บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก สิงหาคม, 2012

เห็นทุกข์จึงเห็นธรรม

รูปภาพ
เห็นทุกข์จึงเห็นธรรม เรื่องโดย พระอาจารย์ชาญชัย อธิปญฺโญ         มีคำกล่าวว่า ไม่เห็นทุกข์ ไม่เห็นธรรม คำกล่าวนี้หมายความว่าอย่างไร โดยปกติแล้วคนเราเมื่อมีความสุข ก็หลงอยู่ในความสุขที่ตนมีอยู่ มีความประมาทว่าสถานภาพเช่นนี้คงจะดำรงอยู่ไปเรื่อยๆ ไม่เสื่อมทราม จึงไม่สนใจที่จะศึกษาธรรมะ เพราะไม่เข้าใจว่าธรรมะคืออะไร ความไม่เข้าใจดังกล่าว ประกอบกับมีความเห็นผิด จึงดูหมิ่นดูแคลนธรรมะหรือดูหมิ่นดูแคลนพระพุทธศาสนา พระสงฆ์ ตลอดจนผู้ปฏิบัติธรรม ครั้นเมื่อตนมีทุกข์ เป็นต้นว่า ต้องพลัดพรากจากบุคคลอันเป็นที่รักหรือของรัก เจ็บป่วยด้วยโรคร้าย ถูกเขาโกง ถูกเขากลั่นแกล้งให้ร้าย กดขี่ข่มเหง ธุรกิจตกต่ำ มีหนี้สินมากฯลฯ ก็หาทางดับทุกข์ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น เข้าหาอบายมุข หาหมอดูเจ้าเข้าทรง บนบานศาลกล่าว สะเดาะเคราะห์ แก้กรรม เปลี่ยนชื่อ ตั้งศาลพระภูมิ เปลี่ยนฮวงจุ้ย สารพัดอย่าง จนในที่สุดเมื่อวิธีการต่างๆดังกล่าวไม่อาจแก้ทุกข์หรือปัญหาที่มีอยู่ได้ ที่สุดก็หันมาพึ่งธรรมะ บางคนบวช บางคนปฏิบัติธรรม เมื่อเข้ามาสู่กระแสธรรม ทุกข์นั้นก็บรรเทาเบาบางลงได้หรือดับลงได้ เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น การเรียนรู้ธร

คำว่า ทาน

รูปภาพ
จากหนังสือธรรมปฏิบัติ เล่ม 12 โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤๅษี วัดท่าซุง) อามิสทาน คำว่า "ทาน" แปลว่า "การให้" การให้นี้มีอยู่ 2 อย่างด้วยกัน ที่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าท่านตรัสไว้ ให้สรรพสิ่งของต่างๆ อย่างนี้ พระพุทธเจ้าเรียกว่าอามิสทาน ได้แก่การให้วัตถุ จะเป็นเงินหรือวัตถุสิ่งของเครื่องใช้ เครื่องบริโภคก็ตาม เรียกว่าอามิสทานทั้งนั้น ธรรมทาน ทานอีกส่วนหนึ่งที่องค์สมเด็จพระภควันต์ทรงกล่าวก็ได้แก่ธรรมทาน ธรรมทานในที่นี้ก็ได้แก่การบอกธรรม คำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระชินวรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าชี้เหตุผลให้รู้ว่าอะไรดีอะไรชั่ว อย่างนี้เป็นต้นอย่างหนึ่ง อย่างนี้เขาเรียกว่าธรรมทาน ธรรมทานอีกส่วนหนึ่งที่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้ากล่าวว่าสำคัญที่สุดจัดว่าเป็นปรมัตถทาน คือ เป็นทานที่ไม่ต้องลงทุน ก็ได้แก่ "อภัยทาน" ทานทั้ง 2 อย่างนี้มีผลต่างกัน "อามิสทานนั้นให้ผลอย่างสูงก็แค่กามาวจรสวรรค์" ตามนัยที่องค์สมเด็จพระพิชิตมารตรัสไว้ว่า "ทานัง สัคคโส ปาณัง" คือว่า "การให้ทานย่อมเป็นปัจจัยเป็นบันไดไปสู่สวรรค์" นี่สำหรับอามิสทาน

มีความสุข...อย่างไร??

รูปภาพ
หนังสือ time magazine บอกว่า ที่อเมริกา มีงานวิจัยพบว่าคนที่มีความสุขมากที่สุดในโลก คือพระในพุทธศาสนา โดย ทดสอบด้วยการ สแกนสมองพระที่ทำสมาธิและได้ผลลัพธ์ออกมาว่าเป็นจริง + หลักความเชื่อของศาสนาพุทธ คือ เหตุที่ทำให้เกิดความสุข นั้นก็คืออยู่กับปัจจุบัน ขณะปล่อยวางได้ในสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว ควบคุมความอยาก ที่ไม่มีสิ้นสุด + ไม่ใช้ความรุนแรง ไม่ทะเลาะ และใช้หลักเวรย่อมระงับด้ วยการไม่จองเวร ให้อภัยตัวเองและผู้อื่น มีจิตใจเมตตา กรุณา และเสียสละเพื่อผู้อื่น + อริยะ สัจ 4 สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงค้ นพบและบอกไว้ด้วย ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค แท้จริงแล้วก็คือทางเดินไปหาคำว่า "ความ สุข" เพราะ ถ้าเมื่อไรเรา กำจัด "ความ ทุกข์" ได้ แล้วความสุขก็ จะเกิดขึ้น + อุปสรรค ของความสุขก็ คือแรงปรารถนา และ ตัณหา คนเราจะมีความสุขไม่ขึ้นอยู่กับว่า"มี เท่าไร" แต่ ขึ้นอยู่ที่ว่า เรา "พอ เมื่อไร" ความ สุขไม่ได้ขึ้น กับจำนวนสิ่ง ของที่เรามี หรือเราได้... + ดังนั้นวิธีจะมี ความสุขอันดับ แรกต้อง "หยุด ให้เป็น และ พอใจให้ได้" ถ้า เราไม่หยุดความอยากของเราแ

วันเข้าพรรษา

รูปภาพ
วันเข้าพรรษา เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนาวันหนึ่ง ที่พระสงฆ์อธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดช่วงฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น           "เข้าพรรษา" แปลว่า "พักฝน" หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่น ๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน คือ เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี เรียกว่า "ปุริมพรรษา"           ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือนแปดหลัง และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เรียกว่า "ปัจฉิมพรรษา" เว้นแต่มีกิจธุระคือเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในเดียวนั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืน เรียกว่า "สัตตาหะ" หากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได