บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มิถุนายน, 2013

การทำจิตให้กลับมาอยู่กับตนเอง

การทำจิตให้กลับมาอยู่กับตนเอง คือการทำจิตให้สงบนิ่ง คนทุกวันนี้ มีจิตที่ไม่อยู่กับตนเองเสียเป็นส่วนใหญ่ จึงหาความสงบนิ่งไม่ได้ มีความทุกข์เกิดในใจอยู่เสมอๆ ก็เพราะการขาดสติ เป็นสิ่งสำคัญ จิตจึงส่งออกไปกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทางกาย ที่ชวนให้รัก,ชักให้ใคร่,พาใจให้ไหลหลง, รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทางกาย จึงจัดเป็นวัตถุแห่งกาม คือพัสดุอันน่าใคร่ เมื่อ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ มากระทบสัมผัสสิ่งเหล่านี้ ก็ทำให้เกิดความรู้สึกยินดียินร้ายบ้าง,ความรู้สึกพอใจหรือความรู้สึกไม่พอใจบ้าง, จึงทำให้จิตของเราเกิดกิเลสกาม คือกิเลสเป็นเหตุให้เกิดความใคร่ได้แก่ความอยาก เกิดเป็นบาปอกุศลจิต มีความไม่สบายใจ ความเศร้าหมองใจเป็นทุกข์เกิดขึ้น ยิ่งมีความปารถนาในสิ่งใด หรือไม่ปารถนาในสิ่งใด การได้เห็นสิ่งนั้นๆ ยิ่งทำให้เกิดความทุกข์ เพราะการได้เห็นสิ่งนั้นๆด้วยความรู้สึกยินดียินร้าย ยิ่งจะไปกระตุ่นความจำในจิตใต้สำนึก ให้เกิดความนึกคิดปรุงแต่งให้เกิดความทุกข์ใจกลับมาอีก มันจะเป็นอยู่อย่างนี้ตลอดเวลา ถ้าเราไม่ได้ฝึกให้จิตของตนมีสติ รู้ปล่อยวางในอารมณ์ยินดียินร้ายเสีย ความสงบสุขก็ยากจะเกิดขึ้นได้ ถ้าท่านทั้

กรรมกำหนดชีวิต

กรรมกำหนด ให้ชีวิตทุกชีวิตมีความเป็นไปทั้งสุขและทุกข์ คนเราเกิดมาทุกๆคนจะต้องพบ จะต้องเจอปัญหาชีวิตด้วยกันเกือบทุกคน ไม่ว่าจะอยู่ในสถานะไร จะมั่งมีหรือยากจน ไม่ว่าในด้านการงาน การเงินการเรียนการศึกษา ปัญหาทางครอบครัวและญาติมิตร ปัญหาชีวิตในด้านความรักความพลัดพราก ความเจ็บป่วยด้วยสาเหตุต่างๆ ปัญหาความเป็นอยู่และอีกมากมายจนพรรณนาไม่หมด ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะ คนเราเกิดมาจากกรรมหรือกรรมกำหนด คือการที่เราได้กระทำกรรมไว้แล้วแต่อดีตชาติบ้าง จากปัจจุบันชาติบ้าง มาส่งผลให้ชีวิตมีความเป็นไปต่างๆนาๆ มีเกิดสุขบ้างและมีเกิดทุกข์บ้าง สิ่งที่เรากำลังเผชิญความเป็นอยู่ในปัจจุบันนี้จึงเรียกว่าวิบาก ซึ่งเป็นเศษกรรมเก่ามาส่งผล(กรรมหนักเราได้ชดใช้ในนรกมาแล้ว) ถ้าเราต้องพบกับปัญหาชีวิต ดังที่กล่าวมาแล้ว ก็ขอให้เราอย่าท้อถอย ขอให้เข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตของเราแม้ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทางกาย ต่างๆ ที่เราต้องเจออยู่ทุกวัน ก็ยังจัดเป็นส่วนหนึ่งของวิบากกรรมเก่า ที่เราจำต้องรับรู้อยู่ทุกวัน อันเป็นเหตุให้เราเกิดความสุขหรือความทุกข์ได้ ถ้าเราไม่ยอมรับและเข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้นต่อเราก็จะเกิดทุกข์ ถ้าเราเ

ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นมรรค

ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นมรรค อันเอกอุกฤษฏ์ เดินทางนี้ตรงไปสู่ความดับทุกข์ได้แน่ อันพระอริยเจ้าทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้า เป็นต้น ได้ดำเนินมาสำเร็จตามปรารถนามาแล้วทุกๆ พระองค์ มรรค ๘ เป็นทางดำเนินด้วยใจ ถึงแม้จะแสดงออกมาให้เป็นศีล ก็แสดงศีลในองค์มรรคนั่นเอง มรรคแท้มีอันเดียว คือ สัมมาทิฏฐิ อีก ๗ ข้อเบื้องปลายเป็นบริวารบริขารของสัมมาทิฏฐิทั้งนั้น หากขาดสัมมาทิฏฐิตัวเดียวเสียแล้ว สัมมาสังกัปปะเป็นต้น ย่อมเป็นไปไม่ได้ เช่น ปัญญาพิจารณาเห็นความทุกข์ตามเป็นจริงว่า มนุษย์สัตว์ทั้งหลายที่เกิดมาในโลกนี้ย่อมถูกทุกข์คุกคามอยู่ตลอดเวลา โลกนี้จึงเป็นที่น่าเบื่อหน่ายเห็นเป็นภัย แล้วก็ดำริตริตรองหาช่องทางที่จะหนีให้พ้นจากกองทุกข์ในโลกนี้ การดำริเช่นนั้นก็เป็นผลสืบเนื่องมาจาก สัมมาทิฏฐิ ปัญญาอันเห็นชอบนั่นเอง การดำริที่ชอบที่ถูกนั้นก็เป็นสัมมาวาจาอยู่แล้ว เพราะวาจาจะพูดออกมาก็ต้องมีการตริตรองก่อน การตริตรองเป็นศีลของอริยมรรค การพูดออกมาด้วยวาจาชอบเป็นศีลทั่วไป การงานของใจ คือ ดำริชอบ วาจาชอบ อยู่ภายในใจ เป็นการงานของอริยมรรคผู้ไม่ประมาท ดำเนินชีวิตเป็นไปในอริยมรรคดังกล่าวมาแล้วนั้น ได้ชื่อว่าความเป็นอยู่ชอบ

