ความเป็นมาของวันพระ


        วันพระในสมัยพุทธกาล เหล่านักบวชนอกศาสนาได้ประชุมแสดงคำสอนตามความเชื่อของตนทุกวัน ๘ ค่ำ ๑๔ ค่ำ และ ๑๕ ค่ำ เป็นปกติ ครั้งนั้น พระเจ้าพิมพิสาร พระราชาแห่งแคว้นมคธ เกิดความคิดว่า น่าที่เหล่าสงฆ์ในพระพุทธศาสนาจะได้กระทำเช่นนั้นบ้าง เพื่อความเลื่อมใสศรัทธาของเหล่าชน เฉกช่นที่นักบวชนอกศาสนานั้นได้รับ จึงกราบทูลขอพุทธานุญาตจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทรงอนุญาตตามนั้น
การประชุมกันของเหล่าสงฆ์ตามพุทธานุญาต ได้มีวิวัฒนาการขึ้นตามลำดับ ตั้งแต่การมาประชุมแล้วนั่งนิ่ง เริ่มแสดงธรรม ต่อมาทรงอนุญาตให้สวดปาฏิโมกข์ ซึ่งเป็นการทบทวนข้อปฏิบัติที่เป็นวินัยของสงฆ์ในพระพุทธศาสนา พร้อมแสดงอาบัติ คือ เปิดเผยข้อผิดพลาดในวินัยต่อผู้อื่น ให้เป็นกิจกรรมในวันอุโบสถ คือวัน ๘ ค่ำ ๑๔ ค่ำ และ ๑๕ ค่ำ
จากที่สงฆ์ถือปฏิบัติทุกวันอุโบสถ คือ ๓ ครั้งต่อปักษ์ (ปักษ์หนึ่ง = ๒ สัปดาห์) จนกระทั่งท้ายที่สุด ทรงบัญญัติชัดเจนว่า ให้สงฆ์ประชุมกันเพื่อสวดปาฏิโมกข์เพียงปักษ์ละ ๑ ครั้ง คือ ทุก ๑๔ ค่ำ หรือ ๑๕ ค่ำ เท่านั้น ซึ่งสงฆ์ได้ถือปฏิบัติมาจนกระทั่งทุกวันนี้ นั่นคือ แม้วันอุโบสถ หรือ วันพระ จะมีทั้งในวัน ๘ ค่ำ และวัน ๑๔ ค่ำ หรือ ๑๕ ค่ำก็จริง แต่ก็ประชุมกันเฉพาะในวัน ๑๔ ค่ำ หรือ ๑๕ ค่ำ ตามพุทธานุญาตเท่านั้น
วันขึ้น (แรม) ๘ ค่ำ ๑๔ ค่ำ และ ๑๕ ค่ำ
กำหนดโดยถือการเปลี่ยนแปลงของพระจันทร์ จากเดือนเต็มดวงจนถึงเดือนมืด และกลับเป็นเดือนเต็มดวงอีกครั้ง โดยคืนพระจันทร์เต็มดวงเรียก ขึ้น 15 ค่ำ พระจันทร์ค่อย ๆ ดับนับ แรม ๑ ค่ำ ๒ ค่ำ ตามลำดับ ถึง ๑๕ ค่ำ เป็นวันพระจันทร์ดับพอดี จากนั้นเริ่มนับขึ้น จากวันขึ้น ๑ ค่ำ ๒ ค่ำ จนถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เป็นวันพระจันทร์เต็มดวงอีกครั้งหนึ่ง เป็นอันครบรอบ ๑ เดือน
ความสำคัญของวันอุโบสถ
จากพุทธานุญาตให้มีตัวแทนสงฆ์รูปหนึ่งสวดทบทวนสิกขาบท ที่ทรงบัญญัติไว้เป็นระเบียบปฏิบัติ เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างผาสุก และเพื่อความบริสุทธิ์ในเพศสมณะที่ต้องบริบูรณ์ด้วย ศีล สมาธิ และปัญญา อันเป็นทางหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง ตามเส้นทางของพระพุทธศาสนา โดยมีภิกษุผู้สวดทบทวน เมื่อสวดถึงข้อใดแล้วมีภิกษุรูปใดรูปหนึ่งประพฤติผิดข้อบังคับนั้น จะเปิดเผยท่ามกลางที่ประชุม หรือที่เรียกว่า แสดงอาบัติ ซึ่งถือปฏิบัติเช่นี้สืบต่อ ๆ กันมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล ก่อให้เกิดผลดังนี้ คือ
