วันจันทร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2556

กิเลสมี 3 ระดับ

พระพุทธองค์ ได้ บอกวิธี เพื่อกำจัดกิเลส แต่ละ แบบไว้ดังนี้


กิเลส ชั้นหยาบ กำจัดได้ด้วยการ รักษาศีล
กิเลส ชั้นกลาง  กำจัดได้ด้วยการ ทำสมาธิ
กิเลส ชั้นละเอียด กำจัดได้ด้วย  ปัญญา

เมื่อ กิเลส (เครื่องเศร้าหมอง) ถูกจำกัด ออกไป ที่เหลือ คือ จิตที่ใส สงบ รู้ทุกข์ ทำให้ ถึงซึ่งความดับทุกข์ทั้งปวง

กิเลส ชั้นหยาบ  เห็นได้ง่าย เป็นผลปรากฎทางกาย  วาจา   - พูดเพ้อเจ้อ โกหก ส่อเสียด - ฆ่าสัตว์ เบียดเบียน ทำร้าย   ลักทรัพย์  ฯลฯ  (สังเกต เห็นได้โดยง่าย)
กิเลส ชั้นกลาง   ซ่อนอยู่ในใจ    ร้อนรุ่ม  กระวนกระวาย  อิจฉา ริษยา  โกรธ อาฆาต  พยาบาท ลังเลสงสัย ซึม เศร้า  ความอยากทั้งหลายทั้งปวง  (พอจะรู้ได้บ้าง) นิวรณ์ 5
กิเลส ชั้นละเอียด  ซ่อนลึก ตกเป็นตะกอน อยู่ในสันดาน  พร้อมที่จะผุดขึ้น เมื่อถูกกระทบ แม้เพียงเล็กน้อย  (ยากที่จะรู้เท่าทัน)  
 

ที่มา  http://diarylove.com/

วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ทุกข์ทั้งหลายมารวมลงที่ใจ

ทุกข์ทั้งหลายมารวมลงที่ใจ มีสติรู้ปล่อยวางเสียได้จะหมดทุกข์


ทุกข์ที่กายมีมากมาย เช่นทุกข์จากความเจ็บไข้ในโรคร้ายต่างๆ ทุกข์เพราะความพิการตั้งแต่เล็ก หรือพิการเพราะอุบัติเหตุต่างๆ และเนื่องด้วยกายกับใจ เช่นความศูนย์เสียบุคคลอันเป็นที่รัก ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก มีความปารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นๆก็เป็นทุกข์ มีความเกลียดใครก็เป็นทุกข์ มีความอิจฉาริษยาใครก็เป็นทุกข์ มีความรักใคร่ในใครก็เป็นทุกข์ ทุกข์เหล่านี้มารวมลงในใจเป็นความจำได้หมายรู้ หรือจิตใต้สำนึกของเรา ยามใดที่เราได้เห็นรูป ได้ยินเสียง ได้ดมกลิ่น ได้รับรส ได้สัมผัสทางกาย และธรรมารมณ์คือเรื่องที่มีอยู่ในใจ การรับรู้กับสิ่งที่มีความคล้ายคลึงกับเรื่องที่ทำให้เราเป็นทุกข์ ก็จะเกิดความนึกคิดให้เกิดทุกข์ขึ้นมาอีกทุกครั้ง ตรงนี้แหละที่เรียกว่าใจเป็นเหตุ หรือสมุทัย

ถ้าไม่อยากให้เกิดทุกข์อีก จะต้องหมั่นภาวนาไว้เสมอๆในหัวข้อธรรมนี้ว่า “ไม่ยินดียินร้าย...ไม่ว่าร้ายใคร...ไม่คิดร้ายใคร...” เพื่อให้จิตมีความรู้ตัว มีอินทรีย์สังวรรู้ระวังในใจเมื่อได้รับรู้ใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรมารมณ์ จะทำให้มีสติ ถอนความรู้สึกยินดียินร้ายในโลกออกเสียได้ หรือรู้ปล่อยวางในอารมณ์โลก ถ้ายังมีเรื่องใดที่เรายังไม่อาจปล่อยวางได้ ก็ให้คิดแก้คิดในใจว่า “เรื่องนี้ให้ถอนออกไปเสีย ให้ลบออกไปเสียจากใจ ไม่ควรเอามาคิดอีก” ให้ย้ำคิดย้ำทำเช่นนี้ในใจอย่างนี้ไว้เลื่อยๆ ก็จะทำให้เรามีสติรู้ปล่อยวางได้ ยิ่งรู้มีสติรู้ปล่อยวางได้ ก็จะทำให้จิตมีความสะอาด สว่าง สงบ เป็นจิตที่เย็นและนิ่ง ทุกข์ทั้งหลายก็จะหมดไปจากใจของเรา ดังนี้.

โดยหลวงพ่ออุดม มหาปุญโญ วัดป่าหนองเลง

วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2556

15 ข้อฝึกหาความสุขแบบตัดตรง(ไม่หรูหราแต่ได้ผลจริง)


1. ฝึกมองตัวเองให้เล็กเข้าไว้ หมายความว่า จงเป็นคนตัวเล็ก อย่าเป็นคนตัวใหญ่ จงเป็นคนธรรมดา อย่าเป็นคนสำคัญ เวลามีอะไรเกิดขึ้นกับเรา อย่าไปให้ความสำคัญกับตัวเองมาก อย่าปล่อยให้จิตใจวนไปวนมากับความรู้สึกของตัวเอง เหมือนจมอยู่ในอ่าง ลองเปิดตามองไปรอบๆ แล้วมองให้เห็นว่า คนบนโลกนี้มีมากมายแค่ไหน ตัวเราไม่ได้เป็นศูนย์กลางของโลก ดังนั้นก็อย่าไปให้ความสำคัญกับมันมากนัก ทุกข์บ้าง ผิดบ้าง เรื่องธรรมดา

2. ฝึกให้ตัวเองเป็นนักไม่สะสม หมายความว่า การสะสมอะไรสักอย่างนั้นเป็นภาระ ไม่มีอะไรที่เราสะสมแล้วไม่เป็นภาระยกเว้นความดี นอกนั้นล้วนเป็นภาระทั้งหมดไม่มากก็น้อย ในแง่ของความสุข เราไม่จำเป็นต้องสะสมอะไรเพื่อให้มีความสุข วิธีมีความสุขของคนเรามีมากมายหลายอย่าง และเราไม่ควรเลือกวิธีที่สร้างภาระให้กับตนเอง

3. ฝึกให้ตนเองเป็นคนสบายๆ หมายความว่า อย่าไปบ้ากับความสมบูรณ์แบบ เพราะความสมบูรณ์แบบมันไม่มีจริง มีแต่คนโง่เท่านั้นที่มองว่า ความสมบูรณ์แบบมีจริง ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม หัดเว้นที่วางไว้ให้ความผิดพลาดบ้าง ทุกอย่างไม่จำเป็นต้องไร้ที่ติ การผิดบ้างถูกบ้างเป็นเรื่องธรรมดาของชีวิต เพียงแต่เราต้องรู้จักปรับปรุงตนเองไม่ให้ผิดพลาดบ่อยๆ ซ้ำๆซากๆ

4. ฝึกให้ตัวเองเป็นคนนิ่งๆ หรือไม่ก็พูดในสิ่งที่ดีๆ หมายความว่า ถ้าอะไรไม่ดีก็อย่าไปพูดมากไม่ว่าสิ่งนั้นจะถูกหรือผิด แต่ถ้ามันไม่ดี เป็นไปได้ก็ไม่ต้องพูด เพราะการพูด หรือวิจารณ์ในทางเสียหายนั้น มีแต่ทำให้จิตใจตนเองตกต่ำ และขุ่นมัว คนที่พูดจาไม่ดี แม้ว่าคำพูดจะดูฉลาดหลักแหลมเพียงไรมันก็คือความโง่ชนิดหนึ่ง คนที่พูดแต่เรื่องไม่ดีของคนอื่นนับเป็นคนหาความสุขได้ยากนัก
5. ฝึกให้ตัวเองรู้ธรรมชาติว่า อะไรๆ ก็ผ่านไปเสมอ หมายความว่า เวลามีความสุข ก็ให้รู้ว่า เดี๋ยวความสุขมันก็ผ่านไป เวลามีความทุกข์ ก็ให้รู้ว่า เดี๋ยวความทุกข์ก็ผ่านไป เวลามีสถานการณ์แย่ๆ เกิดขึ้น ก็ให้รู้ทันว่า เรื่องราวเหล่านี้ มันไม่ได้อยู่กับเราจนวันตาย ดังนั้น อย่าไปเสียเวลาคิดมาก อย่าไปย้ำคิดย้ำทำ อย่าไปหลงยึดไว้เกินความจำเป็น ให้รู้จักธรรมชาติของมัน การยึดติดกับวัตถุ บุคคล หรือความรู้สึกจนเกินเหตุ คือปัจจัยสำคัญอันดับต้นๆ ที่ทำให้คนเราเกิดความทุกข์ ตรงนี้เป็นสิ่งที่เราต้องรู้ และต้องฝึกฝนตนเองให้เป็นคนปล่อยวางอะไรง่ายๆ เข้าไว้

6. ฝึกให้ตัวเองเข้าใจเรื่องของการนินทา หมายความว่า เราเกิดมาก็ต้องรู้ตัวว่า เราต้องถูกนินทาแน่นอน ดังนั้น เมื่อถูกนินทาขอให้รู้ว่า "เรามาถูกทางแล้ว" แปลว่า เรายังมีตัวตนอยู่บนโลก คนที่ชอบเต้นแร้งเต้นกา กับคำนินทาก็คือคนไม่รู้เท่าทันโลก แม้แต่คนเป็นพ่อแม่ก็ยังนินทาลูก คนเป็นลูกก็ยังนินทาพ่อแม่ นับประสาอะไรกับคนอื่น ถ้าเราห้ามตัวเองไม่ให้นินทาคนอื่นได้เมื่อไหร่ ค่อยมาคิดว่า เราจะไม่ถูกนินทา ขอให้รู้ว่า คำนินทาคือของคู่กับมนุษย์โลก มีมาช้านานแล้ว แม้แต่พระพุทธเจ้า นักบุญ คนที่สร้างคุณงามความดีไว้กับโลกมากมายยังถูกนินทา แล้วเราเป็นใครจะไม่ถูกนินทา ดังนั้น อย่าไปใส่ใจให้มาก ถ้าอะไรที่ดีเก็บไว้ปรับปรุงตัว อะไรที่ไม่ดี ทิ้งมันไว้ไม่ต้องไปตีคราคาสร้างค่าให้คำพูดไร้สาระ ส่วนตัวเราเอง ก็สมควรอย่างยิ่งที่จะต้องฝึกตนเองให้เป็นผู้ไม่นินทาคนอื่นเช่นกัน

7. ฝึกให้ตัวเองพ้นไปจากความเป็นขี้ข้าของเงิน หมายความว่า เราต้องหัดพอใจกับสิ่งที่ตัวเองมีอยู่ รถยนต์ใช้อะไรอยู่ ก็หัดพอใจกับมัน นาฬิกาใช้อะไรอยู่ ก็หัดพอใจกับมัน เสื้อผ้าใช้อะไรอยู่ ก็หัดพอใจกับมัน การที่คนเราจะเลิกเป็นขี้ข้าเงินได้ ต้องเริ่มจากการรู้จักเพียงพอก่อน เมื่อรู้จักพอแล้ว ก็ไม่ต้องหาเงินมาก เมื่อไม่ต้องหาเงินมาก ชีวิตก็มีโอกาสทำอะไรที่มากกว่าการหาเงิน การยุติความเป็นขี้ข้าของอำนาจเงินนี้ พูดง่ายแต่ทำยาก แต่ก็ต้องทำ เพราะถ้าไม่ทำ ชีวิตทั้งชีวิตของเรา ก็จะเป็นชีวิตที่เกิดมาแล้วตายไปเปล่าๆ ด้วยเหตุที่ว่า ใช้เวลาหมดไปกับการสะสมเงินทองที่เอาไปไม่ได้แม้แต่บาทเดียว

8. ฝึกให้ตัวเองเสียสละ และยอมเสียเปรียบ หมายความว่า การที่คนๆ หนึ่งยอมเสียเปรียบผู้อื่นบ้าง เป็นเรื่องจำเป็น ใครก็ตามที่บ้าความถูกต้อง บ้าเหตุบ้าผล ไม่ยอมเสียเปรียบอะไรเลย ไม่ช้า คนๆ นั้นก็จะเป็นบ้าสติแตก กลายเป็นคนที่ถูกทุกอย่างแต่ไม่มีความสุข เพราะต้องสู้รบกับคนรอบข้างเต็มไปหมดเพื่อความถูกต้องที่ตนเองยึดมั่นถือมั่น ซึ่งส่วนใหญ่มันก็เป็นเพียงความถูกต้องที่กิเลสของตัวเองลากไป ไม่ได้เป็นเรื่องที่ถูกต้องตรงธรรมอย่างแท้จริง ดังนั้น การยอมเสียเปรียบ การให้ผู้อื่นด้วยความเบิกบานจึงเป็นสิ่งจำเป็นมากกว่าที่เราคิดกัน มีแรงให้เอาแรงช่วย มีเงินให้เอาเงินช่วย มีความรู้ก็เอาความรู้เข้าไปช่วย ในหนึ่งวัน เราควรถามตัวเองว่า วันนี้เราได้ช่วยใครไปแล้วหรือยัง เราได้เสียเปรียบใครหรือยัง ถ้าคำตอบคือ "ยัง" ให้รู้เอาไว้เลยว่า เราเป็นอีกคนที่มีแนวโน้มจะหาความสุขได้ยากเต็มที
9. ฝึกตัวเองให้เป็นแสงสว่างในที่มืด หมายความว่า ตรงไหนที่มันมืด เราควรไปเป็นดวงไฟส่องทางให้เขา ตรงไหนที่ไม่มีคนช่วย เราควรไปทำ เช่น ลองหาเวลาไปรับประทานอาหารร้านที่ไม่มีลูกค้าเข้า อย่ามุ่งแต่เรื่องกิน ให้การกินของเรามันเป็นการช่วยเหลือผู้อื่นบ้าง ร้านเขาไม่มีลูกค้า แล้วเราเข้าไปนั่ง มันไม่ใช่แค่เงิน แต่มันหมายถึงกำลังใจ อย่าคิดถึงการบริการที่ดีที่สุด อย่าคิดถึงรสชาติของอาหารให้มากนัก ให้คิดว่า เรากำลังเป็นผู้ให้ เดินเข้าร้านหนังสือ หนังสือเล่มไหน เก่าที่สุด เราอ่านเนื้อหาแล้วสนใจ หยิบมันขึ้นมาแล้วจ่ายเงิน นำมันกลับบ้าน เหลือหนังสือเล่มสวยๆ ไว้ให้คนอื่นๆ ได้ซื้อได้อ่าน อย่าไปบ้ากับการเก็บสิ่งที่ดีที่สุด อย่าไปบ้ากับการปรนเปรอสิ่งที่ดีที่สุดให้ตนเอง แต่ให้เน้นจิตใจที่ดีที่สุด ใช้วัตถุ ใช้เงินเป็นเครื่องมือในการซื้อจิตใจดีๆ สูงๆ สะอาดๆ ของเรากลับคืนมา วัตถุเป็นเรื่องไม่จีรัง แต่จิตใจดีๆ นั้นเป็นทั้งหมดของชีวิต เป็นสิ่งสำคัญที่เราต้องรู้จักรักษาดูแลเอาไว้ไม่ให้เกิดความเสียหาย

