บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2014

ปฏิบัติธรรมไปทำไม?

รูปภาพ
มีผู้มาถามพุทธเจ้าว่า"ปฏิบัติธรรมไปทำไม?" -การปฏิบัติธรรมของเรา.......ไม่เป็นไปเพื่อปรับวาทะกับเจ้าลัทธิอื่น(ไม่ได้ไปโต้เถียงกัน) -การปฏิบัติธรรมของเรา.......ไม่ได้เป็นเพื่อชื่อเสียง -การปฏิบัติธรรมของเรา.......ไม่ได้เป็นไปเพื่อลาภสักการะ -การปฏิบัติธรรมของเรา.......ไม่ได้เป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์ของอาหาร -การปฏิบัติธรรมของเรา.......ไม่ได้เป็นไปเพื่ออนิสงค์ของสมาธิ -การปฏิบัติธรรมของเรา.......ไม่ได้เป็นไปเพื่ออนิสงค์ของปัญญา -การปฏิบัติธรรมของเรา.......เป็นไปเพื่อ หลุดพ้น จาก เพลิงทุกข์ เพลิงกิเลส ด้วยการทำอาสวะให้สิ้น .......................... //-เราขอประกาศว่า เราตรัสรู้โดยชอบ ด้วยตนเอง อาสวะใด ที่มนุษย์ยึดอยู่ เราทำให้สิ้นแล้ว ธรรมะนั้น เราเรียบเรียงไว้ดีแล้ว(ธรรมะที่ พัฒนามนุษย์เป็นอริยะบุคคล) ธรรมะนั้น ผู้ปฏิบัติธรรม และเปลี่ยนเป็นอริยะบุคคล มีอยู่ ........................ //-อาสวะบางอย่าง พ้นได้.......................ด้วยการมีวิสัยทัศน์ เห็นด้วยปัญญา -อาสวะบางอย่างต้อง"เว้น".....................เช่นคนร้าย สัตว์ร้าย ความคิดชั่วร้าย ตัวอย่างชั

ปฐมเทศนา

รูปภาพ
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร  [๑๓] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะพระปัญจวัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ที่สุดสองอย่างนี้อันบรรพชิตไม่ควรเสพ คือ การประกอบตนให้พัวพันด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย เป็นธรรมอันเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑ การประกอบความเหน็ดเหนื่อยแก่ตน เป็นความลำบาก ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั้น นั่นตถาคตได้ ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิปทาสายกลางที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตา ให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพานั้ นไฉน? ปฏิปทาสายกลางนั้น ได้แก่อริยมรรค มีองค์ ๘ นี้แหละ คือปัญญาอันเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑ เจรจาชอบ ๑ การงานชอบ ๑ เลี้ยงชีวิตชอบ ๑ พยายามชอบ ๑ ระลึกชอบ ๑ ตั้งจิตชอบ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือปฏิปทาสายกลางนั้น ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เ

อุปสรรคของสมาธิ

อุปสรรคของสมาธิคืออะไร..? อุปสรรคของสมาธิ ได้แก่ นิวรณ์   หมายถึง  สิ่งที่กั้นจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณความดี,  ไม่ให้บรรลุสมาธิได้   มี 5 อย่าง คือ 1. กามฉันท์  พอใจในกามคุณ 5 ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สิ่งสัมผัสทางกาย ที่น่ารักน่าใคร่ 2. พยาบาท  คิดร้ายผู้อื่น 3. ถีนมิทธะ  ความหดหู่ ท้อแท้ และซึมเซา ง่วงซึม เคลิ้มหลับ 4. อุทธัจจกุกกุจจะ  ความฟุ้งซ่าน และหงุดหงิด รำคาญใจ 5. วิจิกิจฉา  ความลังเลสงสัย ไม่แน่ใจในคุณพระรัตนตรัย และวิธีการที่ปฏิบัติ อีกอย่างหนึ่ง  หมายถึง อุปกิเลสของสมาธิ 11 อย่าง ได้แก่ 1. วิจิกิจฉา  ความลังเล หรือความสงสัย 2. อมนสิการ  ความไม่สนใจ ใส่ใจ ไว้ให้ดี 3. ถีนมิทธะ  ความท้อ และความเคลิบเคลิ้ม ง่วงนอน 4. ฉัมภิตัตตะ ความสะดุ้งหวาดกลัว 5. อุพพิละ  ความตื่นเต้นด้วยความยินดี 6. ทุฏฐุลละ  ความไม่สงบกาย 7. อัจจารัทธวิริยะ  ความเพียรจัดเกินไป 8. อติลีนวิริยะ  ความเพียรย่อหย่อนเกินไป 9. อภิชัปปา  ความอยาก 10. นานัตตสัญญา  ความนึกไปในสิ่งต่างๆ เรื่องราวต่างๆ ที่เคยผ่านมาหรือจดจำไว้ มาผุดขึ้นในขณะทำสมาธิ 11. รูปานัง อตินิชฌายิตัตตะ  ความเพ่งต่อรูปหรือ

