บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2012

ความทุกข์เป็นเรื่องของใจมากกว่ากาย

รูปภาพ
                        บางครั้งเราอาจเป็นทุกข์กับความเจ็บป่วยหรือความลำบากทางกาย แต่ก็ไม่มากเท่ากับทุกข์ที่เกิดจากความคิดหรือการวางใจไว้ผิด จริงหรือไม่ว่า เราชอบเก็บเอาความคิดร้ายๆมาใส่ใจ คำพูดของคนอื่นที่ผ่านไปนานแล้ว เราก็ยังเก็บมาคิดให้รู้สึกเจ็บแค้นในใจ เวลาที่มีคนต่อว่า แทนที่เราจะทำใจให้เป็นอิสระโดยการปล่อยให้คำพูดนั้นผ่านไปกับกาลเวลา แต่เรากลับยอมเป็นทาสของถ้อยคำเหล่านั้น ด้วยการเก็บมาคิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า เหมือนฉายหนังเรื่องเดิมโดยไม่รู้จักหยุด ทั้ง ๆ ที่รู้ดีว่าไม่เกิดประโยชน์อะไร เมื่อไรก็ตามที่เรามีสติรู้ตัวและไม่ยอมให้ทุกข์เล่นงานอย่างที่เคยเป็น ไม่ว่าใครก็ไม่อาจบังคับใจเราให้เป็นทุกข์ได้ เมื่อใจของเราไม่ยอมเก็บความคิดร้าย ๆ มาใส่ใจ ทุกข์เหล่านั้นก็เป็นเหมือนสายลมที่พัดมาแล้วก็ลอยผ่านไป ไม่ส่งผลสะเทือนต่อความเป็นอยู่ของเรา เมื่อนั้น ใจเราก็เป็นอิสระจากทุกข์

การปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน

        ทำไมจึงต้องปฏิบัติธรรม? ถ้าเราไม่ปฏิบัติธรรมจิตของเราก็จะไม่เกิดเป็นธรรม เมื่อจิตไม่เป็นธรรม การกระทำ การพูด การคิดเห็น ก็จะไม่เป็นธรรม เพราะมีอารมณ์ของบาปอกุศลคอยคิดเห็นแทนในการกระทำ ในการพูด ในการคิดเห็น เราจึงมักทำอะไรๆผิดๆพลาดๆอยู่เสมอในชีวิตประจำวัน เพราะจิตไม่มีธรรม จึงไม่มีเมตตาธรรม ไม่มีหิริความละอายแก่ใจ ไม่มีโอตตัปปะคือไม่เกลงกลัวต่อบาป ฉะนั้นการปฏิบัติธรรมจึงสำคัญต่อชีวิตเป็นอย่างยิ่ง การปฏิบัติธรรมทุกๆคนทำได้และทำได้ตลอดเวลาของชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะอยู่วัดหรืออยู่บ้านก็ทำได้และก็ทำในแบบเดียวกันหมด คือมุ่งละบาป ละอกุศลธรรม ละความโลภ, ละความโกรธ, ละความหลง, ด้วยการเจริญสติตามแนวทาง ธัมมานุสสติ คือการระลึกถึงพระธรรม หรือหัวข้อธรรมเป็นอารมณ์ ไว้ในใจตลอดเวลาทั้งวันและคืน หรือท่องธัมมะภาวนาไว้ให้ได้ ๓๐ ครั้งต่อวันหรือตลอดวันของชีวิตประจำวันว่า “อย่ายินดียินร้าย.อย่าว่าร้ายใคร.อย่าคิดร้ายใคร.” เพื่อให้จิตเกิดความรู้ตัว(คือสัมปชัญญะ) เป็นความจำเก็บสะสมไว้ในจิตใต้สำนึกให้ได้มากๆ อันเป็นเหตุให้จิตมีสติรู้สกัดกั้นบาปและอกุศลไม่ให้เกิดขึ้น หรือเป็นการรู้ปล่อยวางในอารมณ์ เช่นมีใ