10. ฝึกให้ตัวเองไม่ไหลไปตามอำนาจวัตถุนิยม หมายความว่า ต้องรู้จักยับยั้งช่างใจ และมีปัญญาในการมองเห็นว่า อะไรคือสิ่งจำเป็น อะไรคือสิ่งที่เราถูกโฆษณาหลอก เรากำลังเป็นตัวของตัวเอง หรือเรากำลังบ้ากระแสสังคมอย่างไม่ลืมหูลืมตา ลดความจำเป็นเรื่องแฟชั่น ลดความจำเป็นเรื่องโทรศัพท์ ลดความจำเป็นเรื่องสิ่งของเครื่องใช้ ก่อนจะซื้อ ก่อนจะอยากได้ ให้ลองถามตัวเองว่า เราอยากได้เพราะอะไร เพราะมันจำเป็น เพราะอยากเท่ อยากดูดีในสายตาของอื่น หรือเพราะอะไรกันแน่ๆ ตอบตัวเองให้ได้ชัดๆ ในเรื่องของความจำเป็นนี้ พูดได้เลยว่า ของในชีวิตส่วนใหญ่ที่เราครอบครองกันอยู่
มีไว้โชว์ มากกว่ามีไว้ใช้

11. ฝึกให้ตัวเองยอมรับความจริงง่ายๆ หมายความว่า อะไรที่ทำผิด อย่าดันทุรัง ให้พูดคำว่า ขอโทษครับ ขอโทษค่ะ ขอบคุณครับ ขอบคุณค่ะ ฝึกพูดคำเหล่านี้ให้เป็นเรื่องปกติ ความผิดไม่ใช่เรื่องเสียหาย แต่การผิดแล้วไม่ยอมรับผิดนั้นเป็นเรื่องเสียหาย และส่งผลเสียกับชีวิตเป็นวงกว้าง เพราะการปรับปรุงตัวนั้นมีจุดเริ่มต้นจากการที่คนๆ หนึ่งรู้ตัวว่าทำไม่ดี ดังนั้นคนที่ไม่รู้ตัวว่าตัวเองทำไม่ดีแล้วดันทุรัง ก็คือคนที่ไม่มีโอกาสปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้น ขอให้รู้ว่า เมื่อเราทำผิด ต่อให้ปากแข็งแค่ไหน ดันทุรังแค่ไหน ผิดมันก็คือผิด หลอกตัวเองได้ แต่หลอกคนอื่นไม่ได้ เหมือนเราบอกว่า ไม่เหม็น แต่กลิ่นเหม็นนั้น ถ้ามันมีจริงมันก็โชยออกมาอยู่วันยังค่ำ

12. ฝึกให้ตัวเองรู้จักเลือกคนต้นแบบที่ถูกต้องตรงธรรม หมายความว่า เมื่อคิดจะเลือกใครสักคนมาเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต อย่าไปมุ่งเน้นแต่ความสำเร็จด้านเงินทองเพียงอย่างเดียว แต่เราควรให้ความสำคัญกับคุณค่าในด้านอื่นๆ ด้วยเช่น ความดี คุณธรรม ความเสียสละ เราควรเคารพและชื่นชมใครซักคนที่ความดีของเขาไม่ใช่รายได้ของเขา ทุกวันนี้ คำว่าความสำเร็จถูกใช้ไปกับเรื่องของเงินๆ ทองๆ มากเกินไป ใครหาเงินได้มาก แปลว่า คนๆ นั้นประสบความสำเร็จมาก ตรงนี้เป็นการให้คุณค่าที่ผิดพลาด การคิดเช่นนี้ย่อมเป็นการปลูกฝั่งค่านิยมในระดับจิตวิญญาณที่ทำให้เราให้ตกเป็นทาสของเงิน เมื่อเราเป็นทาสของเงินเสียแล้ว เราก็จะเป็นคนที่ฝากความสุขของเราไว้กับเงินด้วย เราเลือกต้นแบบอย่างไร ชีวิตของเราก็จะมุ่งหน้าไปทางนั้น สังคมจะดีขึ้นได้ก็เริ่มจากทัศนคติของเราตรงนี้นั่นเอง
13. ฝึกให้ตนเองเป็นคนไม่ทะเลาะกับคนใกล้ชิด หมายความว่า เราต้องไม่เป็นคนหน้าชื่นอกตรม คือยิ้มไปทั่วกับคนนอกบ้าน แต่กลับมาทะเลาะกับคนที่บ้าน ขอให้ใช้คนที่บ้านเป็นเครื่องมือฝึกจิตใจของตนเอง อะไรที่ยอมได้ก็ขอให้ยอม เสียเปรียบคนในครอบครัวให้มากที่สุด ดีกับเขาให้เหมือนเขาเป็นคนเดียวกับเรา อย่าเป็นคนที่ไม่ได้เรื่องนอกบ้าน แต่กลับมาเก่งในบ้าน เพราะมันจะสร้างแต่ความทุกข์ให้ชีวิต ครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตคนเรา ถ้าหาความสุขจากครอบครัวไม่ได้ ความสุขที่อื่นก็ไม่ต้องพูดถึง ต่อให้หลอกคนทั้งโลกได้ว่าชีวิตประสบความสำเร็จ แต่ภาพที่สร้างขึ้นมา ก็เป็นแค่ภาพลวงตาที่จะย้อนกลับมาสร้างความละอายใจให้ตัวเองอยู่วันยังค่ำ ยอมพ่อแม่ ยอมลูกเมีย ยอมสามี ยอมคุณตาคุณยายคุณปู่คุณย่า สิ่งดีๆ ที่ทำแล้วชื่นใจก็ขอให้ทำให้บ่อย คำพูดดีๆ ที่พูดได้ก็ขอให้พูด ครอบครัวคือรากของมนุษย์ ถ้ารากของชีวิตเน่า ส่วนที่เหลือก็เน่าทั้งหมด

14. ฝึกตัวเองให้เข้าใจคำสอนของศาสนาตน หมายความว่า เรานับถือศาสนาอะไรอยู่ ก็ต้องเข้าใจคำสอนของศาสนานั้น แม้ทำตามคำสั่งสอนยังไม่ได้ แต่ก็ต้องเข้าใจถึงแก่นแท้ ขอให้ถามตัวเองว่า ทุกวันนี้ หัวใจของศาสนาตัวเองคืออะไร เรารู้แล้วหรือยัง หยิบกระดาษขึ้นมาหนึ่งแผ่น แล้วลองเขียนดู ถ้าไม่รู้ว่าจะเขียนอะไรลงไป ก็แปลว่า เราไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับศาสนาของเรา อย่าหลอกตัวเองว่าเรารู้แล้ว ถ้าไม่มีอะไรจะเขียน นึกเรื่องจะเขียนไม่ออก ก็แปลว่าเราไม่รู้ เรียบเรียงไม่ได้ ความคิดยังไม่ตกผลึกทั้งๆ ที่นับถือศาสนานี้มาแล้วชั่วชีวิต ย่อมหมายความว่า เราเป็นคนไม่ใส่ใจในศาสนาตนเองเท่าที่ควร ไม่ต้องไปตกใจหรือรู้สึกผิดบาป ทุกอย่างแก้ไขได้ ขอให้รีบปรับปรุงตัวเสียแต่วันนี้ก็ยังไม่สาย ศาสนาเป็นรากของจิตวิญญาณ ไม่ใช่สิ่งที่เราจะทิ้งๆ ขว้างๆ แล้วค่อยไปใส่ใจในวัยชรา เพราะถึงเวลานั้น ก็คงไม่ทันการแล้ว

15. ฝึกตัวเองให้ค่อยๆ ทำตามสิ่งที่ศาสนาของตนสั่งสอนจนสำเร็จ หมายความว่า เมื่อรู้ว่าศาสนาของตนสอนอะไร ก็ขอให้ทำ ทำด้วยความเบิกบาน ไม่จำเป็นต้องทำได้ทั้งหมด แต่ขอให้ทำเรื่อยๆ ทำให้ดีขึ้นทุกวัน อย่างน้อย ในแง่ของศีลธรรมก็ควรจะทำให้ได้ อย่างน้อยที่สุด ก็ขอให้อายตัวเองเมื่อคิดจะพูดโกหก เมื่อจะเบียดเบียนผู้อื่น เมื่อจะทำสิ่งที่ไม่ถูกต้องตรงธรรม บุคคลในอุดมคติของแต่ละศาสนาไม่ได้เป็นกันง่ายๆ แต่ถ้าไม่เริ่มก็ไม่มีโอกาสไปถึง สำหรับคนที่ไม่มีศาสนา หรือไม่นับถืออะไร ก็ขอให้นับถือความดี ซื่อสัตย์กับความดี
คาถาง่ายๆ ที่สำหรับผู้ไม่มีศาสนาก็คือ
"เราไม่ชอบสิ่งไหนก็อย่าไปทำสิ่งนั้นกับคนอื่น"
ส่วนศีลสำหรับคนไร้ศาสนานั้นมีอยู่เพียงข้อเดียวนั่นก็คือ
"อย่าขโมยความดีไปจากจิตใจของตนเอง"
คาถาหนึ่งบท กับศีลหนึ่งข้อ ถ้าทำได้ แม้เป็นคนไม่มีศาสนา ก็ไม่เป็นภาระต่อโลกในนี้ เรียกได้ว่าเป็นพลเมืองที่ดีของโลกและเพื่อนมนุษย์แล้วโดยสมบูรณ์
วิธีหาความสุขทั้ง 15 ข้อนี้คือสิ่งที่ทำได้ทันที แบบไม่ต้องรีรอ ไม่ใช่เรื่องยากหรือง่าย อยู่ที่จะทำหรือไม่ทำ ข้อไหนสะดวกใจให้ทำก่อน ข้อไหนรู้สึกว่ายากก็เว้นเอาไว้ ค่อยๆ ทำไปเรื่อยๆ เก็บไปทีละข้อ
จนครบทั้ง 15 ข้อ ถึงแม้คุณไม่ได้บรรลุธรรมแต่คุณก็จะเป็นบุคคลที่ทรงคุณค่าที่สุดคนหนึ่งทีเดียว และหากใครเบื่อการเวียนว่ายตายเกิด เมื่อทำทั้ง 15 ข้อนี้ได้ก็มีโอกาสบรรลุเป็นอริยบุคคลขั้นใดขั้นหนึ่งในชาติปัจจุบัน เปรียบเหมือนคนที่เตรียมความพร้อมมาดี เพียงเติมส่วนที่ขาดเล็กน้อยก็บรรลุถึงฝั่งฝันได้ไม่ยาก
ขอให้ทุกคนสนุกกับการหาความสุขให้ตนเองในแบบง่ายๆ
ยิ้มทุกวัน มองฟ้าให้เป็นฟ้า
มีปัญญาสามารถเปลี่ยนโลกแห่งนี้
ให้เป็นสวนดอกไม้แห่งชีวิตได้สำเร็จกันทุกคน...ด้วยความปรารถนาดี จากใจที่สงบสุข














วันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การทำจิตให้กลับมาอยู่กับตนเอง

การทำจิตให้กลับมาอยู่กับตนเอง คือการทำจิตให้สงบนิ่ง


คนทุกวันนี้ มีจิตที่ไม่อยู่กับตนเองเสียเป็นส่วนใหญ่ จึงหาความสงบนิ่งไม่ได้ มีความทุกข์เกิดในใจอยู่เสมอๆ ก็เพราะการขาดสติ เป็นสิ่งสำคัญ จิตจึงส่งออกไปกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทางกาย ที่ชวนให้รัก,ชักให้ใคร่,พาใจให้ไหลหลง, รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทางกาย จึงจัดเป็นวัตถุแห่งกาม คือพัสดุอันน่าใคร่ เมื่อ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ มากระทบสัมผัสสิ่งเหล่านี้ ก็ทำให้เกิดความรู้สึกยินดียินร้ายบ้าง,ความรู้สึกพอใจหรือความรู้สึกไม่พอใจบ้าง, จึงทำให้จิตของเราเกิดกิเลสกาม คือกิเลสเป็นเหตุให้เกิดความใคร่ได้แก่ความอยาก เกิดเป็นบาปอกุศลจิต มีความไม่สบายใจ ความเศร้าหมองใจเป็นทุกข์เกิดขึ้น ยิ่งมีความปารถนาในสิ่งใด หรือไม่ปารถนาในสิ่งใด การได้เห็นสิ่งนั้นๆ ยิ่งทำให้เกิดความทุกข์ เพราะการได้เห็นสิ่งนั้นๆด้วยความรู้สึกยินดียินร้าย ยิ่งจะไปกระตุ่นความจำในจิตใต้สำนึก ให้เกิดความนึกคิดปรุงแต่งให้เกิดความทุกข์ใจกลับมาอีก มันจะเป็นอยู่อย่างนี้ตลอดเวลา ถ้าเราไม่ได้ฝึกให้จิตของตนมีสติ รู้ปล่อยวางในอารมณ์ยินดียินร้ายเสีย ความสงบสุขก็ยากจะเกิดขึ้นได้

