บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มกราคม, 2013

การเจริญธรรม

    หากเปรียบสังสารวัฏเสมือนการเดินทางของใจอันเนิ่นนาน หาที่เบื้องต้นและที่สิ้นสุดไม่ได้ เมื่อเราพบพระธรรมของพระพุทธเจ้าแล้ว จะดีไหมถ้าเราจะไปถึงจุดหมายที่พระองค์ทรงสั่งสอนไว้ ได้อย่างรวดเร็วและไม่เนิ่นช้า เสมือนดั่งการเดินทางในนิทานเรื่องหนึ่งดังจะแสดงต่อไปนี้ มีชายสี่คนเป็นเพื่อนรักกัน ทุกคนมีร่างกายพิการต่างๆกัน มีนายใบ้ นายหนวก นายบอด และนายอ่อนที่ได้ชื่อนี้เนื่องจากปัญญาอ่อนนั่นเอง ทั้งสี่อาศัยอยู่ในบ้านร้างผุพังแห่งหนึ่ง ทั้งสี่เป็นคนอยู่ในศีลในธรรมแต่มีฐานะยากจนมากเนื่องจากความพิการแต่กำเนิด เทวดาบนสวรรค์เห็นในความดีจึงได้แปลงกายเป็นชายชรามาหาชายทั้งสี่ในเช้าวันหนึ่ง ชายชราผมขาวหนวดเครายาวเอ่ยขึ้นว่า”เออแน่ะพ่อหนุ่มข้าเห็นใจในความดีแต่ว่าต้องมามีสภาพชีวิตยากจนข้นแค้นแสนสาหัส ถึงแม้จะพิการแต่ก็สามัคคีรักใคร่ช่วยเหลือกันดีเหลือเกิน ข้ามีแผนที่เดินทางไปสู่ดินแดนอันอุดมสมบูรณ์ กว้างใหญ่ไพศาล เปรียบดังสวรรค์น้อยๆบนดินมีแต่เฉพาะคนดีๆมีเมตตา และเมื่อเจ้าไปถึงแล้วก็จะมีที่ดินทำกิน มีอาหารไม่ต้องอดๆอยากอย่างนี้อีก แต่ถึงจะมีแต่ความสุขความสบายก็ตาม แต่มีคนไม่มากนักที่จะสามารถฝ่าด่านอันยา

5 สุขที่ควรรู้

   สำหรับพี่น้องประชาชนผู้สนใจในธรรม โปรดทำความเข้าใจว่าความสุขความสำเร็จต่างๆในชีวิตที่แต่ละคนแต่ละท่านมี ล้วนเกิดจากเหตุที่เราประกอบขึ้น หาใช่เพราะ “เทวามาพลอยผสม พระพรหมมาช่วยลิขิต, ญาติมิตรมาดลบันดาล” ก็หาไม่ นักปราชญ์ท่านหนึ่งกล่าวไว้น่าคิดว่า... เป็นเรื่องของ “การเสาะหา” ไม่ใช่ “เกิดมาเป็น” เป็นเรื่องของ “การต่อสู้” ไม่ใช่ “นั่งดูดวง” เป็นเรื่องของ “ความเชี่ยวชาญ” ไม่ใช่ “โชคช่วย” เป็นเรื่องของ “การฝึกฝน” ไม่ใช่ “บุญหล่นทับ” เป็นเรื่องของ “ความสามารถ” ไม่ใช่ “วาสนา” เป็นเรื่องของ “พรแสวง” ไม่ใช่ “พรสวรรค์” จะเห็นได้ว่าความสำเร็จของคน หาได้มาจากสิ่งภายนอกไม่ แต่มาจากตัวเราเองทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น ชีวิตที่จะสดใสไพโรจน์มีความก้าวหน้า ต้องดำเนินตามหลักพุทธวิธีแล้วท่านจะมีสุขทั้ง ๕ ระดับ คือ ๑. ทำดีมีสุข...ต้องประกอบด้วยคุณธรรม คือ ละชั่ว - เว้นจากกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ประพฤติชอบ - ดำรงอยู่ในกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ประกอบความดี - เจริญอยู่ในทาน ศีล ภาวนา, ศีล สมาธิ ปัญญา มีระเบียบวินัย - รู้จักควบคุมพฤติกรรมของตน มิให้เป็นทุกข์โทษแก่ผู้อื่น ๒. มั่งมีศรีสุข...ต้องประกอบด้