เห็นทุกข์จึงเห็นธรรม

รูปภาพ
เห็นทุกข์จึงเห็นธรรม เรื่องโดย พระอาจารย์ชาญชัย อธิปญฺโญ         มีคำกล่าวว่า ไม่เห็นทุกข์ ไม่เห็นธรรม คำกล่าวนี้หมายความว่าอย่างไร โดยปกติแล้วคนเราเมื่อมีความสุข ก็หลงอยู่ในความสุขที่ตนมีอยู่ มีความประมาทว่าสถานภาพเช่นนี้คงจะดำรงอยู่ไปเรื่อยๆ ไม่เสื่อมทราม จึงไม่สนใจที่จะศึกษาธรรมะ เพราะไม่เข้าใจว่าธรรมะคืออะไร ความไม่เข้าใจดังกล่าว ประกอบกับมีความเห็นผิด จึงดูหมิ่นดูแคลนธรรมะหรือดูหมิ่นดูแคลนพระพุทธศาสนา พระสงฆ์ ตลอดจนผู้ปฏิบัติธรรม ครั้นเมื่อตนมีทุกข์ เป็นต้นว่า ต้องพลัดพรากจากบุคคลอันเป็นที่รักหรือของรัก เจ็บป่วยด้วยโรคร้าย ถูกเขาโกง ถูกเขากลั่นแกล้งให้ร้าย กดขี่ข่มเหง ธุรกิจตกต่ำ มีหนี้สินมากฯลฯ ก็หาทางดับทุกข์ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น เข้าหาอบายมุข หาหมอดูเจ้าเข้าทรง บนบานศาลกล่าว สะเดาะเคราะห์ แก้กรรม เปลี่ยนชื่อ ตั้งศาลพระภูมิ เปลี่ยนฮวงจุ้ย สารพัดอย่าง จนในที่สุดเมื่อวิธีการต่างๆดังกล่าวไม่อาจแก้ทุกข์หรือปัญหาที่มีอยู่ได้ ที่สุดก็หันมาพึ่งธรรมะ บางคนบวช บางคนปฏิบัติธรรม เมื่อเข้ามาสู่กระแสธรรม ทุกข์นั้นก็บรรเทาเบาบางลงได้หรือดับลงได้ เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น การเรียนรู้ธร

คำว่า ทาน

รูปภาพ
จากหนังสือธรรมปฏิบัติ เล่ม 12 โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤๅษี วัดท่าซุง) อามิสทาน คำว่า "ทาน" แปลว่า "การให้" การให้นี้มีอยู่ 2 อย่างด้วยกัน ที่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าท่านตรัสไว้ ให้สรรพสิ่งของต่างๆ อย่างนี้ พระพุทธเจ้าเรียกว่าอามิสทาน ได้แก่การให้วัตถุ จะเป็นเงินหรือวัตถุสิ่งของเครื่องใช้ เครื่องบริโภคก็ตาม เรียกว่าอามิสทานทั้งนั้น ธรรมทาน ทานอีกส่วนหนึ่งที่องค์สมเด็จพระภควันต์ทรงกล่าวก็ได้แก่ธรรมทาน ธรรมทานในที่นี้ก็ได้แก่การบอกธรรม คำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระชินวรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าชี้เหตุผลให้รู้ว่าอะไรดีอะไรชั่ว อย่างนี้เป็นต้นอย่างหนึ่ง อย่างนี้เขาเรียกว่าธรรมทาน ธรรมทานอีกส่วนหนึ่งที่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้ากล่าวว่าสำคัญที่สุดจัดว่าเป็นปรมัตถทาน คือ เป็นทานที่ไม่ต้องลงทุน ก็ได้แก่ "อภัยทาน" ทานทั้ง 2 อย่างนี้มีผลต่างกัน "อามิสทานนั้นให้ผลอย่างสูงก็แค่กามาวจรสวรรค์" ตามนัยที่องค์สมเด็จพระพิชิตมารตรัสไว้ว่า "ทานัง สัคคโส ปาณัง" คือว่า "การให้ทานย่อมเป็นปัจจัยเป็นบันไดไปสู่สวรรค์" นี่สำหรับอามิสทาน

มีความสุข...อย่างไร??