ถ้าท่านทั้งหลาย ถ้าท่านรักสุขเกลียดทุกข์ ไม่ควรปล่อยให้จิตของตนส่งออกไป ควรทำจิตของตนให้กลับมาอยู่กับตน ด้วยการเจริญสติไว้ เพื่อให้จิตของตนมีความสงบนิ่งอยู่กับตน ด้วยการเจริญภาวนาในธัมมะภาวนาอยู่เสมอๆ ในชีวิตประจำวันควรเจริญในธัมมะภาวนาว่า “อย่ายินดียินร้าย...อย่าว่าร้ายใคร...อย่าคิดร้ายใคร...” สติ คือความระลึกได้ในหัวข้อธัมมะ ก็จะเกิดขึ้น จะมีสติรู้ปล่อยวางในอารมณ์ยินดียินร้ายที่เป็นบาปอกุศลออกเสียได้ เมื่อมีสติเกิดได้บ่อยๆ ก็จะทำให้จิตของตนมีความสงบนิ่ง ไม่ส่งออกไป จิตของตนก็กลับมาอยู่กับตนในฐานที่มั่นในจิต คือเป็นสมถะกรรมฐาน มีความสงบนิ่งเป็นสุข เป็นบุญคือความสบายใจ เป็นกุศลคือมีความผ่องใส จัดเป็นอธิจิต และทำให้เกิดตาปัญญา คือรู้สภาวธรรมตามความเป็นจริงเป็นวิปัสสนา จัดเป็นอธิปัญญา จะทำให้มีสติในการดำเนินชีวิต มีการพูดจาชอบ,การทำการงานชอบ,การเลี้ยงชีวิตชอบ, จัดเป็นอธิศีล ตามในอริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ ทำให้มีความสุขทั้งชาตินี้ และชาติหน้า และสุขอย่างยิ่งคือนิพพาน ดังนี้

โดยหลวงพ่ออุดม มหาปุญโญ วัดป่าหนองเลง

กรรมกำหนดชีวิต

กรรมกำหนด ให้ชีวิตทุกชีวิตมีความเป็นไปทั้งสุขและทุกข์


คนเราเกิดมาทุกๆคนจะต้องพบ จะต้องเจอปัญหาชีวิตด้วยกันเกือบทุกคน ไม่ว่าจะอยู่ในสถานะไร จะมั่งมีหรือยากจน ไม่ว่าในด้านการงาน การเงินการเรียนการศึกษา ปัญหาทางครอบครัวและญาติมิตร ปัญหาชีวิตในด้านความรักความพลัดพราก ความเจ็บป่วยด้วยสาเหตุต่างๆ ปัญหาความเป็นอยู่และอีกมากมายจนพรรณนาไม่หมด ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะ คนเราเกิดมาจากกรรมหรือกรรมกำหนด คือการที่เราได้กระทำกรรมไว้แล้วแต่อดีตชาติบ้าง จากปัจจุบันชาติบ้าง มาส่งผลให้ชีวิตมีความเป็นไปต่างๆนาๆ มีเกิดสุขบ้างและมีเกิดทุกข์บ้าง สิ่งที่เรากำลังเผชิญความเป็นอยู่ในปัจจุบันนี้จึงเรียกว่าวิบาก ซึ่งเป็นเศษกรรมเก่ามาส่งผล(กรรมหนักเราได้ชดใช้ในนรกมาแล้ว) ถ้าเราต้องพบกับปัญหาชีวิต ดังที่กล่าวมาแล้ว ก็ขอให้เราอย่าท้อถอย ขอให้เข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตของเราแม้ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทางกาย ต่างๆ ที่เราต้องเจออยู่ทุกวัน ก็ยังจัดเป็นส่วนหนึ่งของวิบากกรรมเก่า ที่เราจำต้องรับรู้อยู่ทุกวัน อันเป็นเหตุให้เราเกิดความสุขหรือความทุกข์ได้ ถ้าเราไม่ยอมรับและเข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้นต่อเราก็จะเกิดทุกข์ ถ้าเราเข้าใจและยอมรับมันอย่างมีสติ เราก็ไม่ต้องแบกทุกข์ เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นจัดเป็นหนี้เก่า ที่เราได้ทำไว้เองแต่อดีตชาติบ้างปัจจุบันชาติบ้าง เป็นเหตุ

ดังพุทธศาสนาสุภาษิตมีกล่าวไว้ว่า

สเจ ปุพฺเพกตเหตุ สุขทุกขํ นิคจฺฉติ
โปราณกํ กต ปาปํ ตเมโส มุญฺจเต อิณํ.

ถ้าประสพสุขทุกข์ เพราบุญบาปที่ทำไว้ก่อนเป็นเหตุ
ชื่อว่าเปลื้องบาปเก่าที่ทำไว้ ดุจเปลื้องหนี้ฉะนั้น.

ปัจจุบันกรรมจึงเป็นสิ่งสำคัญ ด้วยการเจริญสติจะช่วยได้ จึงควรท่องธัมมะภาวนาไว้ในใจอยู่เสมอๆ จะทำให้เรามีสติรู้ปล่อยวางในอารมณ์ หรือรู้ปล่อยวางความรู้สึกยินดียินร้าย หรืออาการอิน ที่เป็นบาปอกุศลจิตเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ เมื่อเราได้ฝึกฝนในการท่องธัมมะภาวนาไว้ตลอดเวลา ในชีวิตประจำวันไม่ว่าจะทำอะไรอยู่มี ยืน เดิน นั่ง นอน ดื่ม กิน ทำ พูด คิด ก็ยิ่งจะทำให้เราเกิดสติได้เร็วรู้ปล่อยวางได้ไว มีจิตที่บุญกุศล จะทำไม่ให้เกิดความยึดมั่นถือมั่น ปัญหาชีวิตที่เราต้องเผชิญอยู่จะได้ไม่มาทำให้เราเกิดความทุกข์หนักได้ เพราะการมีสติ จะทำให้เรามีปัญญารู้พิจารณาถึงความเป็นจริงได้ ทำให้เข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้นต่อชีวิต ว่าเกิดจากวิบากกรรมเก่าของเราเอง มาส่งผลให้เป็นไปต่างๆนาๆ เพราะเราเคยเป็นหนี้เค้า ดังพุทธศาสนาภาษิตที่ได้ยกมากล่าวไว้นั้น ความทุกข์ก็จะลดน้อยลงไปได้ เพราะความที่จิตมีสติ รู้ปล่อยวางในอารมณ์ไม่ยินดียินร้ายที่เป็นบาปอกุศล จิตก็จะสงบนิ่ง จิตไม่ส่งออกไปยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่รู้ที่เห็นมานึกคิดปรุงแต่งให้เกิดทุกข์ และจิตที่มีความเป็นกุศลธรรม ก็จะเป็นธรรมคุ้มครองตน ไม่ให้วิบากร้ายบางอย่างมาส่งผลให้กับชีวิตของเราได้ด้วย ดังนี้.

คาถาไว้บริกรรมหรือท่องธัมมะภาวนาคือ “อย่ายินดียินร้าย...อย่าว่าร้ายใคร...อย่าคิดร้ายใคร...”เพื่อให้เกิดสติรู้ปล่อยวางในอารมณ์ จะทำให้ดับทุกข์ในใจของเราได้.

โดยหลวงพ่ออุดม มหาปุญโญ วัดป่าหนองเลง

ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นมรรค

ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นมรรค อันเอกอุกฤษฏ์

เดินทางนี้ตรงไปสู่ความดับทุกข์ได้แน่ อันพระอริยเจ้าทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้า เป็นต้น ได้ดำเนินมาสำเร็จตามปรารถนามาแล้วทุกๆ พระองค์ มรรค ๘ เป็นทางดำเนินด้วยใจ ถึงแม้จะแสดงออกมาให้เป็นศีล ก็แสดงศีลในองค์มรรคนั่นเอง

มรรคแท้มีอันเดียว คือ สัมมาทิฏฐิ อีก ๗ ข้อเบื้องปลายเป็นบริวารบริขารของสัมมาทิฏฐิทั้งนั้น หากขาดสัมมาทิฏฐิตัวเดียวเสียแล้ว สัมมาสังกัปปะเป็นต้น ย่อมเป็นไปไม่ได้

เช่น ปัญญาพิจารณาเห็นความทุกข์ตามเป็นจริงว่า มนุษย์สัตว์ทั้งหลายที่เกิดมาในโลกนี้ย่อมถูกทุกข์คุกคามอยู่ตลอดเวลา โลกนี้จึงเป็นที่น่าเบื่อหน่ายเห็นเป็นภัย แล้วก็ดำริตริตรองหาช่องทางที่จะหนีให้พ้นจากกองทุกข์ในโลกนี้

การดำริเช่นนั้นก็เป็นผลสืบเนื่องมาจาก สัมมาทิฏฐิ ปัญญาอันเห็นชอบนั่นเอง การดำริที่ชอบที่ถูกนั้นก็เป็นสัมมาวาจาอยู่แล้ว เพราะวาจาจะพูดออกมาก็ต้องมีการตริตรองก่อน การตริตรองเป็นศีลของอริยมรรค การพูดออกมาด้วยวาจาชอบเป็นศีลทั่วไป

การงานของใจ คือ ดำริชอบ วาจาชอบ อยู่ภายในใจ เป็นการงานของอริยมรรคผู้ไม่ประมาท ดำเนินชีวิตเป็นไปในอริยมรรคดังกล่าวมาแล้วนั้น ได้ชื่อว่าความเป็นอยู่ชอบของผู้นั้น ผู้พยายามดำเนินตามอริยมรรคดังกล่าวมาแล้ว โดยติดต่อกันตามลำดับไม่ขาดสายได้ชื่อว่ามีความเพียรชอบในมรรคทั้งแปด

๖ ข้อเบื้องต้นมีความเห็นชอบเป็นต้น มีความพยายามชอบเป็นที่สุด หากขาดสัมมาสติ ตั้งสติชอบเสียแล้ว จะเดินไปให้ถึงสัมมาสมาธิไม่ได้เลย เหมือนทางที่ไม่ติดต่อเชื่อมกัน จะนำยานพาหนะไปตลอดทางได้อย่างไร

องค์สุดท้ายคือสัมมาสมาธิ ยิ่งเป็นกำลังใหญ่สนับสนุนให้องค์มรรคนั้นๆ มีกำลังกล้าหาญที่จะไม่ท้อถอยในหน้าที่ของตนๆ พึงสังเกตดูเถิดว่า นักปฏิบัติโดยมาก หากสมาธิไม่มั่นคงแล้วมักไปไม่รอด ปัญญาสัมมาทิฏฐิเป็นผู้ส่องทางให้เห็นทางเดินก็จริง แต่เมื่อสติกับสมาธิอ่อนกำลังลงแล้ว ปัญญาอาจกลายเป็นสัญญาเป็นสังขารไปโดยไม่รู้ตัวก็ได้





ที่มา : สามทัพธรรม หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

การทำให้จิตมีความสงบสุขและนิ่ง

การทำให้จิตมีความสงบสุขและนิ่ง สามารถทำได้ในชีวิตประจำวัน


ชีวิตประจำวันของคนในยุคนี้ มีแต่เรื่องต้องรู้ ต้องเห็นอะไรต่อมิอะไรมากมาย แล้วทำให้จิตเกิดความหวั่นไหวสับสนวุ่นวาย หาความสงบสุขไม่ค่อยได้ เพราะสิ่งที่ได้รู้ได้เห็นคือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทางกาย ที่ชวนให้รัก, ชักให้ใคร่, พาใจให้ไหลหลง, ทำให้เกิดมีความรู้สึกยินดียินร้ายบ้าง,ความรู้สึกพอใจหรือไม่พอใจบ้าง,ความรู้สึกชอบใจหรือไม่ชอบใจ, ความรู้สึกเหล่านี้เป็นบาปคือความไม่สบายใจ เป็นอกุศลคือความเศร้าหมองใจ จึงหาความสงบสุขและนิ่งได้ยาก เพราะบาปอกุศลคือกิเลสความอยาก เป็นโลภะจิต โทสะจิต และโมหะจิต ที่ทำให้จิตไม่สงบนิ่ง เกิดอัตตาคือความยึดมั่นถือมั่น และอคติคือความลำเอียงมองคนในแง่ร้าย

แต่ถ้าเราอยากให้จิตของเราเกิดความสงบสุขและนิ่ง จึงจำเป็นจะต้องมีความเพียรชอบในการดำริชอบคือการคิดเห็นหัวข้อธรรมะอยู่ในใจไว้เสมอตลอดเวลาของชีวิตประจำวัน หัวข้อธรรมะในการที่จะนำมาดำริชอบคือการคิดเห็นในใจ หรือเป็นธัมมะภาวนาคือ “อย่ายินดียินร้าย...อย่าว่าร้ายใคร...อย่าคิดร้ายใคร...” เพื่อสร้างความรู้ตัวไว้ในจิตใต้สำนึกให้มากๆ อย่างน้อยให้ได้ ๓๐ ครั้งต่อวันเพื่อเป็นเหตุ จะทำให้จิตมีสติรู้สกัดกั้นไม่ให้จิตเกิดบาปอกุศล หรือเป็นจิตรู้ปล่อยวางในอารมณ์โดยอัตโนมัติเป็นผล เมื่อเราได้ฝึกจิตให้มีสติรู้ปล่อยวางในอารมณ์ได้มากๆ จิตของเราก็เกิดความสงบสุขและนิ่งจัดเป็นบุญกุศลจิต(เป็นอธิจิต และเป็นสมถะกรรมฐาน) ก็จะเกิดตาปัญญารู้และเข้าใจในธรรมะต่างๆหรือสภาวธรรมได้(เป็นอธิปัญญา และเป็นวิปัสสนากรรมฐาน)

ดังที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสไว้ว่า “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นได้ชื่อว่าเห็นเราพระตถาคต”

การดำริชอบและความเพียรชอบ เป็นองค์ธรรมในอริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงทำตามจนเห็นผลแล้วจึงได้นำมาประกาศสั่งสอนให้ชาวโลกให้ได้รับรู้และทำตามพระพุทธองค์ดังมีกล่าวไว้ในธรรมจักรกัปปวัฒนสูตร ที่ไม่จำเป็นจะต้องหนีออกจากสังคมเพื่อปฏิบัติธรรม ในชีวิตประจำวันของเราก็สามารถนำเอามาปฏิบัติธรรมใช้ได้ทุกๆคน และเห็นผลได้ทุกๆคน อย่าปฏิเสธว่าทำไม่ได้ ถ้าปฏิเสธเช่นนั้นก็จะไม่ได้พบกับพระพุทธศาสนาอีกเลยในอนาคต จัดเป็นคนมืดบอดเป็นโมฆะบุรุษกินบุญเก่าหมดไปวันๆ เมื่อเราได้ทำตามแล้วด้วยการดำริชอบและมีความเพียรชอบแล้ว องค์ธรรมอื่นในอริยมรรคก็จะเกิดขึ้นตามมาให้ผลในชีวิตของเรา เช่นการพูดจาชอบ,การทำการงานชอบ,การเลี้ยงชีวิตชอบ,(เป็นอธิศีล) บุญกุศลที่ได้ทำไว้แล้วนี้ จะทำให้มีความเจริญรุ่งเรื่อง มีสุขในชาตินี้ มีสุขในชาติหน้า และสุขอย่างยิ่งคือพระนิพพาน ดังนี้.