๑. เกิดความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของพระสงฆ์ ด้วยระเบียบปฏิบัติที่หมั่นทบทวน และเตือนตนด้วยการแสดงการยอมรับในสิ่งที่ตนละเมิด เพื่อแก้ไขต่อไป ในข้อนี้มีปรากฎการณ์เด่นชัด เมื่อครั้งพุทธกาล คือ เมื่อครั้งพระภิกษุชาวเมืองโกสัมพี ทะเลาะเบาะแว้งแตกความสามัคคีกัน ภายหลังเมื่อกลับมีความสามัคคีใหม่ พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้ประชุมทำอุโบสถสวดพระปาฏิโมกข์เป็นกรณีพิเศษที่เรียกว่า “วันสามัคคีอุโบสถ”
๒. การหมั่นทบทวนอย่างสม่ำเสมอ ทำให้พระธรรมคำสอนไม่คลาดเคลื่อน เลือนหาย และทำให้หมู่คณะจรรโลงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อกันมาถึงปัจจุบันนี้
วันอุโบสถนั้น นอกเหนือจากเป็นวันสำคัญของทางคณะสงฆ์ดังกล่าวแล้ว ยังเป็นวันประชุมฟังธรรมของเหล่าพุทธศาสนิกชนตั้งแต่สมัยพุทธกาลจนถึงปัจจุบันนี้ทำทาน รักษาศีล และเจริญภาวนาก็จริง แต่ในชีวิตประจำวันแล้ว โลกภายนอกสำหรับคฤหัสถ์ผู้ครองเรือนเต็มไปด้วยข้อจำกัดในการกระทำความดีเหล่านั้นให้สมบูรณ์ ดังนั้น วันอุโบสถ จึงเป็นการปรารภเหตุที่จะให้พุทธศาสนิกชนทั้งหลายได้มีโอกาสหันกลับมาทบทวนการทำดีดังกล่าว โดยการทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา มากขึ้นเป็นพิเศษ
ในส่วนของพุทธศาสนิกชนนั้น การละชั่ว ทำดี ทำจิตใจให้ผ่องใส เป็นห้วใจของพระพุทธศาสนา ผ่านการแสดงออกเป็นรูปธรรมด้วยการ
ประเภทของอุโบสถ
การรักษาอุโบสถ…ถูกกำหนดขึ้นเพื่อเอื้อต่อการเลือกปฏิบัติตามความพร้อมของพุทธศาสนิกชน โดยแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ

๑. ปกติอุโบสถ คือ อุโบสถที่รับรักษากันตามปกติเฉพาะวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง
๒. ปฏิชาครอุโบสถ คือ อุโบสถที่รับรักษาเป็นพิเศษกว่าปกติธรรมดา คือ รักษาคราวละ 3 วัน จัดเป็นวันรับวันหนึ่ง วันรักษาวันหนึ่ง และวันส่งอีกวันหนึ่ง
แต่โดยเนื้อแท้แล้ว ทั้งสองประเภทก็มีขึ้นเพื่อมุ่งให้พุทธศาสนิกชนมีโอกาสรักษากาย วาจา ใจ ให้บริสุทธิ์ ตามหัวใจของพระพุทธศาสนานั่นเอง
ศีลที่นิยมถือในวันอุโบสถ คือ ศีล 8 อันได้แก่

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทางสายกลาง

อุปสรรคของสมาธิ

หลวงปู่มั่นเล่าเรื่องพระธาตุพนม