รูปภาพ
หนังสือ time magazine บอกว่า ที่อเมริกา มีงานวิจัยพบว่าคนที่มีความสุขมากที่สุดในโลก คือพระในพุทธศาสนา โดย ทดสอบด้วยการ สแกนสมองพระที่ทำสมาธิและได้ผลลัพธ์ออกมาว่าเป็นจริง + หลักความเชื่อของศาสนาพุทธ คือ เหตุที่ทำให้เกิดความสุข นั้นก็คืออยู่กับปัจจุบัน ขณะปล่อยวางได้ในสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว ควบคุมความอยาก ที่ไม่มีสิ้นสุด + ไม่ใช้ความรุนแรง ไม่ทะเลาะ และใช้หลักเวรย่อมระงับด้ วยการไม่จองเวร ให้อภัยตัวเองและผู้อื่น มีจิตใจเมตตา กรุณา และเสียสละเพื่อผู้อื่น + อริยะ สัจ 4 สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงค้ นพบและบอกไว้ด้วย ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค แท้จริงแล้วก็คือทางเดินไปหาคำว่า "ความ สุข" เพราะ ถ้าเมื่อไรเรา กำจัด "ความ ทุกข์" ได้ แล้วความสุขก็ จะเกิดขึ้น + อุปสรรค ของความสุขก็ คือแรงปรารถนา และ ตัณหา คนเราจะมีความสุขไม่ขึ้นอยู่กับว่า"มี เท่าไร" แต่ ขึ้นอยู่ที่ว่า เรา "พอ เมื่อไร" ความ สุขไม่ได้ขึ้น กับจำนวนสิ่ง ของที่เรามี หรือเราได้... + ดังนั้นวิธีจะมี ความสุขอันดับ แรกต้อง "หยุด ให้เป็น และ พอใจให้ได้" ถ้า เราไม่หยุดความอยากของเราแ

วันเข้าพรรษา

รูปภาพ
วันเข้าพรรษา เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนาวันหนึ่ง ที่พระสงฆ์อธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดช่วงฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น           "เข้าพรรษา" แปลว่า "พักฝน" หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่น ๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน คือ เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี เรียกว่า "ปุริมพรรษา"           ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือนแปดหลัง และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เรียกว่า "ปัจฉิมพรรษา" เว้นแต่มีกิจธุระคือเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในเดียวนั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืน เรียกว่า "สัตตาหะ" หากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได

นิพพานมิใช่อัตตา มิใช่อนัตตา

นิพพานมิใช่อัตตา มิใช่อนัตตา โดย อาจารย์พระมหาบัว ญาณสมฺปนฺโน (หลวงตามหาบัว) ธรรมเทศนาโดย อาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน (หลวงตามหาบัว) วัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี เทศน์อบรมพระ ณ. วัดป่าบ้านตาด เมื่อวันที่ ๓๐ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๒๓ (นิพพานมิใช่อัตตา มิใช่อนัตตา) ผู้ปฏิบัติทั้งหลายพึงสังเกตให้รอบคอบ ไม่งั้นติดและทำให้ล่าช้าในการดำเนิน และอย่าเข้าใจว่าเป็นสูงเป็นต่ำ เป็นที่ยึดเป็นที่ไว้ใจที่ต้องใจเมื่อพิจารณาเข้าไป เมื่อถึงขั้นที่จะทำลายกันแล้วนั้น อันนี้แลที่เรียกว่าจะว่าขิปปาภิญญาหรือว่าอุคฆติตัญญูก็ได้เมื่อถึงขั้นนี้ แล้ว ไม่นาน เป็นขั้นละเอียด ถ้าว่างานก็ง่ายแล้ว มีแต่ยุบยิบ ๆ อยู่ภายในจิตเท่านั้น นอกนั้นหมดปัญหาไปโดยประการทั้งปวง ประหนึ่งว่าเราไม่เคยพิจารณามาเลย คือจิตไม่สนใจกับสิ่งใดทั้งนั้น เพราะไม่ติดใจ ปล่อยมาแล้ว วางมาแล้ว รู้แล้วเห็นแล้วไปยุ่งทำไม มันรู้เอง ตรงไหนที่ยังมีสัมผัสสัมพันธ์ดูดดื่มอยู่ ตรงนั้นแหละเป็นจุดที่อยู่ของข้าศึก จึงต้องรบกันที่ตรงนั้น ฟาดฟันหั่นแหลกกันที่ตรงนั้น พอจุดสุดท้ายพังทลายลงไปด้วยปัญญาอันทันสมัยแล้วก็หมดปัญหาโดยสิ้นเชิง จะพิจารณาว่าอันนี้เ