โดยหลวงพ่ออุดม มหาปุญโญ วัดป่าหนองเลง

หลวงปู่มั่นเล่าเรื่องพระธาตุพนม

หลวงปู่มั่นเล่าเรื่องพระธาตุพนมให้หลวงพ่อวิริยังค์ฟัง



~ ท่านอาจารย์มั่น ฯได้เล่าขณะที่ข้าพเจ้าทำหมากถวายท่านเวลากลางวันต่อไป
อีกว่า พวกเราก็ต้องเดินทางหลังจากออกพรรษาแล้ว รอนแรมตามฝั่งแม่น้ำโขงเรื่อยลงมา ณ ตามฝั่งแม่น้ำโขงนั้นก็มีหมู่บ้านเป็นหย่อมๆ หลายก๊ก เช่น ภูไท ไทยดำ ลาวโซ่ง

~ท่านเล่าว่า~

ภูไทมีศรัทธาดีกว่าทุกก๊ก แต่ภูไทนี้การภาวนาจิตใจอ่อน รวมง่าย รักษาไม่ใคร่เป็น ส่วนลาวโซ่งนั้นไม่ใคร่เอาไหนเลย แต่ทุก ๆ ก๊กก็ทำบุญนับถือพุทธทั้งนั้น เขาให้พวกเราได้มีชีวิตอยู่ก็นับว่าดี แต่ขณะนี้ตัวของเราเองก็ยังมองไม่เห็นธรรมของจริง ยังหาที่พึ่งแก่ตนยังไม่ได้ จะไปสอนผู้อื่นก็เห็นจะทำให้ตัวของเราเนิ่นช้า จึงไม่แสดงธรรมอะไร นอกจากเดินทางไป พักไป บำเพ็ญสมณธรรมไป ตามแต่จะได้
ครั้นแล้วท่านอาจารย์เสาร์ก็พาข้ามแม่น้ำโขงกลับประเทศไทย ที่ท่าข้ามตรงกับพระธาตุพนมพอดี

~ ท่านเล่าไปเคี้ยวหมากไปอย่างอารมณ์ดีว่า
ขณะนั้นพระธาตุพนมไม่มีใครเหลียวแลดอก มีแต่เถาวัลย์นานาชนิดปกคลุมจนมิดเหลือแต่ยอด ต้นไม้รกรุงรังไปหมด ทั้ง ๓ ศิษย์อาจารย์ก็พากันพักอยู่ที่นั้น เพื่อบำเพ็ญสมณธรรม ขณะที่ท่านอยู่กันนั้น พอตกเวลากลางคืนประมาณ ๔-๕ ทุ่ม จะปรากฏมีแสงสีเขียววงกลมเท่ากับลูกมะพร้าว และมีรัศมีสว่างเป็นทาง ผุดออกจากยอดพระเจดีย์ แล้วก็ลอยห่างออกไปจนสุดสายตา และเมื่อถึงเวลาก่อนจะแจ้ง ตี ๓-๔ แสงนั้นก็จะลอยกลับเข้ามาจนถึงองค์พระเจดีย์แล้วก็หายวับเข้าองค์พระเจดีย์ไป
ทั้ง ๓ องค์ศิษย์อาจารย์ได้เห็นเป็นประจักษ์เช่นนั้นทุกๆ วัน ท่านอาจารย์เสาร์ กนฺตสีลเถระ จึงพูดว่า "ที่พระเจดีย์นี้ต้องมีพระบรมสาริกธาตุอย่างแน่นอน"

~ในตอนนี้ผู้เขียนกับพระอาจารย์มั่น ฯ ได้เดินธุดงค์มาพักอยู่ที่วัดอ้อมแก้วมี ๒ องค์เท่านั้น และมีตาปะขาวตามมาด้วยหนึ่งคน ท่านจึงมีโอกาสเล่าเรื่องราวเบื้องหลังให้ข้าพเจ้าฟัง ซึ่งน่าจะเป็นประวัติศาสตร์ได้เป็นอย่างดี ผู้เขียนจำได้ว่าเป็นปีที่พระราชทานเพลิงศพพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีลเถระ คุณนายพวงจากจังหวัดอุบลราชธานี จะตีตั๋วให้ไปทางเครื่องบิน ท่านบอกว่า “เราจะเดินเอา” จึงได้พาผู้เขียนพร้อมด้วยตาปะขาวบ๊อง ๆ คนหนึ่งซึ่งไม่ค่อยจะเต็มเต็งเท่าไรนักไปด้วย เดินไปพักไป แนะนำธรรมะแก่ผู้เขียนไปพลาง จนไปถึงพระธาตุพนม เขตจังหวัดนครพนม แล้วท่านก็พาผู้เขียนพักอยู่ที่นี่และได้ฟังเรื่องราวของพระธาตุพนม ซึ่งจะได้เล่าสู่กันฟังต่อไปข้างหน้า โดยจะเล่าถึงการสถาปนาพระธาตุพนม

~ดังนั้น ท่านจึงได้ชักชวนญาติโยมทั้งหลายในละแวกนั้น ซึ่งก็มีอยู่ไม่กี่หลังคาเรือน และส่วนมากก็เป็นชาวนา ได้มาช่วยกันถากถางทำความสะอาดรอบบริเวณองค์พระเจดีย ์นั้น ได้พาญาติโยมทำอยู่เช่นนี้ถึง ๓ เดือนเศษๆ จึงค่อยสะอาด เป็นที่เจริญหูเจริญตามาตราบเท่าทุกวันนี้
เมื่อญาติโยมทำความสะอาดเสร็จแล้ว ท่านอาจารย์ก็พาญาติโยมในละแวกนั้นทำมาฆบูชา ซึ่งขณะนั้น ผู้คนแถวนั้นยังไม่รู้ถึงวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาแต่ อย่างใด ทำให้พวกเขาเหล่านั้นเกิดศรัทธาเลื่อมใสอย่างจริงจัง จนได้ชักชวนกันมารักษาอุโบสถ ฝึกหัดกัมมัฏฐานทำสมาธิกับท่านอาจารย์จนได้ประสบผลตา มสมควร การพักอยู่ในบริเวณของพระธาตุพนมทำให้จิตใจเบิกบานมาก และทำให้เกิดอนุสรณ์รำลึกถึงพระพุทธเจ้าได้อย่างดียิ่ง

วันจันทร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2556

พระธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต


พระธรรมเทศนาโดย...หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ลักษณะจิตที่หลุดพ้นนั้นมีลักษณะการหลุดพ้นต่างกัน จำแนกออกได้ 5 ประเภทคือ

๑. ตทงฺควิมุตฺติ คือ ความหลุดพ้นเป็นบางขณะ ได้แก่ ความหลุดพ้นที่เกิดจากความสงบของจิตในบางคราว หรืออาจเกิดจากการเจริญวิปัสสนาแล้วเห็นทุกข์ ทำให้จิตละสังขารเพียงบางครั้งบางคราว แต่ไม่เกิดปัญญา ไม่เกิดมรรค ที่จะทำลายกิเลสให้สิ้นไปได้ เพียงแต่ละได้ในบางครั้งบางคราวเป็นขณะ ๆ เท่านั้น

๒. วิกฺขมฺภนวิมุตฺติ จิตหลุดพ้นโดยการใช้สมาธิกดข่มจิตไว้ คือ การเข้าฌาณสมาบัติ ระงับจิตจากกิเลสชั่วคราว จัดเป็นโลกียวิมุติ เมื่อออกจากฌานสมาบัติ กิเลสก็เข้าเกาะกุมจิตได้อีก เป็นความหลุดพ้นที่ไม่เด็ดขาด เพราะมรรคไม่ประหารนั่นเอง

๓. สมุจฺเฉทวิมุตฺติ จิตหลุดพ้นโดยมรรคประหารกิเลส ขาดไปจากจิต เป็นการหลุดพ้นโดยเด็ดขาด คือ กิเลสขาดไปจากจิต ได้แก่ ผู้เจริญสมถวิปัสสนาจนเกิดมัคญาณประหารกิเลสในจิต
๔. ปฏิปสฺสทฺธิวิมุตฺติ จิตหลุดพ้นด้วยความสงบ คือ จิตสงบหลุดพ้นจากกิเลสเป็นผลเกิดจากมรรคประหาร

๕. นิสฺสรณวิมุตฺติ จิตหลุดพ้นโดยแล่นออกจากสังขารธรรม เป็นวิมุตฺติของผู้เจริญวิปัสสนา มีปัญญาเห็นตามความเป็นจริงว่า สังขารธรรมทั้งหลายไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ทำให้จิตหลุดพ้นแล่นออกจากความทุกข์ เข้าสู่นิพพาน เป็นธรรมชาติ หาเครื่องเสียบแทงไม่ได้
ลักษณะการหลุดพ้นของจิตทั้ง ๕ นี้ ตทงฺควิมุตฺติ และวิกฺขมฺภนวิมุตฺติ มักจะเกิดจากการเจริญสมถะอย่างเดียว ส่วนการหลุดพ้นแบบ สมุจฺเฉทวิมุตฺติ ปฏิปสฺสทฺธิวิมุตฺติ และนิสฺสรณวิมุตฺติ นั้น เกิดจากการเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป เป็นโลกุตฺตรวิมุตฺติ เพราะกิเลสถูกประหารไปจากจิต

โลกียสุขคือสุขทางโลกหาได้ยาก


โลกียสุขคือสุขทางโลกหาได้ยาก โลกุตตรสุขคือสุขทางธรรมหาได้ง่ายกว่า

ทุกวันนี้ชาวโลกเราต่างแสวงหาความสุข ในรูปแบบต่างๆ ที่บางครั้งก็ต้องเสี่ยงเป็นเสี่ยงตายเพื่อที่จะให้ได้มาซึ่งความสุข ความสุขเช่นนี้เรียกว่าโลกียสุขคือสุขทางโลก บางคนชอบเที่ยวไปในที่ต่างๆที่ให้ความตื่นเต้น บางคนชอบกินชอบดื่ม บางคนชอบเล่นการเล่น บางคนชอบเล่นการพนัน บางคนชอบชีวิตในยามราตรี สิ่งเหล่านี้ต้องอาศัยความรู้สึกทางอารมณ์ของกิเลสกามมีความโลภและความโกรธครอบงำ คือความยินดียินร้าย, ความชอบใจหรือความไม่ชอบใจ, ความพอใจหรือความไม่พอใจ, เป็นเครื่องชี้นำไปสู่การแสวงหาความสุขในทางโลก ต้องเหนื่อยกายเหนื่อยใจกว่าจะได้มาซึ่งความสุขแต่ละครั้ง ต้องแลกด้วยปัจจัยคือเงินทองและร่างกาย จึงว่าหาได้ยาก เพราะมีองค์ประกอบหลายอย่าง เช่นเงินทองเวลาและสถานที่

แต่ความสุขอีกอย่างคือโลกกุตตรสุข คือสุขทางธรรม ไม่ต้องเสียอะไรเลย จะอยู่ที่ไหนๆก็สามารถทำได้ตลอดเวลา ในชีวิตประจำวันที่อยู่กับการทำงาน ในการเดินทาง หรืออยู่บ้านก็ทำได้ตลอดเวลา ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ เพียงมีศรัทธาความเชื่อในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเท่านั้น นั่นก็คือการมีความเพียรชอบอยู่ในใจ ที่จะดำริชอบอยู่ในใจ ในการเจริญภาวนา ในธัมมะภาวนาว่า “ อย่ายินดียินร้าย...อย่าว่าร้ายใคร...อย่าคิดร้ายใคร...” เพื่อให้จิตของเราเกิดความรู้ตัวเอาไว้ในจิตใต้สำนึก อันเป็นเหตุให้จิตของเราเกิดสติ รู้สกัดกั้นอกุศลจิต ที่มีความโลภและความโกรธอยู่ด้วย หรือเป็นการรู้ปล่อยวางในอารมณ์ ที่ยินดียินร้าย, ที่พอใจหรือไม่พอใจ, ที่ชอบใจหรือไม่ชอบใจ, เมื่อเรามีสติรู้ปล่อยวางได้แล้ว ก็จะทำให้จิตของเราเป็นกุศลจิตเป็นบุญคือความสบายใจ มีความสุข ความสงบในใจ และยังทำให้เกิดอธิศีลคือรู้ในการไม่ทำผิด มีอธิจิตคือความสงบจากกิเลสกาม มีอธิปัญญาคือรู้ในสภาวธรรม ที่จะนำไปสู่ความเป็นอริยบุคคลได้ต่อไป ดังนี้.

โดยหลวงพ่ออุดม มหาปุญโญ วัดป่าหนองเลง

อานิสงส์ของการมีสัจจะ


            มีสองตายายเขาพากันเดินจงกรมบนนอกชานเรือนตอนเดือนหงาย ไอ้ขโมยมาลักควาย นี่เรื่องตก ๓๐ ปีแล้ว สองคนตายายเดินจงกรมที่นอกชานเดือนหงาย ถ้าไม่ได้ชั่วโมงไม่เลิก ต้องได้ชั่วโมง ก็ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ ช้าๆ ใครจะไปเหนือมาใต้ข้าไม่สนใจ ใครจะเรียกข้าก็ไม่รับปาก แหมเดินดี เดินจงกรมมีสัจจะว่าเดินหนึ่งชั่วโมง ความอยู่ใต้ถุน ขโมยมา ๔ คนก็มาลักควาย คนหนึ่งก็เฝ้าเจ้าของไว้ คนหนึ่งก็ไปเฝ้าทางปากตรอกไว้ คนหนึ่งตัดคอกใต้ถุนแล้วเอาควายออก มีความ ๓ ตัว ควายอ้วนๆ เอาควายไปแล้วเปิดเลย คนที่มันเฝ้าเจ้าของมันยังอยู่ สุนัขหลับหมด ไม่รู้มันใช้สะกดหรืออย่างไรเราก็ไม่ทราบ หรือดาวหมามันขึ้นเราไม่รู้ เรียนหรือเปล่าดาวหมาขึ้นลักขโมยตอนนั้น ถ้าไม่เรียนจะบอกให้เอาไหม ดาวหมาขึ้นหลับหมดเลย ลักของได้ตอนนั้นนะ

