วันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การทำจิตให้กลับมาอยู่กับตนเอง

การทำจิตให้กลับมาอยู่กับตนเอง คือการทำจิตให้สงบนิ่ง


คนทุกวันนี้ มีจิตที่ไม่อยู่กับตนเองเสียเป็นส่วนใหญ่ จึงหาความสงบนิ่งไม่ได้ มีความทุกข์เกิดในใจอยู่เสมอๆ ก็เพราะการขาดสติ เป็นสิ่งสำคัญ จิตจึงส่งออกไปกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทางกาย ที่ชวนให้รัก,ชักให้ใคร่,พาใจให้ไหลหลง, รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทางกาย จึงจัดเป็นวัตถุแห่งกาม คือพัสดุอันน่าใคร่ เมื่อ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ มากระทบสัมผัสสิ่งเหล่านี้ ก็ทำให้เกิดความรู้สึกยินดียินร้ายบ้าง,ความรู้สึกพอใจหรือความรู้สึกไม่พอใจบ้าง, จึงทำให้จิตของเราเกิดกิเลสกาม คือกิเลสเป็นเหตุให้เกิดความใคร่ได้แก่ความอยาก เกิดเป็นบาปอกุศลจิต มีความไม่สบายใจ ความเศร้าหมองใจเป็นทุกข์เกิดขึ้น ยิ่งมีความปารถนาในสิ่งใด หรือไม่ปารถนาในสิ่งใด การได้เห็นสิ่งนั้นๆ ยิ่งทำให้เกิดความทุกข์ เพราะการได้เห็นสิ่งนั้นๆด้วยความรู้สึกยินดียินร้าย ยิ่งจะไปกระตุ่นความจำในจิตใต้สำนึก ให้เกิดความนึกคิดปรุงแต่งให้เกิดความทุกข์ใจกลับมาอีก มันจะเป็นอยู่อย่างนี้ตลอดเวลา ถ้าเราไม่ได้ฝึกให้จิตของตนมีสติ รู้ปล่อยวางในอารมณ์ยินดียินร้ายเสีย ความสงบสุขก็ยากจะเกิดขึ้นได้

ถ้าท่านทั้งหลาย ถ้าท่านรักสุขเกลียดทุกข์ ไม่ควรปล่อยให้จิตของตนส่งออกไป ควรทำจิตของตนให้กลับมาอยู่กับตน ด้วยการเจริญสติไว้ เพื่อให้จิตของตนมีความสงบนิ่งอยู่กับตน ด้วยการเจริญภาวนาในธัมมะภาวนาอยู่เสมอๆ ในชีวิตประจำวันควรเจริญในธัมมะภาวนาว่า “อย่ายินดียินร้าย...อย่าว่าร้ายใคร...อย่าคิดร้ายใคร...” สติ คือความระลึกได้ในหัวข้อธัมมะ ก็จะเกิดขึ้น จะมีสติรู้ปล่อยวางในอารมณ์ยินดียินร้ายที่เป็นบาปอกุศลออกเสียได้ เมื่อมีสติเกิดได้บ่อยๆ ก็จะทำให้จิตของตนมีความสงบนิ่ง ไม่ส่งออกไป จิตของตนก็กลับมาอยู่กับตนในฐานที่มั่นในจิต คือเป็นสมถะกรรมฐาน มีความสงบนิ่งเป็นสุข เป็นบุญคือความสบายใจ เป็นกุศลคือมีความผ่องใส จัดเป็นอธิจิต และทำให้เกิดตาปัญญา คือรู้สภาวธรรมตามความเป็นจริงเป็นวิปัสสนา จัดเป็นอธิปัญญา จะทำให้มีสติในการดำเนินชีวิต มีการพูดจาชอบ,การทำการงานชอบ,การเลี้ยงชีวิตชอบ, จัดเป็นอธิศีล ตามในอริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ ทำให้มีความสุขทั้งชาตินี้ และชาติหน้า และสุขอย่างยิ่งคือนิพพาน ดังนี้

