การทำจิตให้กลับมาอยู่กับตนเอง

การทำจิตให้กลับมาอยู่กับตนเอง คือการทำจิตให้สงบนิ่ง


คนทุกวันนี้ มีจิตที่ไม่อยู่กับตนเองเสียเป็นส่วนใหญ่ จึงหาความสงบนิ่งไม่ได้ มีความทุกข์เกิดในใจอยู่เสมอๆ ก็เพราะการขาดสติ เป็นสิ่งสำคัญ จิตจึงส่งออกไปกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทางกาย ที่ชวนให้รัก,ชักให้ใคร่,พาใจให้ไหลหลง, รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทางกาย จึงจัดเป็นวัตถุแห่งกาม คือพัสดุอันน่าใคร่ เมื่อ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ มากระทบสัมผัสสิ่งเหล่านี้ ก็ทำให้เกิดความรู้สึกยินดียินร้ายบ้าง,ความรู้สึกพอใจหรือความรู้สึกไม่พอใจบ้าง, จึงทำให้จิตของเราเกิดกิเลสกาม คือกิเลสเป็นเหตุให้เกิดความใคร่ได้แก่ความอยาก เกิดเป็นบาปอกุศลจิต มีความไม่สบายใจ ความเศร้าหมองใจเป็นทุกข์เกิดขึ้น ยิ่งมีความปารถนาในสิ่งใด หรือไม่ปารถนาในสิ่งใด การได้เห็นสิ่งนั้นๆ ยิ่งทำให้เกิดความทุกข์ เพราะการได้เห็นสิ่งนั้นๆด้วยความรู้สึกยินดียินร้าย ยิ่งจะไปกระตุ่นความจำในจิตใต้สำนึก ให้เกิดความนึกคิดปรุงแต่งให้เกิดความทุกข์ใจกลับมาอีก มันจะเป็นอยู่อย่างนี้ตลอดเวลา ถ้าเราไม่ได้ฝึกให้จิตของตนมีสติ รู้ปล่อยวางในอารมณ์ยินดียินร้ายเสีย ความสงบสุขก็ยากจะเกิดขึ้นได้

ถ้าท่านทั้งหลาย ถ้าท่านรักสุขเกลียดทุกข์ ไม่ควรปล่อยให้จิตของตนส่งออกไป ควรทำจิตของตนให้กลับมาอยู่กับตน ด้วยการเจริญสติไว้ เพื่อให้จิตของตนมีความสงบนิ่งอยู่กับตน ด้วยการเจริญภาวนาในธัมมะภาวนาอยู่เสมอๆ ในชีวิตประจำวันควรเจริญในธัมมะภาวนาว่า “อย่ายินดียินร้าย...อย่าว่าร้ายใคร...อย่าคิดร้ายใคร...” สติ คือความระลึกได้ในหัวข้อธัมมะ ก็จะเกิดขึ้น จะมีสติรู้ปล่อยวางในอารมณ์ยินดียินร้ายที่เป็นบาปอกุศลออกเสียได้ เมื่อมีสติเกิดได้บ่อยๆ ก็จะทำให้จิตของตนมีความสงบนิ่ง ไม่ส่งออกไป จิตของตนก็กลับมาอยู่กับตนในฐานที่มั่นในจิต คือเป็นสมถะกรรมฐาน มีความสงบนิ่งเป็นสุข เป็นบุญคือความสบายใจ เป็นกุศลคือมีความผ่องใส จัดเป็นอธิจิต และทำให้เกิดตาปัญญา คือรู้สภาวธรรมตามความเป็นจริงเป็นวิปัสสนา จัดเป็นอธิปัญญา จะทำให้มีสติในการดำเนินชีวิต มีการพูดจาชอบ,การทำการงานชอบ,การเลี้ยงชีวิตชอบ, จัดเป็นอธิศีล ตามในอริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ ทำให้มีความสุขทั้งชาตินี้ และชาติหน้า และสุขอย่างยิ่งคือนิพพาน ดังนี้

โดยหลวงพ่ออุดม มหาปุญโญ วัดป่าหนองเลง

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทางสายกลาง

อุปสรรคของสมาธิ

หลวงปู่มั่นเล่าเรื่องพระธาตุพนม