อานิสงส์การเดินจงกรม ความออกนอกบ้านไปแล้ว คนที่มันเฝ้าอยู่ใต้ถุนบ้านเจ้าของดูว่าเจ้าของจะตื่นหรือเปล่า เดือนมันหงายนี่มันก็อะไรไม่รู้ ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ เอ๊ะ ผีสิงหรือยังไง ก็เดินดูจนควายออกไปตั้งเยอะแล้ว ออกปากตรอกไปแล้ว เอ อะไรกัน นี่ ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ ขโมยที่เฝ้าคอกมันก็ถอยหลังเรื่อย มันอยากดู ถอยหลังมาเรื่อยๆ ถอยหลังออกมาจากใต้ถุนเรื่อยๆ ก็ดู อะไรกัน นึกว่าผีเรือนหรือยังไง เพราะไปลักควายมาหลายเจ้าไม่เคยมีผีอย่างนี้ ขโมยไม่ได้เรียนเดินจงกรม ถ้าขโมยมาเรียนซะแล้วก็ไม่เป็นอะไรนะ จะได้รู้ว่าเขาเดินจงกรม มันไม่รู้นี่ ถอยๆ มาเหยียบเอาหมาเข้า หมาตื่นหมดบ้าน หมามีอยู่ ๑๐ ตัวเห่ากันใหญ่ เลยควายที่เอาไปแตกกันหมด ความไม่หาย นี่อานิสงส์เดินจงกรมนะ มีข้าวของอะไรไม่ต้องไปจ้างใครเขาเฝ้า สองคนตายายก็เดินจงกรมไปซี ถ้าไม่เดินก็หลับเลย อันนี้เรื่องจริงที่ผ่านมา ๓๐ ปีแล้ว

มีเรื่องแปลกอีกเรื่องหนึ่ง เรื่องคล้ายกัน บ้านตาแป๊ะแก่คนหนึ่ง อยู่กันสองคนกับยายซิ้ม เขานัดหมายกันนั่งชั่วโมงหรือสองชั่วโมงจำไม่ได้ เวลานั่งแล้ว ใครจะเรียกมาหาใครจะมาลักขโมยไม่สนใจไม่ต้องฟังเสียง ถ้านาฬิกาไม่กริ๊งไม่เลิก ตั้งสัจจะและพระที่คล้องคอก็ไม่มี เมียนั่งโน้นผัวนั่งนี่ บ้านนั้นมีเครื่องลายครามเยอะแยะหมด แล้วก็มีลูกสาวคนหนึ่งผอม สะโพก ๒ ศอกได้มั้ง ขณะนี้ลูกสาวน่ะ สามีเป็นนายพันเอก อย่าไปออกชื่อเขาเลย เป็นลูกอาจารย์กองทัพอากาศ เดี๋ยวนี้ยังอยู่แต่ปลดเกษียณแล้ว

ก็ได้ความว่าลูกสาวมาเยี่ยมเตี่ยกับแม่ แล้วทีนี้เตี่ยกับแม่ก็นั่งบริกรรมพองหนอยุบหนอ ถ้าไม่ได้กำหนดไม่ออก ถือสัจจะ พอดีรถปิคอัพเข้ามา ขโมยปล้นมีเอ็ม ๑๖ มาก็ยิง ยิงเลย ยิงไม่ออก ยิงโด่งออก แล้วโจรก็มาคลำดูที่คอ สองคนก็ภาวนาพองหนอยุบหนอตลอด ลูกสาวกำลังรับประทานอาหารอยู่ กำลังจิ้มไก่ย่างใส่ปาก เคี้ยวไปยังไม่ทันกลืนนะ พอเสียงปืนโป้งปั้งทำไง ก็รีบเข้าไปใต้เตียง ไม่ชิงชันสูงคืบเดียวนะ เข้าไปได้สะโพกเบ้อเร่อเข้าได้สบายมาก แล้วก็ไก่ย่างยังอยู่ในปาก

มันเป็นเรื่องอัศจรรย์อันหนึ่ง ยิงก็ไม่ออก มันจะมาฆ่าตาแป๊ะคนนี้ มีเครื่องลายครามขนใส่รถหมด ข้าวของเงินทองขนใส่รถ ยายซิ้มพองหนอยุบหนอ คิดหนอ ๆ ก็พองหนอยุบหนอต่อไป แหมเขาแน่จริงๆ ขโมยก็ขึ้นรถไปออกไปถึงตรอกนั้น ร้อนถึง จักรินเทวราช สั่งมาตุลีเทพบุตรบอกให้สารวัตรใหญ่เข้าไปในตรอกนี้ให้ได้ เกิดสังหรณ์ในใจ ตำรวจสารวัตรใหญ่เป็นพันตำรวจโทก็สั่งลูกน้องเข้าในตรอกนี้ซิ มันสงสัย ก็สวนกันรถขโมยพอดีเลย พอสวนรถขโมย มันเปิดไฟเห็นตำรวจมันก็โดด ตำรวจโดดตาม พอตำรวจโดดตามจับได้หมด

เลยผลสุดท้ายก็ถามว่า เอามาจากบ้านใคร โจรก็บอกกับตำรวจว่าเอามาจากบ้านตาแป๊ะนี่ เลยถอยหลังกลับไป พอรถขโมยไปจอดรถ รถสารวัตรใหญ่ไปจอด สองคนนั่งพองหนอยุบหนอ ยังไม่ออกจากกรรมฐานเลย เลยตำรวจก็ปลุกตาแป๊ะ ไม่ลุก สักประเดี๋ยวนาฬิกากริ่ง ตาแป๊ะก็ออกพอดีเจอตำรวจบอกว่า เอ...ไอ้ผู้ร้ายบอกว่าเอาปืนยิงไม่ออก เลยคลำที่คอบอกว่าไม่มีพระ ไม่มีพระเครื่องรางของขลังแต่ยิงไม่ออก บอกนี่โดนปล้นรู้ไหม ตาแป๊ะบอกรู้ แต่กำหนดได้ว่าอย่างนี้นะ รู้นะไม่ใช่ไม่รู้ ไม่ใช่เข้าพลสมาบัติ รู้เลยอย่าได้เอาไป รู้หนอๆ พองหนอ ยุบหนอต่อไป อยากได้เอาไปๆ ถ้าเป็นของลื้อๆ เอาไป ถ้าเป็นของอั๊วอยู่ พองหนอ ยุบหนอๆ อยากได้เอาไปๆ

พอพูดกันสักพัก ก็มีเสียงเรียกให้ช่วย ตำรวจก็มองหา เอ...อยู่ที่ไหนแปลก อยู่ใต้เตียงเวลาเข้าได้ออกไม่ได้ สะโพกตั้งศอก เลยเข้าไปยกเตียงไม่ชิงชันออกมา ไก่ยังอยู่ในปาก จะกลืนก็ไม่กลืน ไม่มีพองหนอ ยุบหนอ เตี่ยกับแม่ทำ ลูกสาวไม่ได้ทำ ในที่สุดก็ได้ของคืนหมด แต่เตี่ยกับแม่ในที่สุดก็บอกตำรวจว่าไม่เอาเรื่องเอาความ ไม่ติดตามฝากหลวงไป แล้วแต่เถอะว่าเสียสละแล้ว บอกว่าจะติดคุกติดตะราง อโหสิกรรม แล้วพวกขโมยก็มากราบตาแป๊ะกราบยายซิ้ม แล้วตำรวจก็ถามว่า เป็นยังไงถึงยิงไม่ออก มีพระอะไร ตาแป๊ะบอกมีพระพองหนอยุบหนอ ลื้อเอาไปใช้เถอะยิงไม่ออกแน่ พระพองหนอ พระยุบหนอ

ในที่สุด ตำรวจมาที่วัดนี่ เดี๋ยวนี้เป็นนายพันเอก เป็นนายพลตรีไปแล้ว ตำรวจบอกเอาพระตาแป๊ะพองหนอยุบหนอขลังจริงๆ ปืนยังยิงไม่ออก เพราะว่าคุณนายชื่อว่าสะโพกศอกกว่าๆ นี้นะเข้าไปได้บอกว่าคุณนายเข้าไปได้ยังไง บอกว่าฉันก็ไม่รู้ ตกอกตกใจพรวดเข้าไปใต้เตียง เตียงไม้ชิงชัน เวลาออกออกไม่ได้ สะโพกติดก็ต้องไปช่วยกันยกเตียงไม้ชิงชันออกมาเห็นไหม มันก็เป็นได้อย่างนี้

ปืนยิงไม่ออกก็คือสัจจะ ความจริง และก็ว่าคล้องพระไปเป็นกิโลนะ โป้งตายไปหลายราย เพราะไม่นึกถึงคุณพระอยู่ในใจเลย ไม่มีสัจจะ เสียสัจจะ เอาพระไปคล้องเสียเวลาเปล่าๆ พระพุทธเจ้าไม่ช่วยแน่ อาตมาขอยืนยัน

อาตมาไปชายแดน ถามหัวหน้าหน่วยเป็นพันตรี บอกมีไหมปืนยิงไม่ออกยิงไม่เข้า มีคนเดียว นอกนั้นตายเรียบ โดนปืนตายทั้งนั้น แต่คนนี้ไม่ตาย โดนเอ็ม ๑๖ หล่นจากเข้าค้อเป็นเวลานานแล้ว ตอนนั้นเป็นสิบโท เดี๋ยวนี้เป็นร้อยเอกแล้ว อาตมาบอกขอมาสัมภาษณ์ซิ แต่นายพันตรีก็ไม่รู้หรอกว่ามันอยู่ด้วยอะไร

อาตมาก็มากล่าวอีกถึงอิสลาม เป็นชาวอิสลาม พ่อเขาเป็นแขกแม่เป็นชาวพุทธ ก็เอาตะกรุดมาให้อาจารย์ดู ถักเสียสวยเลยคล้องคอไว้ นายพันตรีก็ไม่รู้ว่ามีอะไรดีเป็นอิสลาม ทำไมมันเหนียว ทำไมทหารไทยตายซะเรียบ ในเขาค้อนี่เองเลยเพชรบูรณ์ไปนี่ ติดต่อกับพิษณุโลก อาตมาไปมา ที่ไปนี่ก็เอาของไปแจกไม่ใช่เอาเหรียญไปแจกนะ เอาขนมเอากระยาสารท ขนมเปี๊ยะ เอาพวกน้ำปลาไปแจกทหารชายแดน ๒๔ ลังเรียบไม่พอแจก ทหารชอบไม่ใช่ไล่แจก อาตมาถามบอกขอดูซิ อิสลามบอกหลวงพ่ออย่าจับ เอาไม่จับได้ไง คนละศาสนาถือหรือ ไม่ใช่หรอกครับ เดี๋ยวผมจะเล่าถวาย

พอผมจะมาสนามรบนี้ผมก็ไปลาลุงๆ ผมเป็นทายกพระ แต่ทีนี้แม่ผมได้กับป๋าที่มาจากเมืองนอก ก็ต้องตามป๋าไปอิสลาม แล้วก็บอกมาขอของดีลุงจะให้อะไร ลุงบอกเอาผ้านุ่งแม่เจ้ามา แล้วลุงจะทำให้ เอาผ้านุ่งมาตัดๆ เข้าแล้วก็เอาเชือกถักเสียสวยเลย แล้วก็ให้คล้องคอ แล้วบอกให้หลานตั้งนะโมเอาแบบพุทธ ท่อง นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ ๓ หน แล้วนึกถึงพระเจ้าของเจ้าก็ตามใจ บิดามารดาปกปักรักษา คุณครูบาอาจารย์ผู้มีพระคุณทั้งหลายแค่นี้แหละแล้ว เจ้าอิสลาม ๑. เหล้าหยดเดียวไม่กิน ๒. การพนันไม่เล่น ๓. ผู้หญิงไม่เที่ยว สามอย่างเท่านั้น หล่นจากภูเขาก็ไม่เป็นไร เขาเลิกเสื้อให้ดู บอกบอบช้ำไปเลย แต่ทีนี้เพื่อนทหารของผมก็กินเหล้าเข้าไปในหมู่บ้าน กลับไปก็ไปเหยียบกับระเบิดตาย

นี่แค่ผ้านุ่งแม่ ปืนยังยิงไม่เข้า เขาไปทำเป็นตะกรุดคล้องคอ อาตมาจับเขาถึงไม่ให้จับ บอกว่านี่เป็นผ้านุ่งแม่ผม เลยให้นายพันตรี บอกอยู่ด้วยกันมานาน ไม่รู้ไม่เห็นเล่าให้ฟัง กลัวทหารจะล้อว่าเอาผ้านุ่งมาคล้องคอ ว่าอย่างนี้ เดี๋ยวทหารบางคนก็ว่าไม่ใช่ผ้านุ่งแม่ เอาผ้านุ่งเมียมาคล้องคอ นี่บางทีแม่มาหาก็หาว่าเมียมาหา ทหารที่นั่นเป็นอย่างนี้เขาเล่าให้อาตมาฟัง นี่ก็เรื่องจากชีวิตปฏิบัติธรรม ถึงจะเป็นอิสลามหรือไม่ก็ตามเขามีสัจจะของเขา เหล้าไม่กันเลยแม้แต่หยดเดียว พระเจ้าก็ช่วยได้ นี่ผ้านุ่งแม่ก็ช่วยได้ เดี๋ยวนี้ไม่เอาแล้ว ผ้านุ่งแม่ก็ซักให้ไม่ได้ ทีผ้านุ่งเมียซักได้นะ เห็นบางคนเขาพูดกัน ข้อเท็จจริงอย่างไรไม่รู้ เห็นบางคนเขาพูดกัน บางคนถูกผ้าผู้หญิงไม่ได้เพราะกลัวเสื่อม อาตมาว่าไม่จริง อยู่ที่ใจ เสื่อมไม่เลื่อมอยู่ที่ใจ ไม่อยู่ที่ผ้านุ่งผู้หญิงหรอก



( หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม )



วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2556

ทางสายกลาง



        มัชฌิมาปฏิปทาในทางพุทธศาสนาหมายถึงทางสายกลาง คือ การไม่ยึดถือสุดทางทั้ง 2 ได้แก่ อัตตกิลมถานุโยค คือ การประกอบตนเองให้ลำบากเกินไป กามสุขัลลิกานุโยค คือ การพัวพันในกามในความสบาย ที่ไม่ใช่ทางสายกลาง คือ สักแต่ว่ากลาง โดยเป็นแต่เพียงโวหารไม่ได้กำหนดวิธีที่ถูกต้องไว้เลย

แต่พระพุทธองเจ้าได้ทรงกำหนดหลักทางสายกลางนี้ไว้อย่างชัดเจน คือ อริยมรรคมีองค์ 8 เมื่อย่นย่อแล้ว เรียกว่า "ไตรสิกขา" ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา

มัชฌิมาปฏิปทาหมายถึงการปฏิบัติสายกลาง ซึ่งหลักปฏิบัติย่อมต้องคู่กับหลักการอันเป็นสายกลางเช่นกัน โดยที่หลักการอันเป็นสายกลางนี้เรียกว่ามัชเฌนธรรม หรือหลักการที่ว่าด้วยความสมดุล (สมตา)อันเป็นลักษณะอันเป็นสากลของสรรพสิ่งอย่างหนึ่ง เช่นเดียวกับ ไตรลักษณ์ อิทัปปัจจยตา สุญญตา ตถตาอันเป็นกฎธรรมชาติอันเป็นหลักการสากลของสรรพสิ่งเหมือนกันอย่างหนึ่ง

