เห็นทุกข์จึงเห็นธรรม



เห็นทุกข์จึงเห็นธรรม เรื่องโดย พระอาจารย์ชาญชัย อธิปญฺโญ

        มีคำกล่าวว่า ไม่เห็นทุกข์ ไม่เห็นธรรม คำกล่าวนี้หมายความว่าอย่างไร
โดยปกติแล้วคนเราเมื่อมีความสุข ก็หลงอยู่ในความสุขที่ตนมีอยู่ มีความประมาทว่าสถานภาพเช่นนี้คงจะดำรงอยู่ไปเรื่อยๆ ไม่เสื่อมทราม จึงไม่สนใจที่จะศึกษาธรรมะ เพราะไม่เข้าใจว่าธรรมะคืออะไร
ความไม่เข้าใจดังกล่าว ประกอบกับมีความเห็นผิด จึงดูหมิ่นดูแคลนธรรมะหรือดูหมิ่นดูแคลนพระพุทธศาสนา พระสงฆ์ ตลอดจนผู้ปฏิบัติธรรม
ครั้นเมื่อตนมีทุกข์ เป็นต้นว่า ต้องพลัดพรากจากบุคคลอันเป็นที่รักหรือของรัก เจ็บป่วยด้วยโรคร้าย ถูกเขาโกง ถูกเขากลั่นแกล้งให้ร้าย กดขี่ข่มเหง ธุรกิจตกต่ำ มีหนี้สินมากฯลฯ ก็หาทางดับทุกข์ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น เข้าหาอบายมุข หาหมอดูเจ้าเข้าทรง บนบานศาลกล่าว สะเดาะเคราะห์ แก้กรรม เปลี่ยนชื่อ ตั้งศาลพระภูมิ เปลี่ยนฮวงจุ้ย สารพัดอย่าง จนในที่สุดเมื่อวิธีการต่างๆดังกล่าวไม่อาจแก้ทุกข์หรือปัญหาที่มีอยู่ได้ ที่สุดก็หันมาพึ่งธรรมะ บางคนบวช บางคนปฏิบัติธรรม
เมื่อเข้ามาสู่กระแสธรรม ทุกข์นั้นก็บรรเทาเบาบางลงได้หรือดับลงได้ เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น
การเรียนรู้ธรรมะก็คือการเรียนรู้ความเป็นจริงของชีวิต
การปฏิบัติธรรม ก็คือการฝึกใจให้ยอมรับความเป็นจริงของชีวิต
ความเป็นจริงของชีวิตคืออะไร
ชีวิตของเรามีร่างกายกับจิตใจ ร่างกายของทุกคนมีทุกข์ติดมาด้วย เป็นต้นว่า ต้องหิว ต้องขับถ่าย ต้องปวดเมื่อยเมื่อยอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานๆ ต้องเหนื่อยล้าจากการทำงานหนัก ต้องง่วงเป็นต้น
ทุกข์ดังกล่าวมีอยู่ทุกวัน เราบำบัดได้ง่าย หรือป้องกันก่อนที่ทุกข์นั้นจะเกิดขึ้นก็ได้ เช่น กินก่อนหิว ขับถ่ายก่อนปวด เปลี่ยนอิริยาบถก่อนปวดเมื่อย พักผ่อนก่อนเหนื่อยล้า นอนก่อนง่วง เป็นต้น เมื่อเป็นเช่นนี้ เราจึงเห็นว่าเรื่องดังกล่าวไม่ใช่ความทุกข์ ทั้งๆ ที่อาการเหล่านี้เป็นความทุกข์อย่างหนึ่งของร่างกาย
สิ่งที่เราเห็นว่าเป็นความทุกข์ทางกายก็คือ ความแก่ ทำให้อวัยวะบางอย่างเสื่อม ไม่สามารถใช้การได้ตามปกติ ทำให้ช่วยตัวเองไม่ได้ ความเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง ทำให้เจ็บปวด ได้รับความทุกข์ทรมานและความตาย ซึ่งคนทั่วๆ ไปไม่อยากตาย เพราะไม่อยากพลัดพรากจากของรักของหวง
แต่ทุกคนก็ต้องแก่ ต้องเจ็บ และต้องตายด้วยกันทั้งนั้

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทางสายกลาง

อุปสรรคของสมาธิ

หลวงปู่มั่นเล่าเรื่องพระธาตุพนม