การทำให้จิตมีความสงบสุขและนิ่ง

การทำให้จิตมีความสงบสุขและนิ่ง สามารถทำได้ในชีวิตประจำวัน ชีวิตประจำวันของคนในยุคนี้ มีแต่เรื่องต้องรู้ ต้องเห็นอะไรต่อมิอะไรมากมาย แล้วทำให้จิตเกิดความหวั่นไหวสับสนวุ่นวาย หาความสงบสุขไม่ค่อยได้ เพราะสิ่งที่ได้รู้ได้เห็นคือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทางกาย ที่ชวนให้รัก, ชักให้ใคร่, พาใจให้ไหลหลง, ทำให้เกิดมีความรู้สึกยินดียินร้ายบ้าง,ความรู้สึกพอใจหรือไม่พอใจบ้าง,ความรู้สึกชอบใจหรือไม่ชอบใจ, ความรู้สึกเหล่านี้เป็นบาปคือความไม่สบายใจ เป็นอกุศลคือความเศร้าหมองใจ จึงหาความสงบสุขและนิ่งได้ยาก เพราะบาปอกุศลคือกิเลสความอยาก เป็นโลภะจิต โทสะจิต และโมหะจิต ที่ทำให้จิตไม่สงบนิ่ง เกิดอัตตาคือความยึดมั่นถือมั่น และอคติคือความลำเอียงมองคนในแง่ร้าย แต่ถ้าเราอยากให้จิตของเราเกิดความสงบสุขและนิ่ง จึงจำเป็นจะต้องมีความเพียรชอบในการดำริชอบคือการคิดเห็นหัวข้อธรรมะอยู่ในใจไว้เสมอตลอดเวลาของชีวิตประจำวัน หัวข้อธรรมะในการที่จะนำมาดำริชอบคือการคิดเห็นในใจ หรือเป็นธัมมะภาวนาคือ “อย่ายินดียินร้าย...อย่าว่าร้ายใคร...อย่าคิดร้ายใคร...” เพื่อสร้างความรู้ตัวไว้ในจิตใต้สำนึกให้มากๆ อย่างน้อยให้ได้ ๓๐ ครั้งต่อวัน

หลวงปู่มั่นเล่าเรื่องพระธาตุพนม

รูปภาพ
หลวงปู่มั่นเล่าเรื่องพระธาตุพนมให้หลวงพ่อวิริยังค์ฟัง ~ ท่านอาจารย์มั่น ฯได้เล่าขณะที่ข้าพเจ้าทำหมากถวายท่านเวลากลางวันต่อไป อีกว่า พวกเราก็ต้องเดินทางหลังจากออกพรรษาแล้ว รอนแรมตามฝั่งแม่น้ำโขงเรื่อยลงมา ณ ตามฝั่งแม่น้ำโขงนั้นก็มีหมู่บ้านเป็นหย่อมๆ หลายก๊ก เช่น ภูไท ไทยดำ ลาวโซ่ง ~ท่านเล่าว่า~ ภูไทมีศรัทธาดีกว่าทุกก๊ก แต่ภูไทนี้การภาวนาจิตใจอ่อน รวมง่าย รักษาไม่ใคร่เป็น ส่วนลาวโซ่งนั้นไม่ใคร่เอาไหนเลย แต่ทุก ๆ ก๊กก็ทำบุญนับถือพุทธทั้งนั้น เขาให้พวกเราได้มีชีวิตอยู่ก็นับว่าดี แต่ขณะนี้ตัวของเราเองก็ยังมองไม่เห็นธรรมของจริง ยังหาที่พึ่งแก่ตนยังไม่ได้ จะไปสอนผู้อื่นก็เห็นจะทำให้ตัวของเราเนิ่นช้า จึงไม่แสดงธรรมอะไร นอกจากเดินทางไป พักไป บำเพ็ญสมณธรรมไป ตามแต่จะได้ ครั้นแล้วท่านอาจารย์เสาร์ก็พาข้ามแม่น้ำโขงกลับประเทศไทย ที่ท่าข้ามตรงกับพระธาตุพนมพอดี ~ ท่านเล่าไปเคี้ยวหมากไปอย่างอารมณ์ดีว่า ขณะนั้นพระธาตุพนมไม่มีใครเหลียวแลดอก มีแต่เถาวัลย์นานาชนิดปกคลุมจนมิดเหลือแต่ยอด ต้นไม้รกรุงรังไปหมด ทั้ง ๓ ศิษย์อาจารย์ก็พากันพักอยู่ที่นั้น เพื่อบำเพ็ญสมณธรรม ขณะที่ท่านอยู่กันนั้น พอตกเวลากลางคื