คาถาเศรษฐี

รูปภาพ

ธรรมโอสถ

รูปภาพ

ผลกรรมทำผิดศีล 5 ครับ

รูปภาพ
ปาณาติปาตา เวรมณี สิกฺขาปทํสมาทิยามิ ผิดศีลข้อ 1 : ฆ่าสัตว์ เบียดเบียนทำร้ายสัตว์ กักขังทรมานสัตว์ ผลกรรมคือ 1.มักมีปัญหาสุขภาพ ขี้โรค มีโรคเรื้อรัง รักษาไม่หาย รักษายุ่งยาก 2.มีอุบัติเหตุบ่อย ๆ อาจมีอุปฆาตกรรม คือกรรมตัดรอน ทำให้ตายก่อนอายุขัย 3.อาจพิกลพิการ มีปัญหาร่างกายไม่สมส่วน ไม่สมประกอบ 4.กำพร้าพ่อแม่ คนใกล้ตัวโดนฆ่า 5.อายุสั้น ตายทรมาน ตายแบบเดียวกับที่ไปฆ่าไปทรมานสัตว์ไว้ 6.อัปลักษณ์ มีปมด้อยด้านสังขาร แนะนำหนทางทุเลา : ตั้งสัจจะว่าจะพยายามไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ทำร้ายหรือเบียดเบียน ไม่แกล้ง ไม่กักขัง ว่าง ๆ ก็ไถ่ชีวิตสัตว์ เช่น ไปตลาดซื้อปลาที่เค้ากำลังจ ะขายให้คนไปทำกินให้เราซื้อไปปล่อยในเขตอภัยทาน หรือซื้อยาสมุนไพรยาแผนปัจจุบันไปให้ถวายพระที่วัด หรือไปตามโรงพยาบาลทั้งของคนปกติและของสงฆ์เพื่อบริจาคค่ารักษา หรือรับอุปถัมภ์ค่ารักษาพยาบาลบริจาคเลือดและร่างกาย ให้สภากาชาดไทยหรือตามโรงพยาบาลต่าง ๆ และอื่น ๆ ตามแต่จะสะดวกและตามกำลัง อทินฺนาทานา เวรมณี สิกฺขาปทํสมาทิยามิ ผิดศีลข้อที่ 2 : ลักทรัพย์ ขโมย ฉ้อโกง ยักยอก ทำลายทรัพย์ ผลกรรมคือ 1.ธุรกิจไม่เจริญก้าวห

แบ่งปันธรรมะ

รูปภาพ

สัมมาอาชีวะ

      สัมมาอาชีวะ( ในพระพุทธศาสนา ) "สัมมาอาชีวะ หรือ สัมมาชีพ" แปลว่า การเลี้ยงชีวิตในทางที่ชอบ คือการทำมาหากิน หรือหน้าที่การงาน การทำงานของมนุษย์เราเพื่อหารายได้มาประทังชีวิตหรือเลี้ยงชีวิตของตนและครอบครัวนั่นเอง. การเลี้ยงชีวิต ไม่ว่าจะเป็นอาชีพอะไรก็แล้วแต่ จะเป็น พ่อค้า แม่ค้า ชาวไร่ ชาวนา เกษตรกรรม ปศุสัตว์ หรือจะเป็นข้าราชการ นักธุรกิจ อย่างใดอย่างหนึ่งก็แล้วแต่ สรูปการกระทำนั้น ๆ ออกมาเป็น 2 ทาง คือ 1. ทางกาย คือ การงานหรืออาชีพ ที่ต้องใช้กำลังแรงกาย หรือการกระทำทางกายเข้าประกอบ 2. ทางวาจา คือ การงานหรืออาชีพ ที่ต้องใช้วาจาเข้าประกอบในการทำงาน อาชีพบางอย่าง อาจใช้แรงกายอย่างเดียวเข้ากระทำ อาชีพบางอย่าง อาจใช้วาจาอย่างเดียว ในการกระทำ, และอาชีพบางอย่างอาจใช้ทั้งทางกาย และทางวาจาทั้งสองเข้ากระทำ เช่น ค้าขาย ใช้แรงกายในการผลิตสินค้า และใช้คำพูดหรือเครื่องมือ เช่นหนังสือ เครืองคอมพ์ เป็นต้น ในการโฆษณาสินค้า หรือบอกราคาสินค้า ถ้าผลิตสินค้าปลอม เป็นกายทุจริต โฆษณาเกินความจริง หรือตั้งราคาสูงเกินความจริง เป็นวจีทุจริต อย่างนี้เป็นต้น .....ฯ เพราะฉะนั้น การกระทำทางกาย และทาง