บุญที่สำเร็จได้ด้วยการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้อื่น

บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ - ๖. ปัตติทานะ บุญที่สำเร็จได้ด้วยการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้อื่น ศัพท์ว่า ปัตติ ในที่นี้แปลว่า ส่วนบุญ ส่วนความดี ปัตติทาน แปลว่า การให้ส่วนบุญหรือส่วนความดี เมื่อได้ทำบุญอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่นถวายทานแก่พระสงฆ์เป็นต้นแล้วอุทิศให้แก่ผู้ที่ตายไปแล้ว หรือตั้งใจมอบหรือถวายให้ส่วนบุญส่วนความดีนั้นแก่ผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ เพื่อให้เขาได้รื่นเริงบันเทิงอนุโมทนาเป็นสุขใจต่อๆ ไป หรือเพื่อเขาจะได้อนุวัตรปฏิบัติบำเพ็ญบุญตามให้เกิดสุขยิ่ง ๆ ขึ้นโดยควรแก่ฐานะ และเพื่อจัดความตระหนี่ซึ่งเป็นมลทินของตนประการหนึ่ง ชื่อว่าวัณณมัจฉริยะ ตระหนี่ความดี หวงแหนความดีเอาดีแต่ผู้เดียว ไม่ยอมให้ผู้อื่นดีบ้าง การอุทิศส่วนบุญกุศลที่ได้กระทำไว้ ให้แก่สรรพสัตว์ทั้งปวง การบอกให้ผู้อื่นได้ร่วมอนุโมทนาด้วย ทั้งมนุษย์และอมนุษย์ ได้ทราบข่าวการบุญการกุศลที่เราได้กระทำไป การแบ่งส่วนบุญ ให้แก่ผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ .....นายอันนภาระ เป็นคนขนหญ้าของสุมนเศรษฐี ในกรุงสาวัตถี ได้ถวายทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า พระนามว่า อุปริฏฐะ ตั้งความปรารถนาว่า ด้วยอานิสงส์ ของทานนี้ ขอความเป็นผู้ขัดสนอย่าได้มีแก่เรา คำว่า "

ทำความดี

รูปภาพ
เก่งในทางที่ไม่ดีจะมี   "ประโยชน์อะไรเล่า"  

หลวงตามหาบัวละสังขาร

รูปภาพ
เรามีชีวิตอยู่นี้ เราทำด้วยความเมตตา สงสารต่อโลก "เราจะทำความดี" ให้โลกทั้งหลายได้เห็นเป็นตัวอย่าง เพราะหลังจากนี้แล้ว เราตายแล้ว เราจะไม่มาเกิดในโลกนี้อีกต่อไป เป็นตลอดอนันตกาล คิดถึงหลวงตา คิดถึงคำสอนของหลวงตา 

ภาพหลวงปู่มั่น

รูปภาพ
หลวงปู่มั่น หลวงปู่ขาว หลวงปู่หลุย หลวงตามหาบัว

พรุ่งนี้วันพระ

รูปภาพ
อย่าลืม "ทำบุญตักบาตร"

พระธรรมสิงหบุราจารย์

รูปภาพ
จิตมีไว้ตรอง  สมองมีไว้คิด ชีวิตมีเอาไว้ต่อสู้ ศัตรูมีเอาไว้เพิ่มพลัง

ปลุกตน..อย่างไรให้ตื่น..???

