสุขทางโลกหาได้ยาก โลกุตตรสุขคือสุขทางธรรมหาได้ง่ายกว่า ทุกวันนี้ชาวโลกเราต่างแสวงหาความสุข ในรูปแบบต่างๆ ที่บางครั้งก็ต้องเสี่ยงเป็นเสี่ยงตายเพื่อที่จะให้ได้มาซึ่งความสุข ความสุขเช่นนี้เรียกว่าโลกียสุขคือสุขทางโลก บางคนชอบเที่ยวไปในที่ต่างๆที่ให้ความตื่นเต้น บางคนชอบกินชอบดื่ม บางคนชอบเล่นการเล่น บางคนชอบเล่นการพนัน บางคนชอบชีวิตในยามราตรี สิ่งเหล่านี้ต้องอาศัยความรู้สึกทางอารมณ์ของกิเลสกามมีความโลภและความโกรธครอบงำ คือความยินดียินร้าย, ความชอบใจหรือความไม่ชอบใจ, ความพอใจหรือความไม่พอใจ, เป็นเครื่องชี้นำไปสู่การแสวงหาความสุขในทางโลก ต้องเหนื่อยกายเหนื่อยใจกว่าจะได้มาซึ่งความสุขแต่ละครั้ง ต้องแลกด้วยปัจจัยคือเงินทองและร่างกาย จึงว่าหาได้ยาก เพราะมีองค์ประกอบหลายอย่าง เช่นเงินทองเวลาและสถานที่ แต่ความสุขอีกอย่างคือโลกกุตตรสุข คือสุขทางธรรม ไม่ต้องเสียอะไรเลย จะอยู่ที่ไหนๆก็สามารถทำได้ตลอดเวลา ในชีวิตประจำวันที่อยู่กับการทำงาน ในการเดินทาง หรืออยู่บ้านก็ทำได้ตลอดเวลา ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ เพียงมีศรัทธาความเชื่อในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเท่านั้น นั่นก็คือการมีความเพียรชอบอยู่ใน

อานิสงส์ของการมีสัจจะ

            มีสองตายายเขาพากันเดินจงกรมบนนอกชานเรือนตอนเดือนหงาย ไอ้ขโมยมาลักควาย นี่เรื่องตก ๓๐ ปีแล้ว สองคนตายายเดินจงกรมที่นอกชานเดือนหงาย ถ้าไม่ได้ชั่วโมงไม่เลิก ต้องได้ชั่วโมง ก็ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ ช้าๆ ใครจะไปเหนือมาใต้ข้าไม่สนใจ ใครจะเรียกข้าก็ไม่รับปาก แหมเดินดี เดินจงกรมมีสัจจะว่าเดินหนึ่งชั่วโมง ความอยู่ใต้ถุน ขโมยมา ๔ คนก็มาลักควาย คนหนึ่งก็เฝ้าเจ้าของไว้ คนหนึ่งก็ไปเฝ้าทางปากตรอกไว้ คนหนึ่งตัดคอกใต้ถุนแล้วเอาควายออก มีความ ๓ ตัว ควายอ้วนๆ เอาควายไปแล้วเปิดเลย คนที่มันเฝ้าเจ้าของมันยังอยู่ สุนัขหลับหมด ไม่รู้มันใช้สะกดหรืออย่างไรเราก็ไม่ทราบ หรือดาวหมามันขึ้นเราไม่รู้ เรียนหรือเปล่าดาวหมาขึ้นลักขโมยตอนนั้น ถ้าไม่เรียนจะบอกให้เอาไหม ดาวหมาขึ้นหลับหมดเลย ลักของได้ตอนนั้นนะ อานิสงส์การเดินจงกรม ความออกนอกบ้านไปแล้ว คนที่มันเฝ้าอยู่ใต้ถุนบ้านเจ้าของดูว่าเจ้าของจะตื่นหรือเปล่า เดือนมันหงายนี่มันก็อะไรไม่รู้ ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ เอ๊ะ ผีสิงหรือยังไง ก็เดินดูจนควายออกไปตั้งเยอะแล้ว ออกปากตรอกไปแล้ว เอ อะไรกัน นี่ ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ ขโมยที่เฝ้าคอกมันก็ถอยหลังเรื่อย มันอยา