โดยหลวงพ่ออุดม มหาปุญโญ วัดป่าหนองเลง

กรรมกำหนดชีวิต

กรรมกำหนด ให้ชีวิตทุกชีวิตมีความเป็นไปทั้งสุขและทุกข์


คนเราเกิดมาทุกๆคนจะต้องพบ จะต้องเจอปัญหาชีวิตด้วยกันเกือบทุกคน ไม่ว่าจะอยู่ในสถานะไร จะมั่งมีหรือยากจน ไม่ว่าในด้านการงาน การเงินการเรียนการศึกษา ปัญหาทางครอบครัวและญาติมิตร ปัญหาชีวิตในด้านความรักความพลัดพราก ความเจ็บป่วยด้วยสาเหตุต่างๆ ปัญหาความเป็นอยู่และอีกมากมายจนพรรณนาไม่หมด ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะ คนเราเกิดมาจากกรรมหรือกรรมกำหนด คือการที่เราได้กระทำกรรมไว้แล้วแต่อดีตชาติบ้าง จากปัจจุบันชาติบ้าง มาส่งผลให้ชีวิตมีความเป็นไปต่างๆนาๆ มีเกิดสุขบ้างและมีเกิดทุกข์บ้าง สิ่งที่เรากำลังเผชิญความเป็นอยู่ในปัจจุบันนี้จึงเรียกว่าวิบาก ซึ่งเป็นเศษกรรมเก่ามาส่งผล(กรรมหนักเราได้ชดใช้ในนรกมาแล้ว) ถ้าเราต้องพบกับปัญหาชีวิต ดังที่กล่าวมาแล้ว ก็ขอให้เราอย่าท้อถอย ขอให้เข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตของเราแม้ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทางกาย ต่างๆ ที่เราต้องเจออยู่ทุกวัน ก็ยังจัดเป็นส่วนหนึ่งของวิบากกรรมเก่า ที่เราจำต้องรับรู้อยู่ทุกวัน อันเป็นเหตุให้เราเกิดความสุขหรือความทุกข์ได้ ถ้าเราไม่ยอมรับและเข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้นต่อเราก็จะเกิดทุกข์ ถ้าเราเข้าใจและยอมรับมันอย่างมีสติ เราก็ไม่ต้องแบกทุกข์ เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นจัดเป็นหนี้เก่า ที่เราได้ทำไว้เองแต่อดีตชาติบ้างปัจจุบันชาติบ้าง เป็นเหตุ

ดังพุทธศาสนาสุภาษิตมีกล่าวไว้ว่า

สเจ ปุพฺเพกตเหตุ สุขทุกขํ นิคจฺฉติ
โปราณกํ กต ปาปํ ตเมโส มุญฺจเต อิณํ.

ถ้าประสพสุขทุกข์ เพราบุญบาปที่ทำไว้ก่อนเป็นเหตุ
ชื่อว่าเปลื้องบาปเก่าที่ทำไว้ ดุจเปลื้องหนี้ฉะนั้น.

ปัจจุบันกรรมจึงเป็นสิ่งสำคัญ ด้วยการเจริญสติจะช่วยได้ จึงควรท่องธัมมะภาวนาไว้ในใจอยู่เสมอๆ จะทำให้เรามีสติรู้ปล่อยวางในอารมณ์ หรือรู้ปล่อยวางความรู้สึกยินดียินร้าย หรืออาการอิน ที่เป็นบาปอกุศลจิตเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ เมื่อเราได้ฝึกฝนในการท่องธัมมะภาวนาไว้ตลอดเวลา ในชีวิตประจำวันไม่ว่าจะทำอะไรอยู่มี ยืน เดิน นั่ง นอน ดื่ม กิน ทำ พูด คิด ก็ยิ่งจะทำให้เราเกิดสติได้เร็วรู้ปล่อยวางได้ไว มีจิตที่บุญกุศล จะทำไม่ให้เกิดความยึดมั่นถือมั่น ปัญหาชีวิตที่เราต้องเผชิญอยู่จะได้ไม่มาทำให้เราเกิดความทุกข์หนักได้ เพราะการมีสติ จะทำให้เรามีปัญญารู้พิจารณาถึงความเป็นจริงได้ ทำให้เข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้นต่อชีวิต ว่าเกิดจากวิบากกรรมเก่าของเราเอง มาส่งผลให้เป็นไปต่างๆนาๆ เพราะเราเคยเป็นหนี้เค้า ดังพุทธศาสนาภาษิตที่ได้ยกมากล่าวไว้นั้น ความทุกข์ก็จะลดน้อยลงไปได้ เพราะความที่จิตมีสติ รู้ปล่อยวางในอารมณ์ไม่ยินดียินร้ายที่เป็นบาปอกุศล จิตก็จะสงบนิ่ง จิตไม่ส่งออกไปยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่รู้ที่เห็นมานึกคิดปรุงแต่งให้เกิดทุกข์ และจิตที่มีความเป็นกุศลธรรม ก็จะเป็นธรรมคุ้มครองตน ไม่ให้วิบากร้ายบางอย่างมาส่งผลให้กับชีวิตของเราได้ด้วย ดังนี้.