มัชฌิมาปฏิปทาใช้ในความหมายถึงความพอเพียง หรือการใช้ชีวิตที่ถูกต้องตามหลัก สัมมาอาชีวะ คือใช้ชีวิตอย่างรู้ประมาณในการบริโภค คือใช้ปัจจัยสี่เท่าที่จำเป็น ไม่ใช่ใช้ตามความต้องการเพื่อสนองความอยาก

มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง หมายถึง ทางปฏิบัติที่ไม่สุดโต่งไปในทางอุดมการณ์ใดอุดมการณ์หนึ่งเกินไป มุ่งเน้นใช้ปัญญาในการแก้ปัญหา มักไม่ยืดถือหลักการอย่างงมงาย

มัชฌิมาปฏิปทาในทางจิตวิญญาณหมายถึงสติ สติเป็นความสมสมดุลทางจิตอย่างหนึ่ง คือสมดุลระหว่างศรัทธาและปัญญา สติจะอยู่ตรงกลางระหว่างอารมณ์และเหตุผล ถ้าความคิดเปรียบเป็นน้ำไหล สมาธิเปรียบเป็นน้ำนิ่ง สติจะเป็นน้ำไหลนิ่ง คือสติเป็นทางสายกลางทางจิตวิญญาณ

อ้างอิง
อุปาทิยสูตร มัญญมานสูตร อภินันทมานสูตร ขันธ. สํ. (๑๓๙, ๑๔๐ ,๑๔๑) ตบ. ๑๗ : ๙๑-๙๔ ตท. ๑๗ : ๗๙-๘๒ ตอ. K.S. ๓ : ๖๔-๖๕

วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การทำบุญทำทาน

     
         เมื่อเอ่ยถึงการทำบุญทำทานในยุคนี้ ภาพที่ปรากฏขึ้นมาเป็นภาพแรก ๆ ของสมองคงเป็นภาพของการเข้าวัดทำสังฆทาน ปล่อยนกปล่อยปลา การทำบุญไถ่ชีวิตโคกระบือ การทำบุญเลี้ยงอาหารเด็กกำพร้า - คนชรา ณ สถานสงเคราะห์ รวมไปถึงการสะเดาะเคราะห์ด้วยการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ผ่านพิธีกรรมในรูปแบบต่าง ๆ  

แต่เคยได้ยินไหมคะที่เขาว่าบุญนั้นมีหลายระดับ และหลายรูปแบบ ไม่ได้มีเฉพาะแบบให้ทานเท่านั้น วันนี้ทีมงาน Life & Family จึงขอนำเรื่องของบุญกิริยาวัตถุ 10 (การทำบุญสิบรูปแบบ) มาฝากกัน เพื่อให้การทำบุญของคุณผู้อ่านหลากหลาย และทำได้ง่ายแม้ยามไม่มีคนรับทานด้วยค่ะ

1. บุญสำเร็จด้วยการให้ทาน (ทานมัย) - การให้ทานมีส่วนประกอบที่ต้องคำนึงถึงคือ จิตใจก่อนให้ ขณะให้ และหลังให้ ของเราปลอดโปร่งที่ได้ให้ โดยสิ่งที่นำมาเป็นทานนั้นบริสุทธิ์ ไม่ได้ลักขโมยคดโกงมา นอกจากนี้ระดับคุณธรรมของผู้รับก็ส่งผลให้ทานที่ทำให้ผลต่างกันไป

2. บุญสำเร็จด้วยการถือศีล (ศีลมัย) - การรักษาศีล หมายความถึงการมีเจตนาจะงดเว้นหรือจะรักษาศีล หากไม่มีเจตนา เพียงแต่ไม่มีโอกาสทำผิดศีลก็ไม่ถือว่ามีศีล ไม่ว่าจะเป็นศีลห้า ศีลแปด หรือศีลกี่ข้อก็ตาม

3. บุญสำเร็จด้วยการภาวนา (ภาวนามัย) - ภาวนา เป็นหลักธรรมชั้นสูงในพระพุทธศาสนา หมายถึง การอบรมจิต หรือพัฒนาจิตให้มีคุณภาพสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสมถภาวนา คือ การทำใจให้สงบ หรือวิปัสสนาภาวนา คือ การทำใจให้รู้แจ้งเห็นจริงจนตัดกิเลสได้หมด

4. บุญสำเร็จด้วยการประพฤติอ่อมน้อม (อปจจายนมัย) - การอ่อนน้อมถ่อมตน จัดเป็นบุญประการหนึ่ง เพราะจิตไม่แข็งกระด้าง แต่ต้องอ่อนน้อมต่อบุคคลที่ควรอ่อนน้อม ได้แก่ คนที่อายุมากกว่าเรา คนที่มีชาติกำเนิดสูงกว่าเรา และคนที่มีคุณธรรมสูงกว่าเรา

5. บุญสำเร็จด้วยการขวนขวายช่วยเหลือผู้อื่น (เวยยาวัจจมัย) – ช่วยในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น หรือต่อส่วนรวม อาทิ ช่วยเหลือคนเจ็บป่วย แม้แต่ช่วยนำคนแก่ข้ามถนนให้ปลอดภัย หรือชี้ทางให้แก่คนหลงทางก็จัดเป็นเวยยาวัจจมัยทั้งสิ้น

6. บุญสำเร็จด้วยการเฉลี่ยส่วนบุญ (ปัตติทานมัย) - เมื่อทำบุญอันใดแล้วก็อุทิศส่วนบุญนั้นแก่ผู้มีพระคุณ หรือแก่ผู้อื่น สัตว์อื่น จะทำให้ได้รับผลบุญเพิ่มขึ้น เป็นการแสดงออกถึงการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ จะทำโดยการอุทิศส่วนกุศลแก่คนที่ล่วงลับไปแล้ว หรือบอกเล่าให้คนรอบตัวได้อนุโมทนาบุญไปด้วยก็ได้

7. บุญสำเร็จด้วยการยินดีในบุญของผู้อื่น (ปัตตานุโมทนามัย) – เมื่อได้ยินได้ฟัง หรือได้เห็นผู้อื่นทำบุญ ทำความดีก็พลอยปลื้มใจยินดีในบุญที่เขากระทำด้วยจิตอันบริสุทธิ์ เท่านี้ก็เป็นบุญแล้ว

8. บุญสำเร็จด้วยการฟังธรรม (ธัมมัสสวนมัย) – การฟังธรรมในที่นี้ไม่ได้หมายถึงการไปฟังพระเทศน์เท่านั้น แต่การอ่านหนังสือ ฟังเทป ดูโทรทัศน์เกี่ยวกับเรื่องธรรมะก็เข้าพวก เพราะทำให้เข้าใจหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าได้ เนื่องจากผู้ที่เป็นสาวกนั้นจำเป็นจะต้องฟังธรรม มิฉะนั้นจะไม่มีทางเข้าใจคำสอนของพระพุทธเจ้าและบรรลุมรรคผลได้

9. บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม (ธัมมเทสนามัย) - การแสดงธรรมจัดเป็นทานอย่างหนึ่ง เรียกว่าธรรมทาน เป็นทานที่มีผลมากกว่าทานทั้งปวง ดังพระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า "สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ การให้พระธรรมชนะการให้ทั้งปวง” บุญอันเกิดจากการแสดงธรรมนั้น ไม่ใช่การพูดอย่างเดียว แม้การเขียนหนังสือธรรมะ การพิมพ์หนังสือธรรมะ หรือการให้ทุนในการพิมพ์หนังสือธรรมะออกเผยแพร่ก็จัดเข้าในบุญข้อนี้ทั้งสิ้น

10.บุญสำเร็จด้วยการปรับความเห็นให้ตรง (ทิฎฐุชุกัมม์) – ได้แก่ การเห็นว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นต้น แม้ผู้นั้นยังไม่ทำดีด้วยกาย หรือว่าไม่ทำดีด้วยกาย หรือวาจา เป็นเพียงแต่เห็นถูก เห็นตรงเท่านั้น ก็จัดเป็นบุญ และเป็นบุญที่ครอบคลุมบุญอื่นทั้งหมด เพราะเมื่อคนเราเห็นถูกเห็นตรงเป็นสัมมาทิฏฐิแล้ว ก็ย่อมทำบุญประเภทอื่นๆ ด้วยความสนิทใจและตั้งใจทำ

จะเห็นได้ว่าการทำบุญในพระพุทธศาสนาเลือกปฎิบัติได้หลากหลาย สามารถทำได้ตามกำลังและความสามารถของตน แม้คนยากจนไม่มีเงินทองเลยก็สามารถทำบุญได้ หากผู้นั้นตั้งใจจริง เพราะบุญไม่ใช่เพียงให้ทานอย่างเดียว ยังมีอีกถึง 9 ข้อที่ไม่ต้องใช้เงินทอง และมีอยู่หลายอย่างที่มีผลมากกว่าการให้ทาน นอกจากนี้บุญทุกประเภทจะนำมาซึ่งความสุข ความสงบ ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า "ปุญฺญานิ กยิราถ สุขาวหานิ.บุคคลพึงทำบุญทั้งหลายไว้เถิด ซึ่งจะนำสุขมาให้"

วันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2556

การเจริญธรรม


    หากเปรียบสังสารวัฏเสมือนการเดินทางของใจอันเนิ่นนาน หาที่เบื้องต้นและที่สิ้นสุดไม่ได้ เมื่อเราพบพระธรรมของพระพุทธเจ้าแล้ว จะดีไหมถ้าเราจะไปถึงจุดหมายที่พระองค์ทรงสั่งสอนไว้ ได้อย่างรวดเร็วและไม่เนิ่นช้า เสมือนดั่งการเดินทางในนิทานเรื่องหนึ่งดังจะแสดงต่อไปนี้

มีชายสี่คนเป็นเพื่อนรักกัน ทุกคนมีร่างกายพิการต่างๆกัน มีนายใบ้ นายหนวก นายบอด และนายอ่อนที่ได้ชื่อนี้เนื่องจากปัญญาอ่อนนั่นเอง ทั้งสี่อาศัยอยู่ในบ้านร้างผุพังแห่งหนึ่ง

ทั้งสี่เป็นคนอยู่ในศีลในธรรมแต่มีฐานะยากจนมากเนื่องจากความพิการแต่กำเนิด เทวดาบนสวรรค์เห็นในความดีจึงได้แปลงกายเป็นชายชรามาหาชายทั้งสี่ในเช้าวันหนึ่ง

ชายชราผมขาวหนวดเครายาวเอ่ยขึ้นว่า”เออแน่ะพ่อหนุ่มข้าเห็นใจในความดีแต่ว่าต้องมามีสภาพชีวิตยากจนข้นแค้นแสนสาหัส
ถึงแม้จะพิการแต่ก็สามัคคีรักใคร่ช่วยเหลือกันดีเหลือเกิน ข้ามีแผนที่เดินทางไปสู่ดินแดนอันอุดมสมบูรณ์ กว้างใหญ่ไพศาล เปรียบดังสวรรค์น้อยๆบนดินมีแต่เฉพาะคนดีๆมีเมตตา และเมื่อเจ้าไปถึงแล้วก็จะมีที่ดินทำกิน มีอาหารไม่ต้องอดๆอยากอย่างนี้อีก แต่ถึงจะมีแต่ความสุขความสบายก็ตาม แต่มีคนไม่มากนักที่จะสามารถฝ่าด่านอันยากลำบากไปถึงได้ เอ้านี่แผนที่รับไปซะ”

ทั้งสี่รับแผนที่มาด้วยความดีใจ กล่าวแสดงความขอบคุณกับชายชรา

นายบอดเจ้าปัญญาจึงถามว่า” เอ แล้วทางที่ไปนี่มันยากลำบากแค่ไหนล่ะครับ”

ชายชรา” จำคำของลุงไว้นะ หนทางนี้จะว่าไกลก็ไม่ไกล จะว่าใกล้ก็ไม่ใกล้ ถ้าอยากไปเร็วๆก็จะช้า ถ้าประมาทมัวแต่ชักช้าก็จะไปไม่ถึง ทางนี้เจ้าต้องเข้าไปในป่าทึบอันเป็นที่อยู่ของมาร และเส้นทางยังเป็นทางเขาวงกตอีกด้วย เธอต้องสังเกตว่าเดินวนอยู่กับที่ไม่ไปไหนหรือเปล่าตลอดเส้นทาง มารผู้รักษาจะมีอยู่ตลอดเส้นทาง มารนี้นอกจากจะมีฤทธิ์เดชแล้ว ยังรู้อีกว่าเราคิดอะไรอยู่ด้วย มันจะหรอกเราไม่ให้เดินต่อไปด้วยการล่อให้สงสัย หรอกให้หลงเผลินกับสิ่งต่างๆ มีแต่คนที่มีจิตใจมั่นคงและแน่วแน่เท่านั้นที่จะไปบนเส้นทางนี้ได้ ฉะนั้นจงจำไว้ให้ก้าวไปเรื่อยๆ จงเป็นคนช่างสังเกตถึงเส้นทางเขาวงกตนั้น และเมื่อมีอะไรเกิดขึ้นไม่ว่าจะน่าพอใจเพียงใด ให้มีสติรู้ทันอย่าอยาก อย่าสงสัยให้มันผ่านเราไป มีความพยายามเดินไปเรื่อยๆ โดยไม่รีบ แล้วเส้นทางจะปรากฏชัดกับเธอเอง”เมื่อพูดจบชายชราก็เดินจากไป

ทั้งสี่คนจึงเริ่มออกเดินทางทันที ในวันแรกที่ออกเดินทางต้องเดินผ่านป่าทึบมารได้บันดาลให้ป่ารกทึบกลายเป็นอุทยานที่น่ารื่นรมย์ มีน้ำตกมีสวนดอกไม้ มีผลไม้สุกงอมมากมาย ทำให้คนทั้งสามยกเว้นนายบอดหยุดเดินทันที แต่แล้วนายบอดก็กล่าวขึ้นว่า

“อ้าวจะหยุดเดินกันทำไมล่ะ มัวแต่ชักช้าเดี๋ยวก็ไปไม่ถึงไหนหรอก”

คนทั้งสามจึงได้สติเดินต่อไป
ต่อมาก็ถึงเมืองๆหนึ่งกำลังมีการแสดงดนตรีอยู่ เมื่อชายทั้งสามคนยกเว้นนายหนวกได้ยินก็เสมือนต้องมนต์หลงไหลเคลิบเคลิ้มกับเสียงดนตรีจนแทบสิ้นสติ จนนายหนวกต้องรีบดึงพวกเขาเพื่อเดินต่อไป

