บทความ

น้ำกับทิฐิ

รูปภาพ
นานมาแล้วมีชายคนหนึ่งชื่อว่า...ทิฐิ... เขาเป็นคนที่มีนิสัยอวดดื้อถือดีไม่ต่างจากชื่อ เพราะเมื่อได้ลองเชื่อมั่นในสิ่งใดแล้ว ทิฐิคนนี้ก็จะยึดมั่นถือมั่นในสิ่งนั้นไม่เปลี่ยน และจะไม่ยอมรับฟังข้อคิดเห็นที่ผิดไปจากความเชื่อเดิมโดยเด็ดขาด แม้ว่านี่จะแสดงให้เห็นถึงความเป็นคนเอาจริงเอาจังและเคร่งครัดกับชีวิต แต่บางครั้งเขาก็ดื้อรั้นมากเกินไปจนขาดเหตุผล และทำให้สูญเสียสิ่งดีๆ ในชีวิตไปมากมาย โดยที่เขาเองก็ไม่เคยรู้มาก่อน      เนื่องจากทิฐิไม่ใช่คนร่ำรวย ดังนั้นเขาจึงต้องทำงานหนักเพื่อหาเงินมาใช้จ่าย จนกระทั่งมีฐานะขึ้นมาในระดับหนึ่งแล้ว ทิฐิจึงคิดที่จะหยุดพักตัวเองจากการงาน แล้วเดินทางไปเรื่อยๆ เพื่อเที่ยวชมโลกกว้าง      เมื่อตัดสินใจได้ดังนั้น ทิฐิจึงจัดการฝากบ้านไว้กับญาติพี่น้อง แล้วเก็บสัมภาระออกเดินทางทันที      ทิฐิเดินทางไปยังที่ต่างๆ ชมนั่นแลนี่ และพูดคุยกับผู้คนที่อยู่ในที่เหล่านั้นมากมาย การท่องโลกกว้างของทิฐิน่าจะทำให้เขามีความรู้ดีๆ หรือเกิดทัศนคติใหม่ๆ ขึ้นมาบ้าง แต่เมื่อไรก็ตามที่มีคนกล่าวคำซึ่งผิดไปจากความรู้หรือความเชื่อมั่นเดิมของเขา ทิฐิก็จะรีบกล่าวแก่คนคนนั้นทันทีว่า... “น

กรรมมีความหมาย 2 นัย

รูปภาพ
     กรรมมีความหมาย 2 นัย คือ ความหมายในทางโลกและความหมายในทางธรรม      ทางโลก...หมายถึง การกระทำต่างๆ จะโดยเจตนาหรือไม่เจตนาก็ตาม ผู้ทำจะได้รับผลตอบสนองตามเหตุปัจจัย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกฎหมาย วัฒนธรรม จารีตประเพณี ค่านิยม ของแต่ละท้องถิ่น ตลอดจนความพอใจของแต่ละบุคคล      ทางธรรม...หมายถึง การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลายเจตนาเรียกว่ากรรม..      ผลของกรรมในทางธรรมที่จะตอบสนองผู้กระทำเรียกว่า..วิบาก      ส่วน..เวร..ที่มักใช่คู่กับกรรม หมายถึง ความแค้น หรือคิดแก้แค้นผู้ที่ทำร้าย ความผูกใจพยาบาทต่อกัน เช่น จองเวร นอกจากนี้ยังหมายถึง..หนี้กรรม..ที่จะต้องชดใช้ หากใช้ยังไม่หมดเรียกว่า..ยังไม่หมดเวร หากใช้หมดแล้วเรียกว่า..หมดเวร      ตัวอย่างความแตกต่างระหว่างกรรมทางโลกกับทางธรรมก็คือ...      สมมติว่า..นายแดงจอดรถยนต์ไว้หน้าบ้านของนายดำ มีลูกหมาที่น่ารักของนายดำนอนอยู่ใต้ท้องรถ โดยที่นายแดงไม่รู้ นายแดงขับรถออกไปทับลูกหมาตายโดยไม่เจตนา ในทางธรรมนายแดงไม่ได้ทำกรรม การกระทำของนายแดงไม่บาป ไม่มีวิบากกรรมที่นายแดงจะต้องชดใช้จากการขับรถทับลูกหมาตาย      แต่

นิทานเซนตอนปัญหารบกวนจิตใจ 3 ประการ

รูปภาพ
      ยังมีแม่ทัพใหญ่ผู้หนึ่ง ในใจมีคำถามที่ขบคิดไม่เข้าใจอยู่ 3 ประการ จึงได้ตัดสินใจปลอมแปลงตนเองด้วยเครื่องแต่งกายของชาวบ้านธรรมดา แล้วออกเดินทางขึ้นเขาเพื่อไปขอให้อาจารย์เซนชี้แจงแถลงคำตอบของปัญหาทั้ง 3 ข้อนี้ต่อเขา เมื่อแม่ทัพเสาะหาจนพบอาจารย์เซน อาจารย์เซนกำลังขุดดินดายหญ้าอยู่ในแปลงผัก แม่ทัพจึงเป็นฝ่ายเอ่ยขึ้นว่า "ข้ามีปัญหารบกวนจิตใจอยู่ 3 ประการที่ต้องการคำชี้แนะจากท่านอาจารย์" ข้อแรกคือ เวลาใด ที่สำคัญที่สุด? ข้อสองคือ ในการร่วมกันทำงานนั้น บุคคลที่สำคัญที่สุดคือใคร? ข้อสุดท้ายคือ สิ่งสำคัญที่สุดที่ควรกระทำคืออะไร? ทว่าอาจารย์เซนไม่เพียงไม่ตอบคำถาม ทั้งยังก้มหน้าก้มตาขุดดินดายหญ้าต่อไป ฝ่ายแม่ทัพเห็นว่าอาจารย์เซนอายุมาก ทั้งยังผอมแห้งแรงน้อย จึงอาสาช่วยขุดดินแทนให้ พร้อมทั้งกล่าวกับอาจารย์เซนว่า "หากท่านอาจารย์ไม่มีคำตอบให้ข้า ขอเพียงเอ่ยปาก ข้าก็จะเดินทางกลับ" ทว่าอาจารย์เซนยังคงเงียบงัน แม่ทัพจึงขุดดินดายหญ้าต่อไปเรื่อยๆ จากนั้นไม่นาน ปรากฏคนผู้หนึ่งซึ่งได้รับบาดเจ็บสาหัสโซซัดโซเซมาถึงเบื้องหน้าคนทั้งสอง จากนั้นจึงสลบไป แม่ทัพจึงรีบประคองคน

นิทานเซนตอนพระผู้เฒ่ากับคนแบกของ

รูปภาพ
     พระเซนชรารูปหนึ่งในประเทศจีนซึ่งปฏิบัติภาวนาอยู่นานหลายปี ท่านมีจิตดีและกลายเป็นคนสงบเงียบมาก แต่ก็ยังไม่เคยสัมผัสการสิ้นสุดแห่ง "ฉัน" และ "ผู้อื่น" ภายในใจได้อย่างแท้จริง ท่านไม่เคยบรรลุถึงต้นธารความนิ่งหรือศานติที่สมบูรณ์ซึ่งเป็นบ่อเกิดการเปลี่ยนแปลงอันลึกซึ้ง ด้วยเหตุนี้ท่านจึงไปขออนุญาตอาจารย์ว่า "ผมขอออกไปปฏิบัติบนเทือกเขาได้ไหมครับ ผมถือบวชและฝึกฝนมานานหลายปี ไม่ต้องการอื่นใดนอกจากการเข้าใจธรรมชาติแท้ของตนเองและโลก" อาจารย์รู้ว่าจิตของพระรูปนี้สุกงอมแล้วจึงอนุญาตให้ไปได้ ท่านออกจากวัดโดยมีบาตรและบริขารเพียงเล็กน้อยติดตัว ระหว่างทางได้เดินผ่านเมืองต่าง ๆ หลายเมือง ครั้นออกจากหมู่บ้านสุดท้ายก่อนขึ้นเขา ปรากฏว่ามีชายชราคนหนึ่งเดินสวนทางลงมา ชายคนนั้นมีห่อใหญ่มากเป้ติดหลังมาด้วย (ชายชราผู้นี้แท้จริงแล้วคือพระมัญชุศรีโพธิสัตว์ ซึ่งพุทธศาสนิกชาวจีนเชื่อกันว่าจะมาปรากฏแก่คนที่มีจิตสุกงอมในจังหวะที่เขาจะบรรลุธรรม ภาพของพระมัญชุศรีที่มีการบรรยายไว้มาก มักเป็นภาพพระองค์ถือดาบแห่งปรีชาญาณคมกริบที่สามารถตัดความยึดมั่น มายาคติ และความรู้สึกแบ่งแยกได้ห

ปฏิบัติธรรมไปทำไม?

รูปภาพ
มีผู้มาถามพุทธเจ้าว่า"ปฏิบัติธรรมไปทำไม?" -การปฏิบัติธรรมของเรา.......ไม่เป็นไปเพื่อปรับวาทะกับเจ้าลัทธิอื่น(ไม่ได้ไปโต้เถียงกัน) -การปฏิบัติธรรมของเรา.......ไม่ได้เป็นเพื่อชื่อเสียง -การปฏิบัติธรรมของเรา.......ไม่ได้เป็นไปเพื่อลาภสักการะ -การปฏิบัติธรรมของเรา.......ไม่ได้เป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์ของอาหาร -การปฏิบัติธรรมของเรา.......ไม่ได้เป็นไปเพื่ออนิสงค์ของสมาธิ -การปฏิบัติธรรมของเรา.......ไม่ได้เป็นไปเพื่ออนิสงค์ของปัญญา -การปฏิบัติธรรมของเรา.......เป็นไปเพื่อ หลุดพ้น จาก เพลิงทุกข์ เพลิงกิเลส ด้วยการทำอาสวะให้สิ้น .......................... //-เราขอประกาศว่า เราตรัสรู้โดยชอบ ด้วยตนเอง อาสวะใด ที่มนุษย์ยึดอยู่ เราทำให้สิ้นแล้ว ธรรมะนั้น เราเรียบเรียงไว้ดีแล้ว(ธรรมะที่ พัฒนามนุษย์เป็นอริยะบุคคล) ธรรมะนั้น ผู้ปฏิบัติธรรม และเปลี่ยนเป็นอริยะบุคคล มีอยู่ ........................ //-อาสวะบางอย่าง พ้นได้.......................ด้วยการมีวิสัยทัศน์ เห็นด้วยปัญญา -อาสวะบางอย่างต้อง"เว้น".....................เช่นคนร้าย สัตว์ร้าย ความคิดชั่วร้าย ตัวอย่างชั

ปฐมเทศนา

รูปภาพ
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร  [๑๓] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะพระปัญจวัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ที่สุดสองอย่างนี้อันบรรพชิตไม่ควรเสพ คือ การประกอบตนให้พัวพันด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย เป็นธรรมอันเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑ การประกอบความเหน็ดเหนื่อยแก่ตน เป็นความลำบาก ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั้น นั่นตถาคตได้ ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิปทาสายกลางที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตา ให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพานั้ นไฉน? ปฏิปทาสายกลางนั้น ได้แก่อริยมรรค มีองค์ ๘ นี้แหละ คือปัญญาอันเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑ เจรจาชอบ ๑ การงานชอบ ๑ เลี้ยงชีวิตชอบ ๑ พยายามชอบ ๑ ระลึกชอบ ๑ ตั้งจิตชอบ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือปฏิปทาสายกลางนั้น ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เ

อุปสรรคของสมาธิ

อุปสรรคของสมาธิคืออะไร..? อุปสรรคของสมาธิ ได้แก่ นิวรณ์   หมายถึง  สิ่งที่กั้นจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณความดี,  ไม่ให้บรรลุสมาธิได้   มี 5 อย่าง คือ 1. กามฉันท์  พอใจในกามคุณ 5 ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สิ่งสัมผัสทางกาย ที่น่ารักน่าใคร่ 2. พยาบาท  คิดร้ายผู้อื่น 3. ถีนมิทธะ  ความหดหู่ ท้อแท้ และซึมเซา ง่วงซึม เคลิ้มหลับ 4. อุทธัจจกุกกุจจะ  ความฟุ้งซ่าน และหงุดหงิด รำคาญใจ 5. วิจิกิจฉา  ความลังเลสงสัย ไม่แน่ใจในคุณพระรัตนตรัย และวิธีการที่ปฏิบัติ อีกอย่างหนึ่ง  หมายถึง อุปกิเลสของสมาธิ 11 อย่าง ได้แก่ 1. วิจิกิจฉา  ความลังเล หรือความสงสัย 2. อมนสิการ  ความไม่สนใจ ใส่ใจ ไว้ให้ดี 3. ถีนมิทธะ  ความท้อ และความเคลิบเคลิ้ม ง่วงนอน 4. ฉัมภิตัตตะ ความสะดุ้งหวาดกลัว 5. อุพพิละ  ความตื่นเต้นด้วยความยินดี 6. ทุฏฐุลละ  ความไม่สงบกาย 7. อัจจารัทธวิริยะ  ความเพียรจัดเกินไป 8. อติลีนวิริยะ  ความเพียรย่อหย่อนเกินไป 9. อภิชัปปา  ความอยาก 10. นานัตตสัญญา  ความนึกไปในสิ่งต่างๆ เรื่องราวต่างๆ ที่เคยผ่านมาหรือจดจำไว้ มาผุดขึ้นในขณะทำสมาธิ 11. รูปานัง อตินิชฌายิตัตตะ  ความเพ่งต่อรูปหรือ