คาถาไว้บริกรรมหรือท่องธัมมะภาวนาคือ “อย่ายินดียินร้าย...อย่าว่าร้ายใคร...อย่าคิดร้ายใคร...”เพื่อให้เกิดสติรู้ปล่อยวางในอารมณ์ จะทำให้ดับทุกข์ในใจของเราได้.

โดยหลวงพ่ออุดม มหาปุญโญ วัดป่าหนองเลง

ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นมรรค

ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นมรรค อันเอกอุกฤษฏ์

เดินทางนี้ตรงไปสู่ความดับทุกข์ได้แน่ อันพระอริยเจ้าทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้า เป็นต้น ได้ดำเนินมาสำเร็จตามปรารถนามาแล้วทุกๆ พระองค์ มรรค ๘ เป็นทางดำเนินด้วยใจ ถึงแม้จะแสดงออกมาให้เป็นศีล ก็แสดงศีลในองค์มรรคนั่นเอง

มรรคแท้มีอันเดียว คือ สัมมาทิฏฐิ อีก ๗ ข้อเบื้องปลายเป็นบริวารบริขารของสัมมาทิฏฐิทั้งนั้น หากขาดสัมมาทิฏฐิตัวเดียวเสียแล้ว สัมมาสังกัปปะเป็นต้น ย่อมเป็นไปไม่ได้

เช่น ปัญญาพิจารณาเห็นความทุกข์ตามเป็นจริงว่า มนุษย์สัตว์ทั้งหลายที่เกิดมาในโลกนี้ย่อมถูกทุกข์คุกคามอยู่ตลอดเวลา โลกนี้จึงเป็นที่น่าเบื่อหน่ายเห็นเป็นภัย แล้วก็ดำริตริตรองหาช่องทางที่จะหนีให้พ้นจากกองทุกข์ในโลกนี้

การดำริเช่นนั้นก็เป็นผลสืบเนื่องมาจาก สัมมาทิฏฐิ ปัญญาอันเห็นชอบนั่นเอง การดำริที่ชอบที่ถูกนั้นก็เป็นสัมมาวาจาอยู่แล้ว เพราะวาจาจะพูดออกมาก็ต้องมีการตริตรองก่อน การตริตรองเป็นศีลของอริยมรรค การพูดออกมาด้วยวาจาชอบเป็นศีลทั่วไป

การงานของใจ คือ ดำริชอบ วาจาชอบ อยู่ภายในใจ เป็นการงานของอริยมรรคผู้ไม่ประมาท ดำเนินชีวิตเป็นไปในอริยมรรคดังกล่าวมาแล้วนั้น ได้ชื่อว่าความเป็นอยู่ชอบของผู้นั้น ผู้พยายามดำเนินตามอริยมรรคดังกล่าวมาแล้ว โดยติดต่อกันตามลำดับไม่ขาดสายได้ชื่อว่ามีความเพียรชอบในมรรคทั้งแปด

๖ ข้อเบื้องต้นมีความเห็นชอบเป็นต้น มีความพยายามชอบเป็นที่สุด หากขาดสัมมาสติ ตั้งสติชอบเสียแล้ว จะเดินไปให้ถึงสัมมาสมาธิไม่ได้เลย เหมือนทางที่ไม่ติดต่อเชื่อมกัน จะนำยานพาหนะไปตลอดทางได้อย่างไร