รูปภาพ
ปลุกตน..อย่างไรให้ตื่น..??? ใครหลับอยู่...ตื่นได้แล้วครับ ธรรมะสอน...ใจท่านผู้อ่าน 

ความเจริญเสื่อมถอย

รูปภาพ
 ความเจริญเป็นสิ่งที่ต้องสร้างให้เกิดมีด้วยศรัทธาในความดี แต่ธรรมดาของการดำเนินไปแห่งชีวิตที่ต้องประสบทั้งสุขและทุกข์ตามเหตุและปัจจัยที่มากระทบ บ่อยครั้งที่แรงกระทบอันเป็นวิบาก (เครื่องกั้นความเจริญ) ที่เกิดจากผลแห่งการกระทำครั้งเก่าก่อน (กรรม) หรือแม้แต่กรรมอันเป็นปัจจุบันที่ขาดสตินั้นมำแดงผลเกิดเป็นความทุกข์ที่รุมเร้าใจกระหน่ำเป็นมรสุมชีวิต (ความปรุงแต่งจิต ณ ปัจจุบัน) ซ้ำแล้วซ้ำอีก ก็อาจทำให้เรารู้สึกท้อแท้ ถดถอยที่จะกระทำความดี ความเจริญนั้น นี้เป็นเหตุให้ความเจริญเสื่อมถอย หากเพียงแต่เรามีสติอยู่กับปัจจุบัน เฝ้ามองตน มองใจของตน ณ เวลาที่ทุกข์กระทบใจให้ยิ่ง มองตนให้มากเพราะเหตุแห่งทุกข์อยู่ที่ใจของเราที่ไม่ไม่เข้าใจธรรมทั้งปวงว่าไม่มีอะไรที่ยั่งยืน แน่นอน แปรไปตามปัจจัย แล้วไปหลงยึดมั่นในอารมณ์ ความรู้สึก (ทุกข์) ณ เวลานั้นว่าช่างทุกข์เสียเหลือเกิน และมักจะไปเพ่งโทษผู้่อื่นที่เป็นปัจจัยให้เกิดทุกข์นั้น หากเราหันกลับมามองตัวเองให้มาก เพ่งโทษผู้อื่นให้น้อยลง สร้างเมตตาจิตให้เกิดกับตนด้วยการสร้างมุมมอง แง่คิดกับผู้เป็นปัจจัยที่ทำให้เราเป็นทุกข์ ว่าแท้จริงแล้วเขาทั้งหลายก็เป

ทางแห่งความดับทุกข์

รูปภาพ
นี่คือหนทางแห่งความดับทุกข์

คำคม ธรรมะ

รูปภาพ

สงบเย็น เป็นประโยชน์.

รูปภาพ
‎...สงบเย็น เป็นประโยชน์... " งานคือชีวิต ชีวิตคืองาน...สุขแท้มีแต่ในงาน คนสร้างงาน งานสร้างคนด้วยผลของงาน ไม่มีอะไรในชีวิต นอกจากกาย-จิต.. ชีิวิต-งาน " 

อารมณ์

รูปภาพ
อารมณ์เพียงชั่ววูบ "ก็อาจนำทุกข์ที่ยาวนาน"