การเจริญภาวนา

   การเจริญภาวนา ต้องหมั่นตรวจสอบจิตของตัวเองและรู้ประเมิน การที่เราได้เจริญภาวนามายาวนานแค่ไหนก็ตามในรูปแบบไหนก็ตาม จะต้องรู้ประเมินและตรวจสอบจิตของตนเองว่ายังมีกิเลสคือความอยาก เหลืออยู่มากน้อยเพียงใด ยังมีความโลภ ความโกรธ ความหลง อยู่มากน้อยเพียงใด ยังมีอัตตาและอคติในจิตของตนเองอยู่เพียงใด การเป็นอยู่กับคนในสังคมนี้ ยังมีความรู้สึกยินดียินร้าย, ความรู้สึกพอใจหรือไม่พอใจ, หรือความรู้สึกชอบใจหรือไม่ชอบใจ, ต่อจิตของเรามากน้อยเพียงใด เราพอเห็นจิตของเราได้หรือไม่ ว่ามีความรู้ปล่อยวางในอารมณ์ต่างๆที่มากระทบทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ หรือไม่ ถ้าเห็นว่ายังไม่มีอะไรที่ลดลงเลยในจิตของเรา ก็ต้องมาพิจารณาได้แล้วว่าการภาวนาของเราในรูปแบบนี้ ไม่เหมาะสมกับการใช้ชีวิตประจำวัน เพราะไม่สามารถลดกิเลสคือความอยาก ไม่ลดความโลภ ความโกรธ ความหลง ได้เลย มีแต่ความเก็บกฎเอาไว้เฉยๆ เหมือนหินทับหญ้าเอาไว้เอง เมื่อยกหินออกหญ้าก็งอกขึ้นมาใหม่อีก เพราะไม่ได้กำจัดกิเลสคือความอยากเลย ฉะนั้น จึงควรหันมายึดแนวทางแห่งอริยมรรคในการเจริญภาวนาได้แล้ว เพราะเป็นสิ่งที่พระพุทธองค์ได้ทรงทำได้แล้วจึงนำมาเผยแพร่ให้ชาวโลกได้

ความเป็นมาของวันพระ

        วันพระในสมัยพุทธกาล เหล่านักบวชนอกศาสนาได้ประชุมแสดงคำสอนตามความเชื่อของตนทุกวัน ๘ ค่ำ ๑๔ ค่ำ และ ๑๕ ค่ำ เป็นปกติ ครั้งนั้น พระเจ้าพิมพิสาร พระราชาแห่งแคว้นมคธ เกิดความคิดว่า น่าที่เหล่าสงฆ์ในพระพุทธศาสนาจะได้กระทำเช่นนั้นบ้าง เพื่อความเลื่อมใสศรัทธาของเหล่าชน เฉกช่นที่นักบวชนอกศาสนานั้นได้รับ จึงกราบทูลขอพุทธานุญาตจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทรงอนุญาตตามนั้น การประชุมกันของเหล่าสงฆ์ตามพุทธานุญาต ได้มีวิวัฒนาการขึ้นตามลำดับ ตั้งแต่การมาประชุมแล้วนั่งนิ่ง เริ่มแสดงธรรม ต่อมาทรงอนุญาตให้สวดปาฏิโมกข์ ซึ่งเป็นการทบทวนข้อปฏิบัติที่เป็นวินัยของสงฆ์ในพระพุทธศาสนา พร้อมแสดงอาบัติ คือ เปิดเผยข้อผิดพลาดในวินัยต่อผู้อื่น ให้เป็นกิจกรรมในวันอุโบสถ คือวัน ๘ ค่ำ ๑๔ ค่ำ และ ๑๕ ค่ำ จากที่สงฆ์ถือปฏิบัติทุกวันอุโบสถ คือ ๓ ครั้งต่อปักษ์ (ปักษ์หนึ่ง = ๒ สัปดาห์) จนกระทั่งท้ายที่สุด ทรงบัญญัติชัดเจนว่า ให้สงฆ์ประชุมกันเพื่อสวดปาฏิโมกข์เพียงปักษ์ละ ๑ ครั้ง คือ ทุก ๑๔ ค่ำ หรือ ๑๕ ค่ำ เท่านั้น ซึ่งสงฆ์ได้ถือปฏิบัติมาจนกระทั่งทุกวันนี้ นั่นคือ แม้วันอุโบสถ หรือ วันพระ จะมีทั้งในวัน ๘ ค่ำ และวัน