ทางสายกลาง

รูปภาพ
        มัชฌิมาปฏิปทาในทางพุทธศาสนาหมายถึงทางสายกลาง คือ การไม่ยึดถือสุดทางทั้ง 2 ได้แก่ อัตตกิลมถานุโยค คือ การประกอบตนเองให้ลำบากเกินไป กามสุขัลลิกานุโยค คือ การพัวพันในกามในความสบาย ที่ไม่ใช่ทางสายกลาง คือ สักแต่ว่ากลาง โดยเป็นแต่เพียงโวหารไม่ได้กำหนดวิธีที่ถูกต้องไว้เลย แต่พระพุทธองเจ้าได้ทรงกำหนดหลักทางสายกลางนี้ไว้อย่างชัดเจน คือ อริยมรรคมีองค์ 8 เมื่อย่นย่อแล้ว เรียกว่า "ไตรสิกขา" ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา มัชฌิมาปฏิปทาหมายถึงการปฏิบัติสายกลาง ซึ่งหลักปฏิบัติย่อมต้องคู่กับหลักการอันเป็นสายกลางเช่นกัน โดยที่หลักการอันเป็นสายกลางนี้เรียกว่ามัชเฌนธรรม หรือหลักการที่ว่าด้วยความสมดุล (สมตา)อันเป็นลักษณะอันเป็นสากลของสรรพสิ่งอย่างหนึ่ง เช่นเดียวกับ ไตรลักษณ์ อิทัปปัจจยตา สุญญตา ตถตาอันเป็นกฎธรรมชาติอันเป็นหลักการสากลของสรรพสิ่งเหมือนกันอย่างหนึ่ง มัชฌิมาปฏิปทาใช้ในความหมายถึงความพอเพียง หรือการใช้ชีวิตที่ถูกต้องตามหลัก สัมมาอาชีวะ คือใช้ชีวิตอย่างรู้ประมาณในการบริโภค คือใช้ปัจจัยสี่เท่าที่จำเป็น ไม่ใช่ใช้ตามความต้องการเพื่อสนองความอยาก มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทา

การทำบุญทำทาน

รูปภาพ
               เมื่อเอ่ยถึงการทำบุญทำทานในยุคนี้ ภาพที่ปรากฏขึ้นมาเป็นภาพแรก ๆ ของสมองคงเป็นภาพของการเข้าวัดทำสังฆทาน ปล่อยนกปล่อยปลา การทำบุญไถ่ชีวิตโคกระบือ การทำบุญเลี้ยงอาหารเด็กกำพร้า - คนชรา ณ สถานสงเคราะห์ รวมไปถึงการสะเดาะเคราะห์ด้วยการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ผ่านพิธีกรรมในรูปแบบต่าง ๆ   แต่เคยได้ยินไหมคะที่เขาว่าบุญนั้นมีหลายระดับ และหลายรูปแบบ ไม่ได้มีเฉพาะแบบให้ทานเท่านั้น วันนี้ทีมงาน Life & Family จึงขอนำเรื่องของบุญกิริยาวัตถุ 10 (การทำบุญสิบรูปแบบ) มาฝากกัน เพื่อให้การทำบุญของคุณผู้อ่านหลากหลาย และทำได้ง่ายแม้ยามไม่มีคนรับทานด้วยค่ะ 1. บุญสำเร็จด้วยการให้ทาน (ทานมัย) - การให้ทานมีส่วนประกอบที่ต้องคำนึงถึงคือ จิตใจก่อนให้ ขณะให้ และหลังให้ ของเราปลอดโปร่งที่ได้ให้ โดยสิ่งที่นำมาเป็นทานนั้นบริสุทธิ์ ไม่ได้ลักขโมยคดโกงมา นอกจากนี้ระดับคุณธรรมของผู้รับก็ส่งผลให้ทานที่ทำให้ผลต่างกันไป 2. บุญสำเร็จด้วยการถือศีล (ศีลมัย) - การรักษาศีล หมายความถึงการมีเจตนาจะงดเว้นหรือจะรักษาศีล หากไม่มีเจตนา เพียงแต่ไม่มีโอกาสทำผิดศีลก็ไม่ถือว่ามีศีล ไม่ว่าจะเป็นศีลห้า ศีลแปด หรือศีลกี่ข้อก็

การเจริญธรรม

    หากเปรียบสังสารวัฏเสมือนการเดินทางของใจอันเนิ่นนาน หาที่เบื้องต้นและที่สิ้นสุดไม่ได้ เมื่อเราพบพระธรรมของพระพุทธเจ้าแล้ว จะดีไหมถ้าเราจะไปถึงจุดหมายที่พระองค์ทรงสั่งสอนไว้ ได้อย่างรวดเร็วและไม่เนิ่นช้า เสมือนดั่งการเดินทางในนิทานเรื่องหนึ่งดังจะแสดงต่อไปนี้ มีชายสี่คนเป็นเพื่อนรักกัน ทุกคนมีร่างกายพิการต่างๆกัน มีนายใบ้ นายหนวก นายบอด และนายอ่อนที่ได้ชื่อนี้เนื่องจากปัญญาอ่อนนั่นเอง ทั้งสี่อาศัยอยู่ในบ้านร้างผุพังแห่งหนึ่ง ทั้งสี่เป็นคนอยู่ในศีลในธรรมแต่มีฐานะยากจนมากเนื่องจากความพิการแต่กำเนิด เทวดาบนสวรรค์เห็นในความดีจึงได้แปลงกายเป็นชายชรามาหาชายทั้งสี่ในเช้าวันหนึ่ง ชายชราผมขาวหนวดเครายาวเอ่ยขึ้นว่า”เออแน่ะพ่อหนุ่มข้าเห็นใจในความดีแต่ว่าต้องมามีสภาพชีวิตยากจนข้นแค้นแสนสาหัส ถึงแม้จะพิการแต่ก็สามัคคีรักใคร่ช่วยเหลือกันดีเหลือเกิน ข้ามีแผนที่เดินทางไปสู่ดินแดนอันอุดมสมบูรณ์ กว้างใหญ่ไพศาล เปรียบดังสวรรค์น้อยๆบนดินมีแต่เฉพาะคนดีๆมีเมตตา และเมื่อเจ้าไปถึงแล้วก็จะมีที่ดินทำกิน มีอาหารไม่ต้องอดๆอยากอย่างนี้อีก แต่ถึงจะมีแต่ความสุขความสบายก็ตาม แต่มีคนไม่มากนักที่จะสามารถฝ่าด่านอันยา

5 สุขที่ควรรู้

   สำหรับพี่น้องประชาชนผู้สนใจในธรรม โปรดทำความเข้าใจว่าความสุขความสำเร็จต่างๆในชีวิตที่แต่ละคนแต่ละท่านมี ล้วนเกิดจากเหตุที่เราประกอบขึ้น หาใช่เพราะ “เทวามาพลอยผสม พระพรหมมาช่วยลิขิต, ญาติมิตรมาดลบันดาล” ก็หาไม่ นักปราชญ์ท่านหนึ่งกล่าวไว้น่าคิดว่า... เป็นเรื่องของ “การเสาะหา” ไม่ใช่ “เกิดมาเป็น” เป็นเรื่องของ “การต่อสู้” ไม่ใช่ “นั่งดูดวง” เป็นเรื่องของ “ความเชี่ยวชาญ” ไม่ใช่ “โชคช่วย” เป็นเรื่องของ “การฝึกฝน” ไม่ใช่ “บุญหล่นทับ” เป็นเรื่องของ “ความสามารถ” ไม่ใช่ “วาสนา” เป็นเรื่องของ “พรแสวง” ไม่ใช่ “พรสวรรค์” จะเห็นได้ว่าความสำเร็จของคน หาได้มาจากสิ่งภายนอกไม่ แต่มาจากตัวเราเองทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น ชีวิตที่จะสดใสไพโรจน์มีความก้าวหน้า ต้องดำเนินตามหลักพุทธวิธีแล้วท่านจะมีสุขทั้ง ๕ ระดับ คือ ๑. ทำดีมีสุข...ต้องประกอบด้วยคุณธรรม คือ ละชั่ว - เว้นจากกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ประพฤติชอบ - ดำรงอยู่ในกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ประกอบความดี - เจริญอยู่ในทาน ศีล ภาวนา, ศีล สมาธิ ปัญญา มีระเบียบวินัย - รู้จักควบคุมพฤติกรรมของตน มิให้เป็นทุกข์โทษแก่ผู้อื่น ๒. มั่งมีศรีสุข...ต้องประกอบด้