พอผ่านมาสักพักก็มีชายรูปร่างสูงใหญ่สี่คนถืออาวุธมีทั้งหอกและดาบ มายืนด่าชายทั้งสี่อยู่ ทั้งๆที่ไม่รู้จักกัน ชายทั้งสามบันดาลโทสะ กำลังจะด่าตอบ แต่นายใบ้ก็รีบดึงข้อมือเพื่อนทั้งสามให้วิ่งหนีเพื่อเอาชีวิตรอด

เมื่อเดินมาได้สักระยะหนึ่ง ก็มาถึงทางแยก ทางซ้ายเป็นทางเส้นใหญ่คงเป็นเพราะมีคนใช้เส้นทางนี้มากนั่นเอง เขียนไว้ว่า เมืองใหม่ สำหรับผู้ต้องการความร่ำรวย มีที่พักฟรี อาหารฟรี รักษาโรคฟรี อีกทางเป็นถนนเล็กๆ เขียนไว้ว่า เส้นทางสู่ป่าอันสงบเงียบ เมื่อทั้งสี่อ่านดูป้ายแล้ว ก็ปรึกษากันเป็นการใหญ่ ขณะที่ยังตกลงกันไม่ได้ นายอ่อนก็พูดขึ้นว่า

“แผนที่บอกว่าไปทางขวาก็ไปกันเหอะ มัวเถียงอะไรกัน อ่อนฟังแล้วไม่เข้าใจ” คนทั้งสามจึงได้สติ จึงเดินมุ่งสู่ป่าแห่งนั้น

จริงดังที่ชายชราบอก เมื่อเข้าสู่ป่าแล้วด้วยบรรยากาศอันเยือกเย็นลมพัดอ่อนๆสบายๆ ทุกคนก็รู้สึกหายเหนื่อยเมื่อยล้า ในป่ามีผลไม้ป่าสุกงอมหอมหวาน มีนกกาและสัตว์ป่านานาชนิดอาศัยมากมาย ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าไม่ค่อยมีคนมารบกวน หรือเข้ามาวุ่นวาย ที่เป็นเช่นนี้เพราะคนส่วนใหญ่มุ่งหวังความสุขสบายทางวัตถุในเส้นทางสายใหญ่มากกว่า ทุกสิ่งในป่านี้จึงยังคงเป็นสภาพเดิมของมัน

เมื่อออกจากป่าแล้วก็ไปมีที่ราบเชิงเขามีน้ำตกไหลลงมาเป็นลำธารและแอ่งน้ำ มีหมู่บ้านเล็กๆตั้งอยู่ ใกล้ๆ เมื่อเดินเข้าหมู่บ้านคนทั้งสี่ได้พบชายชราอีกครั้ง ท่านจึงกล่าวทักทายคนทั้งสี่ว่า

“โอ ข้าดีใจมากที่เจ้าสามารถมาถึงได้ ในเวลาอันรวดเร็ว ข้อขอแสดงความยินดีและต้อนรับสู่ดินแดนอันสงบและร่มเย็น”

“ทำไมพวกท่านจึงสามารถมาได้อย่างรวดเร็ว บางคนกว่าจะมาที่นี้ได้ใช้เวลานานหลายปีมาก บางคนชั่วชีวิตหนึ่งยังมาไม่ถึงเลย” ชายวัยกลางคน คนหนึ่งในหมู่บ้านถาม

“พวกข้าก็ไม่รู้เหมือนกัน” ชายทั้งสี่ตอบอย่างงงๆ

“แต่ว่าข้าพอนะรู้ นั้นข้าจะตอบให้ฟังนะ” ชายชราตอบ

"ในการเดินทางของพวกเจ้านี้ก็เหมือนการเดินทางของใจไปบนเส้นทางธรรม เคล็ดลับก็คือ การเดินทางด้วยสติสัมปชัญญะ เมื่อคนหนึ่งหลงไปดู หลงไปฟัง หลงไปคิด ด้วยอำนาจของมารที่มาหลอกล่อให้ล่าช้าหรือหยุดเดิน ก็จะมีคนที่มาเตือนสติให้เดินต่อไป ซึ่งในคนธรรมดาจะไม่สามารถมีสติได้ทัน จึงใช้ชีวิตหมดไปกับความโลภ ความโกรธ ความหลง ในเรื่องต่างๆโดยไม่รู้ว่าตัวเองหลงอยู่ อีกทั้งคนทั่วๆไปยังมีแต่ความลุ่มหลงในวัตถุ เงินทอง ชื่อเสียง ฯลฯ จึงหมดเวลาในชีวิตชาติหนึ่งๆไปอย่างน่าเสียดาย ใช้ชีวิตโดยไม่ได้ทำให้จิตใจพัฒนาแต่อย่างใด มีแต่จะทำบาปกรรมให้จิตใจต่ำลง พวกที่พอจะคลายความลุ่มหลงในโลกและวัตถุลงบ้าง ก็ออกเดินทางมาตามสายพระธรรม แต่ก็มาติดใจสงสัยในนิมิต แสงสีเสียง หลงติดในความพอใจ ไม่พอใจในสภาวะธรรมต่างๆที่เกิดขึ้น บ้างก็ใจร้อนอยากให้ถึงไวๆ ก็เลยมีกิเลสเพิ่มขึ้นมาถ่วงความก้าวหน้าไว้ กว่าจะมีสติถอนความหลงผิดในเรื่องต่างๆก็ช้าและเนิ่นนานมาก ฉะนั้น การช่างสังเกตถึงกิเลสที่เข้ามาและการมีผู้ชี้นำที่ดี การมีสติในชีวิตประจำวันจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ความไม่จงใจเพ่งกาย เพ่งใจจนเคร่งเครียด ทำแบบรู้ห่างๆแต่ไม่ห่างรู้ ขยันก็ทำไม่ขยันก็ทำไม่ต้องตั้งความหวังว่าจะต้องรู้ ต้องเห็น ต้องได้อะไรมา เพียงแต่มีอะไรก็รู้ พอรู้ก็ปล่อยวางไปเรื่อยๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการเดินทางของใจสู่จุดหมายแห่งความหลุดพ้นที่ไม่เนิ่นช้า อันเป็นเป้าหมายในที่สุด”

พระศาสดากล่าวไว้ว่าเป็นบุญสูงสุดที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์และพบพระพุทธศาสนา ถ้าได้พบแล้วเดินทางแล้วก็ขอให้มีความเจริญในธรรม มีความพากเพียรอยู่ในธรรม มีความสงบเย็น และขอให้เป็นการเดินทางของใจที่ไม่เนิ่นช้านะครับ

5 สุขที่ควรรู้


   สำหรับพี่น้องประชาชนผู้สนใจในธรรม โปรดทำความเข้าใจว่าความสุขความสำเร็จต่างๆในชีวิตที่แต่ละคนแต่ละท่านมี ล้วนเกิดจากเหตุที่เราประกอบขึ้น หาใช่เพราะ “เทวามาพลอยผสม พระพรหมมาช่วยลิขิต, ญาติมิตรมาดลบันดาล” ก็หาไม่ นักปราชญ์ท่านหนึ่งกล่าวไว้น่าคิดว่า...

เป็นเรื่องของ “การเสาะหา” ไม่ใช่ “เกิดมาเป็น”
เป็นเรื่องของ “การต่อสู้” ไม่ใช่ “นั่งดูดวง”
เป็นเรื่องของ “ความเชี่ยวชาญ” ไม่ใช่ “โชคช่วย”
เป็นเรื่องของ “การฝึกฝน” ไม่ใช่ “บุญหล่นทับ”
เป็นเรื่องของ “ความสามารถ” ไม่ใช่ “วาสนา”
เป็นเรื่องของ “พรแสวง” ไม่ใช่ “พรสวรรค์”

จะเห็นได้ว่าความสำเร็จของคน หาได้มาจากสิ่งภายนอกไม่ แต่มาจากตัวเราเองทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น ชีวิตที่จะสดใสไพโรจน์มีความก้าวหน้า ต้องดำเนินตามหลักพุทธวิธีแล้วท่านจะมีสุขทั้ง ๕ ระดับ คือ

๑. ทำดีมีสุข...ต้องประกอบด้วยคุณธรรม คือ

ละชั่ว - เว้นจากกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
ประพฤติชอบ - ดำรงอยู่ในกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต
ประกอบความดี - เจริญอยู่ในทาน ศีล ภาวนา, ศีล สมาธิ ปัญญา
มีระเบียบวินัย - รู้จักควบคุมพฤติกรรมของตน มิให้เป็นทุกข์โทษแก่ผู้อื่น

๒. มั่งมีศรีสุข...ต้องประกอบด้วยคุณธรรม คือ

ขยันหา - ไม่เกียจคร้านในการหาเลี้ยงชีพ
รักษาดี - ไม่สุรุ่ยสุร่าย หรือจับจ่ายในทางไม่จำเป็น มิฉะนั้น จะเข้าในลักษณะที่ท่าน
กล่าวว่า “ขยันแต่ไม่ประหยัด ขจัดความจนไม่ได้” และอีกคำหนึ่งว่า “อยากรวยต้องขยัน อยากมีหลักฐานต้องประหยัด”
มีกัลยาณมิตร - ไม่คบคนที่จะนำพาหายนะมาสู่เรา เพราะ “คบคนพาลพาลพาไปหาผิด คบบัณฑิตๆ พาไปหาผล”
เลี้ยงชีวิตเหมาะสม - ไม่เสียเกินได้ ไม่ใช้เกินมี แต่ใช้ให้พอดีกับฐานะ เพราะ “ถ้าขาดความพอดี ท่านจะเป็นหนี้ตลอดกาล”

๓. สมบูรณ์พูนสุข... ต้องประกอบด้วยคุณธรรมคือ

ไม่มีหนี้สิน - เพราะรู้จักอดทน อดกลั้น อดออม จึงไม่อดอยาก
พอกินพอใช้ - ไม่ขาดแคลน เพราะอำนาจการรู้จักแบ่งกินแบ่งเก็บ
ไร้โรคโศกภัย - ปราศจากโรคาพยาธิและกิเลสเบียดเบียน เพราะอำนาจอนามัยทั้งทางกายและจิต
จิตใจเยือกเย็น - ด้วยอำนาจขันติธรรม และเมตตาธรรม

๔. อยู่ดีมีสุข...ต้องประกอบด้วยคุณธรรม คือ

โอบอ้อมอารี - เจ็บเยี่ยมไข้ ตายเยี่ยมผี มีช่วยเหลือ ไม่แล้งน้ำใจ
วจีไพเราะ - พูดจาอ่อนหวาน พูดประสานสามัคคี พูดมีสาระ
สงเคราะห์ทุกคน - การเสียสละ เกื้อหนุน ด้วยกรุณา ยังโลกาให้เป็นสุข
วางตนพอดี - ไม่มีมานะทิฐิ เย่อหยิ่งหรือแข็งกระด้าง “ไม่เป็นท้าวพระยาลืมก้น ต้นไม่ลืม
ดิน ปักษินลืมไพร”

๕. อยู่เย็นเป็นสุข...ต้องประกอบด้วยคุณธรรมคือ

รักกัน - ด้วยอำนาจเมตตาธรรม
ช่วยเหลือกัน - ด้วยอำนาจกรุณาธรรม
ไม่ริษยากัน - ด้วยอำนาจมุทิตาธรรม
ไม่ทำลายกัน - ด้วยอำนาจอุเบกขาธรรม
ทั้งหมดนี้เป็นพุทธวิธีสร้างสุขโดยอาศัยหลักพุทธธรรมดังกล่าวแล้ว

การเจริญภาวนา


   การเจริญภาวนา ต้องหมั่นตรวจสอบจิตของตัวเองและรู้ประเมิน

การที่เราได้เจริญภาวนามายาวนานแค่ไหนก็ตามในรูปแบบไหนก็ตาม จะต้องรู้ประเมินและตรวจสอบจิตของตนเองว่ายังมีกิเลสคือความอยาก เหลืออยู่มากน้อยเพียงใด ยังมีความโลภ ความโกรธ ความหลง อยู่มากน้อยเพียงใด ยังมีอัตตาและอคติในจิตของตนเองอยู่เพียงใด การเป็นอยู่กับคนในสังคมนี้ ยังมีความรู้สึกยินดียินร้าย, ความรู้สึกพอใจหรือไม่พอใจ, หรือความรู้สึกชอบใจหรือไม่ชอบใจ, ต่อจิตของเรามากน้อยเพียงใด เราพอเห็นจิตของเราได้หรือไม่ ว่ามีความรู้ปล่อยวางในอารมณ์ต่างๆที่มากระทบทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ หรือไม่ ถ้าเห็นว่ายังไม่มีอะไรที่ลดลงเลยในจิตของเรา ก็ต้องมาพิจารณาได้แล้วว่าการภาวนาของเราในรูปแบบนี้ ไม่เหมาะสมกับการใช้ชีวิตประจำวัน เพราะไม่สามารถลดกิเลสคือความอยาก ไม่ลดความโลภ ความโกรธ ความหลง ได้เลย มีแต่ความเก็บกฎเอาไว้เฉยๆ เหมือนหินทับหญ้าเอาไว้เอง เมื่อยกหินออกหญ้าก็งอกขึ้นมาใหม่อีก เพราะไม่ได้กำจัดกิเลสคือความอยากเลย

ฉะนั้น จึงควรหันมายึดแนวทางแห่งอริยมรรคในการเจริญภาวนาได้แล้ว เพราะเป็นสิ่งที่พระพุทธองค์ได้ทรงทำได้แล้วจึงนำมาเผยแพร่ให้ชาวโลกได้รู้และนำไปปฏิบัติตาม และจะให้ผลเร็วในการเจริญภาวนา เพราะมุ่งให้ละกิเลสคือความอยาก หรือบาปอกุศลที่เป็นรากเหง้าของความโลภ ความโกรธ ความหลง เมื่อเราได้ภาวนาจนมีสติรู้ปล่อยวางในกิเลส และความโลภ ความโกรธ ความหลง ได้แล้ว จิตของเราก็จะเกิดเป็นบุญคือความสบายใจ เป็นกุศลคือความผ่องใส มีความสงบและนิ่ง และการภาวนานี้ยังสามารถทำได้ตลอดเวลาในชีวิตประจำวันในเวลาต่างๆ ของการดำรงชีวิตปกติ เพราะจิตของเราจะมีสติเกิดรู้ปล่อยวางในอารมณ์ต่างๆที่มากระทบทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ได้เสมอไม่เกิดยินดียินร้าย พอใจหรือไม่พอใจ จึงทำให้กิเลส ความโลภ โกรธ หลง เบาบางลงได้ และยังตามดูรู้เห็นจิตของตนได้ตลอด
จึงควรมีความเพียรชอบในการภาวนาไว้เสมอว่า “อย่ายินดียินร้าย..อย่าว่าร้ายใคร..อย่าคิดร้ายใคร..” อันเป็นเหตุให้จิตมีสติรู้สกัดกั้นบาปอกุศลไม่ให้เกิดกับจิต จิตของเราก็จะมีแต่ความสงบสุขและนิ่ง และยังทำให้เกิดอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา นี่แหละคือผลของการเจริญภาวนาตามอริยมรรค ดังนี้.