ความไม่รู้ เป็นเหตุ

ความไม่รู้ เป็นเหตุให้เกิดความนึกคิดปรุงแต่งจิต ให้เกิดทุกข์          ทุกวันนี้มีคนอยู่เป็นจำนวนมาก ที่อยู่ในโลกแห่งความหลงไม่รู้ตัวคือไม่มีสติ จึงไม่รู้ทันกับสิ่งรับรู้หรือสื่อรับรู้ ที่ผ่านเข้ามากับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่ชวนให้รัก,ชักให้ใคร,พาใจให้ไหลหลง, ด้วยความรู้สึกยินดียินร้ายบ้าง,ความรู้สึกพอใจหรือไม่พอใจบ้าง,ความรู้สึกชอบใจหรือไม่ชอบใจบ้าง, ทำให้ไปกระตุ่นความจำในจิตใต้สำนึกให้เกิดการนึกคิดปรุงแต่ง จนทำให้เราเกิดอารมณ์ว้าวุ่นใจ กังวลในใจ มีความขุ่นใจ มีจิตเศร้าหมองเป็นอกุศล ไม่สบายใจเป็นบาป ทำให้โลภบ้าง ทำให้โกรธบ้าง และทำให้หลงไป เป็นทุกข์ใจเกิดขึ้น นี้คือเหตุของความไม่รู้ตัวเพราะไม่มีสติ ฉะนั้นเราจึงควรที่จะมีการเจริญธัมมะภาวนาอยู่เป็นประจำไว้จะเป็นการดีที่สุด เพราะจะทำให้เราเกิดสติรองรับไม่ให้จิตของเราหลงไปในบาปอกุศล การเจริญธัมมะภาวนาจึงเป็นสิ่งสมควรต่อการดำเนินชีวิตประจำวันจะทำให้เราเกิดมีความรู้ตัว อันเป็นเหตุให้เราเกิดสติรู้สกัดกั้นไม่ให้บาปอกุศลจิตเกิดขึ้น เพราะมีสติรู้ปล่อยวางไม่เกิดยินดียินร้าย ต่อการรับรู้สิ่งต่างๆหรือสื่อต่างๆที่มากับ รูป เสียง กลิ่น รส สั

ความจริงที่ถูกซ่อนเร้นในอริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ

                 หลักการปฏิบัติจิตภาวนา มีผู้สนใจได้เที่ยวไปเสาะหาศึกษาหาความรู้จากครูบาอาจารย์ไปทั่วในจตุรทิศ คือทิศทั้ง ๔ แต่ก็ไม่ค่อยได้ประสบผลสำเร็จต่อการปฏิบัติในจิตภาวนา ที่จะต้องนำมาใช้อยู่กับปัจจุบัน เพราะยังเห็นจิตของตนไม่รู้ปล่อยวางในอารมณ์ คือกิเลสทั้งหลายได้แก่ความอยาก จิตใจยังคงหลงในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสต่างๆ อยู่อย่างไม่รู้จางคลายลงได้ จนเกิดความขุ่นมัว เศร้าหมองว้าวุ่น ไม่สงบ เพราะบาปอกุศล ความจริงที่ถูกซ่อนเร้นอยู่และถูกมองข้ามไปเสมอ คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าในหลักจิตภาวนาที่ได้ถูกบัญญัติไว้ในอริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ ข้อว่าดำริชอบ ข้อนี้แหละคือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ที่ได้ให้ไว้กับชาวพุทธในการเจริญจิตภาวนาเป็นคำสั่งสอนที่ให้เราต้องทำ เพื่อให้มีสติในการระงับบาปอกุศลไม่ให้เกิดขึ้น ที่มีหลายท่านตีความออกมาเป็นการปฏิบัติทางกายกรรม ที่แท้แล้วคือการปฏิบัติทางจิตภาวนาหรือมโนกรรมต่างหาก การดำริชอบที่พระพุทธองค์ได้ทรงกล่าวไว้ให้ดำริชอบ คือมีอยู่ ๓ หัวข้อธรรมได้แก่ ดำริในการออกจากกาม ๑, ดำริในการไม่มุ่งร้าย ๑, ดำริในการไม่เบียดเบียน ๑, ที่หลวงพ่อได้ถอดความออกมาเป็นธัมมะ