องค์สุดท้ายคือสัมมาสมาธิ ยิ่งเป็นกำลังใหญ่สนับสนุนให้องค์มรรคนั้นๆ มีกำลังกล้าหาญที่จะไม่ท้อถอยในหน้าที่ของตนๆ พึงสังเกตดูเถิดว่า นักปฏิบัติโดยมาก หากสมาธิไม่มั่นคงแล้วมักไปไม่รอด ปัญญาสัมมาทิฏฐิเป็นผู้ส่องทางให้เห็นทางเดินก็จริง แต่เมื่อสติกับสมาธิอ่อนกำลังลงแล้ว ปัญญาอาจกลายเป็นสัญญาเป็นสังขารไปโดยไม่รู้ตัวก็ได้





ที่มา : สามทัพธรรม หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

การทำให้จิตมีความสงบสุขและนิ่ง

การทำให้จิตมีความสงบสุขและนิ่ง สามารถทำได้ในชีวิตประจำวัน


ชีวิตประจำวันของคนในยุคนี้ มีแต่เรื่องต้องรู้ ต้องเห็นอะไรต่อมิอะไรมากมาย แล้วทำให้จิตเกิดความหวั่นไหวสับสนวุ่นวาย หาความสงบสุขไม่ค่อยได้ เพราะสิ่งที่ได้รู้ได้เห็นคือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทางกาย ที่ชวนให้รัก, ชักให้ใคร่, พาใจให้ไหลหลง, ทำให้เกิดมีความรู้สึกยินดียินร้ายบ้าง,ความรู้สึกพอใจหรือไม่พอใจบ้าง,ความรู้สึกชอบใจหรือไม่ชอบใจ, ความรู้สึกเหล่านี้เป็นบาปคือความไม่สบายใจ เป็นอกุศลคือความเศร้าหมองใจ จึงหาความสงบสุขและนิ่งได้ยาก เพราะบาปอกุศลคือกิเลสความอยาก เป็นโลภะจิต โทสะจิต และโมหะจิต ที่ทำให้จิตไม่สงบนิ่ง เกิดอัตตาคือความยึดมั่นถือมั่น และอคติคือความลำเอียงมองคนในแง่ร้าย

แต่ถ้าเราอยากให้จิตของเราเกิดความสงบสุขและนิ่ง จึงจำเป็นจะต้องมีความเพียรชอบในการดำริชอบคือการคิดเห็นหัวข้อธรรมะอยู่ในใจไว้เสมอตลอดเวลาของชีวิตประจำวัน หัวข้อธรรมะในการที่จะนำมาดำริชอบคือการคิดเห็นในใจ หรือเป็นธัมมะภาวนาคือ “อย่ายินดียินร้าย...อย่าว่าร้ายใคร...อย่าคิดร้ายใคร...” เพื่อสร้างความรู้ตัวไว้ในจิตใต้สำนึกให้มากๆ อย่างน้อยให้ได้ ๓๐ ครั้งต่อวันเพื่อเป็นเหตุ จะทำให้จิตมีสติรู้สกัดกั้นไม่ให้จิตเกิดบาปอกุศล หรือเป็นจิตรู้ปล่อยวางในอารมณ์โดยอัตโนมัติเป็นผล เมื่อเราได้ฝึกจิตให้มีสติรู้ปล่อยวางในอารมณ์ได้มากๆ จิตของเราก็เกิดความสงบสุขและนิ่งจัดเป็นบุญกุศลจิต(เป็นอธิจิต และเป็นสมถะกรรมฐาน) ก็จะเกิดตาปัญญารู้และเข้าใจในธรรมะต่างๆหรือสภาวธรรมได้(เป็นอธิปัญญา และเป็นวิปัสสนากรรมฐาน)

ดังที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสไว้ว่า “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นได้ชื่อว่าเห็นเราพระตถาคต”