โดยหลวงพ่ออุดม มหาปุญโญ วัดป่าหนองเลง

วันเสาร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2556

ความเป็นมาของวันพระ


        วันพระในสมัยพุทธกาล เหล่านักบวชนอกศาสนาได้ประชุมแสดงคำสอนตามความเชื่อของตนทุกวัน ๘ ค่ำ ๑๔ ค่ำ และ ๑๕ ค่ำ เป็นปกติ ครั้งนั้น พระเจ้าพิมพิสาร พระราชาแห่งแคว้นมคธ เกิดความคิดว่า น่าที่เหล่าสงฆ์ในพระพุทธศาสนาจะได้กระทำเช่นนั้นบ้าง เพื่อความเลื่อมใสศรัทธาของเหล่าชน เฉกช่นที่นักบวชนอกศาสนานั้นได้รับ จึงกราบทูลขอพุทธานุญาตจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทรงอนุญาตตามนั้น
การประชุมกันของเหล่าสงฆ์ตามพุทธานุญาต ได้มีวิวัฒนาการขึ้นตามลำดับ ตั้งแต่การมาประชุมแล้วนั่งนิ่ง เริ่มแสดงธรรม ต่อมาทรงอนุญาตให้สวดปาฏิโมกข์ ซึ่งเป็นการทบทวนข้อปฏิบัติที่เป็นวินัยของสงฆ์ในพระพุทธศาสนา พร้อมแสดงอาบัติ คือ เปิดเผยข้อผิดพลาดในวินัยต่อผู้อื่น ให้เป็นกิจกรรมในวันอุโบสถ คือวัน ๘ ค่ำ ๑๔ ค่ำ และ ๑๕ ค่ำ
จากที่สงฆ์ถือปฏิบัติทุกวันอุโบสถ คือ ๓ ครั้งต่อปักษ์ (ปักษ์หนึ่ง = ๒ สัปดาห์) จนกระทั่งท้ายที่สุด ทรงบัญญัติชัดเจนว่า ให้สงฆ์ประชุมกันเพื่อสวดปาฏิโมกข์เพียงปักษ์ละ ๑ ครั้ง คือ ทุก ๑๔ ค่ำ หรือ ๑๕ ค่ำ เท่านั้น ซึ่งสงฆ์ได้ถือปฏิบัติมาจนกระทั่งทุกวันนี้ นั่นคือ แม้วันอุโบสถ หรือ วันพระ จะมีทั้งในวัน ๘ ค่ำ และวัน ๑๔ ค่ำ หรือ ๑๕ ค่ำก็จริง แต่ก็ประชุมกันเฉพาะในวัน ๑๔ ค่ำ หรือ ๑๕ ค่ำ ตามพุทธานุญาตเท่านั้น
วันขึ้น (แรม) ๘ ค่ำ ๑๔ ค่ำ และ ๑๕ ค่ำ
กำหนดโดยถือการเปลี่ยนแปลงของพระจันทร์ จากเดือนเต็มดวงจนถึงเดือนมืด และกลับเป็นเดือนเต็มดวงอีกครั้ง โดยคืนพระจันทร์เต็มดวงเรียก ขึ้น 15 ค่ำ พระจันทร์ค่อย ๆ ดับนับ แรม ๑ ค่ำ ๒ ค่ำ ตามลำดับ ถึง ๑๕ ค่ำ เป็นวันพระจันทร์ดับพอดี จากนั้นเริ่มนับขึ้น จากวันขึ้น ๑ ค่ำ ๒ ค่ำ จนถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เป็นวันพระจันทร์เต็มดวงอีกครั้งหนึ่ง เป็นอันครบรอบ ๑ เดือน
ความสำคัญของวันอุโบสถ
จากพุทธานุญาตให้มีตัวแทนสงฆ์รูปหนึ่งสวดทบทวนสิกขาบท ที่ทรงบัญญัติไว้เป็นระเบียบปฏิบัติ เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างผาสุก และเพื่อความบริสุทธิ์ในเพศสมณะที่ต้องบริบูรณ์ด้วย ศีล สมาธิ และปัญญา อันเป็นทางหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง ตามเส้นทางของพระพุทธศาสนา โดยมีภิกษุผู้สวดทบทวน เมื่อสวดถึงข้อใดแล้วมีภิกษุรูปใดรูปหนึ่งประพฤติผิดข้อบังคับนั้น จะเปิดเผยท่ามกลางที่ประชุม หรือที่เรียกว่า แสดงอาบัติ ซึ่งถือปฏิบัติเช่นี้สืบต่อ ๆ กันมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล ก่อให้เกิดผลดังนี้ คือ
๑. เกิดความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของพระสงฆ์ ด้วยระเบียบปฏิบัติที่หมั่นทบทวน และเตือนตนด้วยการแสดงการยอมรับในสิ่งที่ตนละเมิด เพื่อแก้ไขต่อไป ในข้อนี้มีปรากฎการณ์เด่นชัด เมื่อครั้งพุทธกาล คือ เมื่อครั้งพระภิกษุชาวเมืองโกสัมพี ทะเลาะเบาะแว้งแตกความสามัคคีกัน ภายหลังเมื่อกลับมีความสามัคคีใหม่ พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้ประชุมทำอุโบสถสวดพระปาฏิโมกข์เป็นกรณีพิเศษที่เรียกว่า “วันสามัคคีอุโบสถ”
๒. การหมั่นทบทวนอย่างสม่ำเสมอ ทำให้พระธรรมคำสอนไม่คลาดเคลื่อน เลือนหาย และทำให้หมู่คณะจรรโลงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อกันมาถึงปัจจุบันนี้
วันอุโบสถนั้น นอกเหนือจากเป็นวันสำคัญของทางคณะสงฆ์ดังกล่าวแล้ว ยังเป็นวันประชุมฟังธรรมของเหล่าพุทธศาสนิกชนตั้งแต่สมัยพุทธกาลจนถึงปัจจุบันนี้ทำทาน รักษาศีล และเจริญภาวนาก็จริง แต่ในชีวิตประจำวันแล้ว โลกภายนอกสำหรับคฤหัสถ์ผู้ครองเรือนเต็มไปด้วยข้อจำกัดในการกระทำความดีเหล่านั้นให้สมบูรณ์ ดังนั้น วันอุโบสถ จึงเป็นการปรารภเหตุที่จะให้พุทธศาสนิกชนทั้งหลายได้มีโอกาสหันกลับมาทบทวนการทำดีดังกล่าว โดยการทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา มากขึ้นเป็นพิเศษ
ในส่วนของพุทธศาสนิกชนนั้น การละชั่ว ทำดี ทำจิตใจให้ผ่องใส เป็นห้วใจของพระพุทธศาสนา ผ่านการแสดงออกเป็นรูปธรรมด้วยการ
ประเภทของอุโบสถ
การรักษาอุโบสถ…ถูกกำหนดขึ้นเพื่อเอื้อต่อการเลือกปฏิบัติตามความพร้อมของพุทธศาสนิกชน โดยแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ

๑. ปกติอุโบสถ คือ อุโบสถที่รับรักษากันตามปกติเฉพาะวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง
๒. ปฏิชาครอุโบสถ คือ อุโบสถที่รับรักษาเป็นพิเศษกว่าปกติธรรมดา คือ รักษาคราวละ 3 วัน จัดเป็นวันรับวันหนึ่ง วันรักษาวันหนึ่ง และวันส่งอีกวันหนึ่ง
แต่โดยเนื้อแท้แล้ว ทั้งสองประเภทก็มีขึ้นเพื่อมุ่งให้พุทธศาสนิกชนมีโอกาสรักษากาย วาจา ใจ ให้บริสุทธิ์ ตามหัวใจของพระพุทธศาสนานั่นเอง
ศีลที่นิยมถือในวันอุโบสถ คือ ศีล 8 อันได้แก่

วันพฤหัสบดีที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2556

ความไม่รู้ เป็นเหตุ


ความไม่รู้ เป็นเหตุให้เกิดความนึกคิดปรุงแต่งจิต ให้เกิดทุกข์

         ทุกวันนี้มีคนอยู่เป็นจำนวนมาก ที่อยู่ในโลกแห่งความหลงไม่รู้ตัวคือไม่มีสติ จึงไม่รู้ทันกับสิ่งรับรู้หรือสื่อรับรู้ ที่ผ่านเข้ามากับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่ชวนให้รัก,ชักให้ใคร,พาใจให้ไหลหลง, ด้วยความรู้สึกยินดียินร้ายบ้าง,ความรู้สึกพอใจหรือไม่พอใจบ้าง,ความรู้สึกชอบใจหรือไม่ชอบใจบ้าง, ทำให้ไปกระตุ่นความจำในจิตใต้สำนึกให้เกิดการนึกคิดปรุงแต่ง จนทำให้เราเกิดอารมณ์ว้าวุ่นใจ กังวลในใจ มีความขุ่นใจ มีจิตเศร้าหมองเป็นอกุศล ไม่สบายใจเป็นบาป ทำให้โลภบ้าง ทำให้โกรธบ้าง และทำให้หลงไป เป็นทุกข์ใจเกิดขึ้น นี้คือเหตุของความไม่รู้ตัวเพราะไม่มีสติ

ฉะนั้นเราจึงควรที่จะมีการเจริญธัมมะภาวนาอยู่เป็นประจำไว้จะเป็นการดีที่สุด เพราะจะทำให้เราเกิดสติรองรับไม่ให้จิตของเราหลงไปในบาปอกุศล การเจริญธัมมะภาวนาจึงเป็นสิ่งสมควรต่อการดำเนินชีวิตประจำวันจะทำให้เราเกิดมีความรู้ตัว อันเป็นเหตุให้เราเกิดสติรู้สกัดกั้นไม่ให้บาปอกุศลจิตเกิดขึ้น เพราะมีสติรู้ปล่อยวางไม่เกิดยินดียินร้าย ต่อการรับรู้สิ่งต่างๆหรือสื่อต่างๆที่มากับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส จิตของเราก็จะเป็นกุศลจิตมีความผ่องใส เป็นบุญคือความสบายใจ มีความสงบสุขและนิ่ง และมีความรู้ตัวต่อสิ่งที่จะกระทำ สิ่งที่จะพูด และสิ่งที่จะคิดเห็น อยู่ในสุจริตธรรม ๓ เพียรภาวนากันไว้ว่า “อย่ายินดียินร้าย.อย่าว่าร้ายใคร.อย่าคิดร้ายใคร.” ให้ได้อย่างน้อยวันละ ๓๐ ครั้ง จะทำให้เราเกิดสติได้ดี มีความสุขสงบมีจิตนิ่งอยู่กับปัจจุบันไม่เกิดทุกข์ ดังนี้.

โดยหลวงพ่ออุดม มหาปุญโญ วัดป่าหนองเลง

ความจริงที่ถูกซ่อนเร้นในอริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ

        
        หลักการปฏิบัติจิตภาวนา มีผู้สนใจได้เที่ยวไปเสาะหาศึกษาหาความรู้จากครูบาอาจารย์ไปทั่วในจตุรทิศ คือทิศทั้ง ๔ แต่ก็ไม่ค่อยได้ประสบผลสำเร็จต่อการปฏิบัติในจิตภาวนา ที่จะต้องนำมาใช้อยู่กับปัจจุบัน เพราะยังเห็นจิตของตนไม่รู้ปล่อยวางในอารมณ์ คือกิเลสทั้งหลายได้แก่ความอยาก จิตใจยังคงหลงในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสต่างๆ อยู่อย่างไม่รู้จางคลายลงได้ จนเกิดความขุ่นมัว เศร้าหมองว้าวุ่น ไม่สงบ เพราะบาปอกุศล ความจริงที่ถูกซ่อนเร้นอยู่และถูกมองข้ามไปเสมอ คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าในหลักจิตภาวนาที่ได้ถูกบัญญัติไว้ในอริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ

ข้อว่าดำริชอบ ข้อนี้แหละคือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ที่ได้ให้ไว้กับชาวพุทธในการเจริญจิตภาวนาเป็นคำสั่งสอนที่ให้เราต้องทำ เพื่อให้มีสติในการระงับบาปอกุศลไม่ให้เกิดขึ้น ที่มีหลายท่านตีความออกมาเป็นการปฏิบัติทางกายกรรม ที่แท้แล้วคือการปฏิบัติทางจิตภาวนาหรือมโนกรรมต่างหาก การดำริชอบที่พระพุทธองค์ได้ทรงกล่าวไว้ให้ดำริชอบ คือมีอยู่ ๓ หัวข้อธรรมได้แก่ ดำริในการออกจากกาม ๑, ดำริในการไม่มุ่งร้าย ๑, ดำริในการไม่เบียดเบียน ๑,

ที่หลวงพ่อได้ถอดความออกมาเป็นธัมมะภาวนาเพื่อให้ท่านทั้งหลายได้ลองเจริญดูว่า “อย่ายินดียินร้าย.อย่าว่าร้ายใคร.อย่าคิดร้ายใคร.” ลองดำริชอบตามนี้ดูนะ ดำริคือการนึก-คิดไว้ในใจอยู่เสมอๆจัดเป็นความเพียรชอบ จึงเรียกว่าธัมมะภาวนา จนมีสติรู้สกัดกั้นบาปอกุศลไม่ให้เกิดขึ้นในใจของเราอย่างน้อยต้องให้ได้ ๓๐ ครั้งต่อวัน เราจะได้เห็นจิตของเรารู้ปล่อยวางในอารมณ์คือกิเลสได้จริงๆ เราจะเห็นจิตของเราตั้งมั่นอยู่ในความสงบนิ่ง ที่เรียกว่ากัมมัฏฐานได้จริงๆ และเห็นจิตของเรามีความผ่องใสที่เป็นกุศล มีความสบายใจคือเป็นบุญ จนเกิดปัญญารู้ในสภาวธรรมต่างๆได้จริงๆที่เรียกว่าวิปัสสนา อันเกิดจากอธิศีล อธิจิต และอธิปัญญา ดังนี้.

ขอเจริญพร โดยหลวงพ่ออุดม มหาปุญโญ วัดป่าหนองเลง

น้ำกับทิฐิ

นานมาแล้วมีชายคนหนึ่งชื่อว่า...ทิฐิ... เขาเป็นคนที่มีนิสัยอวดดื้อถือดีไม่ต่างจากชื่อ เพราะเมื่อได้ลองเชื่อมั่นในสิ่งใดแล้ว ทิฐิคนนี้ก็จะยึดม...