บุญกิริยาวัตถุ ๑๐

รูปภาพ
บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ - ๓. บุญสำเร็จได้ด้วยการภาวนา (ภาวนามัย )   คือการอบรมจิตใจในการละกิเล ส ตั้งแต่ขั้นหยาบไป จนถึงกิเลสอย่างละเอียด ยกระดับจิตใจให้สูงขึ้นโดยใ ช้สมาธิปัญญา รู้ทางเจริญและทางเสื่อม จนเข้าใจอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค เป็นทางไปสู่ความพ้นทุกข์ บรรลุมรรค ผล นิพพานได้ในที่สุด   " ภาวนา " แปลว่า การทำให้มีขึ้น ทำให้เกิดขึ้น ได้แก่ การฝึกอบรมจิตใจให้เกิดความ สงบ ขั้นสมาธิและปัญญ า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงข ้อปฏิบัติไว้ ๒ ประการ คือ สมถภาวนา และ วิปัสสนาภาวนา สมถภาวนา คือ การฝึกอบรมจิตใจให้เกิด ความสงบ จนตั้งมั่น เป็นสมาธิ อารมณ์ อันเป็นที่ตั้ง แห่งการเจริญ สมถภาวนา ชื่อว่า กรรมฐาน มี ๔๐ ประเภท คือ กสิณ ๑๐ อสุภะ๑๐ อนุสสติ ๑๐ พรหมวิหาร ๔ อรูป ๔ อาหาเรปฏิกูลสัญญา และจตุธาตุววัฏฐาน(รายละเอี ยดในวิสุทิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒) วิปัสสนาภาวนา คือ การฝึกอบรม เจริญปัญญา ให้เกิดความ รู้แจ้งใน สภาพธรรมที่ เป็นจริง ตามสภาพ ของไตรลักษณ์ คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา กรรมฐาน อันเป็น ที่ตั้ง ของการ เจริญ วิปัสสนา ภาวนาได้แก่ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ อริ

นิทานธรรม วันพระ

.....พรานคงและคนรุ่นเก่า ๆ ให้สัจจะปฏิญาณว่า ถึงจะล่าสัตว์ก็จริง แต่จะไม่ล่าและฆ่าลิง ค่าง บ่าง ชนี เพราะสัตว์เหล่านี้เมื่อถลก หนังออกแล้ว มีสภาพคล้ายเด็กทารกแดง ๆ และเลือกไม่ฆ่า ช้าง เต่า เพราะสัตว์ที่ว่านี้ อายุยืน การฆ่าสัตว์ที่อายุยืนนั้นท ่านว่า ...ชดใช้เวรใช้กรรมกันชาติต กนรกหลายขุมนัก หลายคนพูดเล่น ๆ ว่า กรรมนั้นมนุษย์สร้างกันแยะเ หลือเกินมากเสียจนล้นเมืองน รกแล้ว ยังไงก็ไม่เบาบางลง ดังนั้นเมื่อมนุษย์ยังไม่วา งมือจากกรรม ก็ให้กรรมนั้นจัดการลงโทษเส ีย แต่เมืองมนุษย์เพื่อแบ่งเบา เมืองนรกบ้าง คนที่ไม่เชื่ออาจจะหัวเราะเ ยอะว่างมงาย พวกโบราณล้าสมัย เป็นความเชื่อของบุคคล เพราะอะไรๆที่ถึงขั้นเป็นเว รเป็นกรรมต่อกันนั้นมักจะทั นตาเห็นในชาตินี้ภพนี้นี่แห ละ นายชาติมีอาชีพเก็บมะพร้าวข าย เพราะพ่อของนายชาติมีที่ดิน อยู่หลายไร่ เป็นมรดกจากพ่อแม่ทิ้งไว้ให ้ การหากินเลี้ยงชีพของนายชาต ิจึงไม่ฝืดเคือง เขาได้แต่งงานกับสาวหมู่บ้า นเดียวกันและมีลูกด้วยกัน 2 คน นิสัยของนายชาติค่อนข้างไปท างเกเร ชอบดื่มเหล้าเล่นการพนัน พรรคพวกเพื่อนฝูงของนายชาติ มีนิสัยคล้ายคลึงกัน เป็นความจริงที่ว่า คนดื่มเหล้าเก่ง