การดำริชอบและความเพียรชอบ เป็นองค์ธรรมในอริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงทำตามจนเห็นผลแล้วจึงได้นำมาประกาศสั่งสอนให้ชาวโลกให้ได้รับรู้และทำตามพระพุทธองค์ดังมีกล่าวไว้ในธรรมจักรกัปปวัฒนสูตร ที่ไม่จำเป็นจะต้องหนีออกจากสังคมเพื่อปฏิบัติธรรม ในชีวิตประจำวันของเราก็สามารถนำเอามาปฏิบัติธรรมใช้ได้ทุกๆคน และเห็นผลได้ทุกๆคน อย่าปฏิเสธว่าทำไม่ได้ ถ้าปฏิเสธเช่นนั้นก็จะไม่ได้พบกับพระพุทธศาสนาอีกเลยในอนาคต จัดเป็นคนมืดบอดเป็นโมฆะบุรุษกินบุญเก่าหมดไปวันๆ เมื่อเราได้ทำตามแล้วด้วยการดำริชอบและมีความเพียรชอบแล้ว องค์ธรรมอื่นในอริยมรรคก็จะเกิดขึ้นตามมาให้ผลในชีวิตของเรา เช่นการพูดจาชอบ,การทำการงานชอบ,การเลี้ยงชีวิตชอบ,(เป็นอธิศีล) บุญกุศลที่ได้ทำไว้แล้วนี้ จะทำให้มีความเจริญรุ่งเรื่อง มีสุขในชาตินี้ มีสุขในชาติหน้า และสุขอย่างยิ่งคือพระนิพพาน ดังนี้.



โดยหลวงพ่ออุดม มหาปุญโญ วัดป่าหนองเลง

หลวงปู่มั่นเล่าเรื่องพระธาตุพนม

หลวงปู่มั่นเล่าเรื่องพระธาตุพนมให้หลวงพ่อวิริยังค์ฟัง



~ ท่านอาจารย์มั่น ฯได้เล่าขณะที่ข้าพเจ้าทำหมากถวายท่านเวลากลางวันต่อไป
อีกว่า พวกเราก็ต้องเดินทางหลังจากออกพรรษาแล้ว รอนแรมตามฝั่งแม่น้ำโขงเรื่อยลงมา ณ ตามฝั่งแม่น้ำโขงนั้นก็มีหมู่บ้านเป็นหย่อมๆ หลายก๊ก เช่น ภูไท ไทยดำ ลาวโซ่ง

~ท่านเล่าว่า~

ภูไทมีศรัทธาดีกว่าทุกก๊ก แต่ภูไทนี้การภาวนาจิตใจอ่อน รวมง่าย รักษาไม่ใคร่เป็น ส่วนลาวโซ่งนั้นไม่ใคร่เอาไหนเลย แต่ทุก ๆ ก๊กก็ทำบุญนับถือพุทธทั้งนั้น เขาให้พวกเราได้มีชีวิตอยู่ก็นับว่าดี แต่ขณะนี้ตัวของเราเองก็ยังมองไม่เห็นธรรมของจริง ยังหาที่พึ่งแก่ตนยังไม่ได้ จะไปสอนผู้อื่นก็เห็นจะทำให้ตัวของเราเนิ่นช้า จึงไม่แสดงธรรมอะไร นอกจากเดินทางไป พักไป บำเพ็ญสมณธรรมไป ตามแต่จะได้
ครั้นแล้วท่านอาจารย์เสาร์ก็พาข้ามแม่น้ำโขงกลับประเทศไทย ที่ท่าข้ามตรงกับพระธาตุพนมพอดี