การเจริญภาวนา

   การเจริญภาวนา ต้องหมั่นตรวจสอบจิตของตัวเองและรู้ประเมิน การที่เราได้เจริญภาวนามายาวนานแค่ไหนก็ตามในรูปแบบไหนก็ตาม จะต้องรู้ประเมินและตรวจสอบจิตของตนเองว่ายังมีกิเลสคือความอยาก เหลืออยู่มากน้อยเพียงใด ยังมีความโลภ ความโกรธ ความหลง อยู่มากน้อยเพียงใด ยังมีอัตตาและอคติในจิตของตนเองอยู่เพียงใด การเป็นอยู่กับคนในสังคมนี้ ยังมีความรู้สึกยินดียินร้าย, ความรู้สึกพอใจหรือไม่พอใจ, หรือความรู้สึกชอบใจหรือไม่ชอบใจ, ต่อจิตของเรามากน้อยเพียงใด เราพอเห็นจิตของเราได้หรือไม่ ว่ามีความรู้ปล่อยวางในอารมณ์ต่างๆที่มากระทบทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ หรือไม่ ถ้าเห็นว่ายังไม่มีอะไรที่ลดลงเลยในจิตของเรา ก็ต้องมาพิจารณาได้แล้วว่าการภาวนาของเราในรูปแบบนี้ ไม่เหมาะสมกับการใช้ชีวิตประจำวัน เพราะไม่สามารถลดกิเลสคือความอยาก ไม่ลดความโลภ ความโกรธ ความหลง ได้เลย มีแต่ความเก็บกฎเอาไว้เฉยๆ เหมือนหินทับหญ้าเอาไว้เอง เมื่อยกหินออกหญ้าก็งอกขึ้นมาใหม่อีก เพราะไม่ได้กำจัดกิเลสคือความอยากเลย ฉะนั้น จึงควรหันมายึดแนวทางแห่งอริยมรรคในการเจริญภาวนาได้แล้ว เพราะเป็นสิ่งที่พระพุทธองค์ได้ทรงทำได้แล้วจึงนำมาเผยแพร่ให้ชาวโลกได้

ความเป็นมาของวันพระ

        วันพระในสมัยพุทธกาล เหล่านักบวชนอกศาสนาได้ประชุมแสดงคำสอนตามความเชื่อของตนทุกวัน ๘ ค่ำ ๑๔ ค่ำ และ ๑๕ ค่ำ เป็นปกติ ครั้งนั้น พระเจ้าพิมพิสาร พระราชาแห่งแคว้นมคธ เกิดความคิดว่า น่าที่เหล่าสงฆ์ในพระพุทธศาสนาจะได้กระทำเช่นนั้นบ้าง เพื่อความเลื่อมใสศรัทธาของเหล่าชน เฉกช่นที่นักบวชนอกศาสนานั้นได้รับ จึงกราบทูลขอพุทธานุญาตจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทรงอนุญาตตามนั้น การประชุมกันของเหล่าสงฆ์ตามพุทธานุญาต ได้มีวิวัฒนาการขึ้นตามลำดับ ตั้งแต่การมาประชุมแล้วนั่งนิ่ง เริ่มแสดงธรรม ต่อมาทรงอนุญาตให้สวดปาฏิโมกข์ ซึ่งเป็นการทบทวนข้อปฏิบัติที่เป็นวินัยของสงฆ์ในพระพุทธศาสนา พร้อมแสดงอาบัติ คือ เปิดเผยข้อผิดพลาดในวินัยต่อผู้อื่น ให้เป็นกิจกรรมในวันอุโบสถ คือวัน ๘ ค่ำ ๑๔ ค่ำ และ ๑๕ ค่ำ จากที่สงฆ์ถือปฏิบัติทุกวันอุโบสถ คือ ๓ ครั้งต่อปักษ์ (ปักษ์หนึ่ง = ๒ สัปดาห์) จนกระทั่งท้ายที่สุด ทรงบัญญัติชัดเจนว่า ให้สงฆ์ประชุมกันเพื่อสวดปาฏิโมกข์เพียงปักษ์ละ ๑ ครั้ง คือ ทุก ๑๔ ค่ำ หรือ ๑๕ ค่ำ เท่านั้น ซึ่งสงฆ์ได้ถือปฏิบัติมาจนกระทั่งทุกวันนี้ นั่นคือ แม้วันอุโบสถ หรือ วันพระ จะมีทั้งในวัน ๘ ค่ำ และวัน