~ ท่านเล่าไปเคี้ยวหมากไปอย่างอารมณ์ดีว่า
ขณะนั้นพระธาตุพนมไม่มีใครเหลียวแลดอก มีแต่เถาวัลย์นานาชนิดปกคลุมจนมิดเหลือแต่ยอด ต้นไม้รกรุงรังไปหมด ทั้ง ๓ ศิษย์อาจารย์ก็พากันพักอยู่ที่นั้น เพื่อบำเพ็ญสมณธรรม ขณะที่ท่านอยู่กันนั้น พอตกเวลากลางคืนประมาณ ๔-๕ ทุ่ม จะปรากฏมีแสงสีเขียววงกลมเท่ากับลูกมะพร้าว และมีรัศมีสว่างเป็นทาง ผุดออกจากยอดพระเจดีย์ แล้วก็ลอยห่างออกไปจนสุดสายตา และเมื่อถึงเวลาก่อนจะแจ้ง ตี ๓-๔ แสงนั้นก็จะลอยกลับเข้ามาจนถึงองค์พระเจดีย์แล้วก็หายวับเข้าองค์พระเจดีย์ไป
ทั้ง ๓ องค์ศิษย์อาจารย์ได้เห็นเป็นประจักษ์เช่นนั้นทุกๆ วัน ท่านอาจารย์เสาร์ กนฺตสีลเถระ จึงพูดว่า "ที่พระเจดีย์นี้ต้องมีพระบรมสาริกธาตุอย่างแน่นอน"

~ในตอนนี้ผู้เขียนกับพระอาจารย์มั่น ฯ ได้เดินธุดงค์มาพักอยู่ที่วัดอ้อมแก้วมี ๒ องค์เท่านั้น และมีตาปะขาวตามมาด้วยหนึ่งคน ท่านจึงมีโอกาสเล่าเรื่องราวเบื้องหลังให้ข้าพเจ้าฟัง ซึ่งน่าจะเป็นประวัติศาสตร์ได้เป็นอย่างดี ผู้เขียนจำได้ว่าเป็นปีที่พระราชทานเพลิงศพพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีลเถระ คุณนายพวงจากจังหวัดอุบลราชธานี จะตีตั๋วให้ไปทางเครื่องบิน ท่านบอกว่า “เราจะเดินเอา” จึงได้พาผู้เขียนพร้อมด้วยตาปะขาวบ๊อง ๆ คนหนึ่งซึ่งไม่ค่อยจะเต็มเต็งเท่าไรนักไปด้วย เดินไปพักไป แนะนำธรรมะแก่ผู้เขียนไปพลาง จนไปถึงพระธาตุพนม เขตจังหวัดนครพนม แล้วท่านก็พาผู้เขียนพักอยู่ที่นี่และได้ฟังเรื่องราวของพระธาตุพนม ซึ่งจะได้เล่าสู่กันฟังต่อไปข้างหน้า โดยจะเล่าถึงการสถาปนาพระธาตุพนม

~ดังนั้น ท่านจึงได้ชักชวนญาติโยมทั้งหลายในละแวกนั้น ซึ่งก็มีอยู่ไม่กี่หลังคาเรือน และส่วนมากก็เป็นชาวนา ได้มาช่วยกันถากถางทำความสะอาดรอบบริเวณองค์พระเจดีย ์นั้น ได้พาญาติโยมทำอยู่เช่นนี้ถึง ๓ เดือนเศษๆ จึงค่อยสะอาด เป็นที่เจริญหูเจริญตามาตราบเท่าทุกวันนี้
เมื่อญาติโยมทำความสะอาดเสร็จแล้ว ท่านอาจารย์ก็พาญาติโยมในละแวกนั้นทำมาฆบูชา ซึ่งขณะนั้น ผู้คนแถวนั้นยังไม่รู้ถึงวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาแต่ อย่างใด ทำให้พวกเขาเหล่านั้นเกิดศรัทธาเลื่อมใสอย่างจริงจัง จนได้ชักชวนกันมารักษาอุโบสถ ฝึกหัดกัมมัฏฐานทำสมาธิกับท่านอาจารย์จนได้ประสบผลตา มสมควร การพักอยู่ในบริเวณของพระธาตุพนมทำให้จิตใจเบิกบานมาก และทำให้เกิดอนุสรณ์รำลึกถึงพระพุทธเจ้าได้อย่างดียิ่ง

น้ำกับทิฐิ

นานมาแล้วมีชายคนหนึ่งชื่อว่า...ทิฐิ... เขาเป็นคนที่มีนิสัยอวดดื้อถือดีไม่ต่างจากชื่อ เพราะเมื่อได้ลองเชื่อมั่นในสิ่งใดแล้ว ทิฐิคนนี้ก็จะยึดม...