ความไม่รู้ เป็นเหตุ

ความไม่รู้ เป็นเหตุให้เกิดความนึกคิดปรุงแต่งจิต ให้เกิดทุกข์          ทุกวันนี้มีคนอยู่เป็นจำนวนมาก ที่อยู่ในโลกแห่งความหลงไม่รู้ตัวคือไม่มีสติ จึงไม่รู้ทันกับสิ่งรับรู้หรือสื่อรับรู้ ที่ผ่านเข้ามากับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่ชวนให้รัก,ชักให้ใคร,พาใจให้ไหลหลง, ด้วยความรู้สึกยินดียินร้ายบ้าง,ความรู้สึกพอใจหรือไม่พอใจบ้าง,ความรู้สึกชอบใจหรือไม่ชอบใจบ้าง, ทำให้ไปกระตุ่นความจำในจิตใต้สำนึกให้เกิดการนึกคิดปรุงแต่ง จนทำให้เราเกิดอารมณ์ว้าวุ่นใจ กังวลในใจ มีความขุ่นใจ มีจิตเศร้าหมองเป็นอกุศล ไม่สบายใจเป็นบาป ทำให้โลภบ้าง ทำให้โกรธบ้าง และทำให้หลงไป เป็นทุกข์ใจเกิดขึ้น นี้คือเหตุของความไม่รู้ตัวเพราะไม่มีสติ ฉะนั้นเราจึงควรที่จะมีการเจริญธัมมะภาวนาอยู่เป็นประจำไว้จะเป็นการดีที่สุด เพราะจะทำให้เราเกิดสติรองรับไม่ให้จิตของเราหลงไปในบาปอกุศล การเจริญธัมมะภาวนาจึงเป็นสิ่งสมควรต่อการดำเนินชีวิตประจำวันจะทำให้เราเกิดมีความรู้ตัว อันเป็นเหตุให้เราเกิดสติรู้สกัดกั้นไม่ให้บาปอกุศลจิตเกิดขึ้น เพราะมีสติรู้ปล่อยวางไม่เกิดยินดียินร้าย ต่อการรับรู้สิ่งต่างๆหรือสื่อต่างๆที่มากับ รูป เสียง กลิ่น รส สั

ความจริงที่ถูกซ่อนเร้นในอริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ

                 หลักการปฏิบัติจิตภาวนา มีผู้สนใจได้เที่ยวไปเสาะหาศึกษาหาความรู้จากครูบาอาจารย์ไปทั่วในจตุรทิศ คือทิศทั้ง ๔ แต่ก็ไม่ค่อยได้ประสบผลสำเร็จต่อการปฏิบัติในจิตภาวนา ที่จะต้องนำมาใช้อยู่กับปัจจุบัน เพราะยังเห็นจิตของตนไม่รู้ปล่อยวางในอารมณ์ คือกิเลสทั้งหลายได้แก่ความอยาก จิตใจยังคงหลงในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสต่างๆ อยู่อย่างไม่รู้จางคลายลงได้ จนเกิดความขุ่นมัว เศร้าหมองว้าวุ่น ไม่สงบ เพราะบาปอกุศล ความจริงที่ถูกซ่อนเร้นอยู่และถูกมองข้ามไปเสมอ คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าในหลักจิตภาวนาที่ได้ถูกบัญญัติไว้ในอริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ ข้อว่าดำริชอบ ข้อนี้แหละคือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ที่ได้ให้ไว้กับชาวพุทธในการเจริญจิตภาวนาเป็นคำสั่งสอนที่ให้เราต้องทำ เพื่อให้มีสติในการระงับบาปอกุศลไม่ให้เกิดขึ้น ที่มีหลายท่านตีความออกมาเป็นการปฏิบัติทางกายกรรม ที่แท้แล้วคือการปฏิบัติทางจิตภาวนาหรือมโนกรรมต่างหาก การดำริชอบที่พระพุทธองค์ได้ทรงกล่าวไว้ให้ดำริชอบ คือมีอยู่ ๓ หัวข้อธรรมได้แก่ ดำริในการออกจากกาม ๑, ดำริในการไม่มุ่งร้าย ๑, ดำริในการไม่เบียดเบียน ๑, ที่หลวงพ่อได้ถอดความออกมาเป็นธัมมะ