วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เห็นทุกข์จึงเห็นธรรม



เห็นทุกข์จึงเห็นธรรม เรื่องโดย พระอาจารย์ชาญชัย อธิปญฺโญ

        มีคำกล่าวว่า ไม่เห็นทุกข์ ไม่เห็นธรรม คำกล่าวนี้หมายความว่าอย่างไร
โดยปกติแล้วคนเราเมื่อมีความสุข ก็หลงอยู่ในความสุขที่ตนมีอยู่ มีความประมาทว่าสถานภาพเช่นนี้คงจะดำรงอยู่ไปเรื่อยๆ ไม่เสื่อมทราม จึงไม่สนใจที่จะศึกษาธรรมะ เพราะไม่เข้าใจว่าธรรมะคืออะไร
ความไม่เข้าใจดังกล่าว ประกอบกับมีความเห็นผิด จึงดูหมิ่นดูแคลนธรรมะหรือดูหมิ่นดูแคลนพระพุทธศาสนา พระสงฆ์ ตลอดจนผู้ปฏิบัติธรรม
ครั้นเมื่อตนมีทุกข์ เป็นต้นว่า ต้องพลัดพรากจากบุคคลอันเป็นที่รักหรือของรัก เจ็บป่วยด้วยโรคร้าย ถูกเขาโกง ถูกเขากลั่นแกล้งให้ร้าย กดขี่ข่มเหง ธุรกิจตกต่ำ มีหนี้สินมากฯลฯ ก็หาทางดับทุกข์ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น เข้าหาอบายมุข หาหมอดูเจ้าเข้าทรง บนบานศาลกล่าว สะเดาะเคราะห์ แก้กรรม เปลี่ยนชื่อ ตั้งศาลพระภูมิ เปลี่ยนฮวงจุ้ย สารพัดอย่าง จนในที่สุดเมื่อวิธีการต่างๆดังกล่าวไม่อาจแก้ทุกข์หรือปัญหาที่มีอยู่ได้ ที่สุดก็หันมาพึ่งธรรมะ บางคนบวช บางคนปฏิบัติธรรม
เมื่อเข้ามาสู่กระแสธรรม ทุกข์นั้นก็บรรเทาเบาบางลงได้หรือดับลงได้ เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น
การเรียนรู้ธรรมะก็คือการเรียนรู้ความเป็นจริงของชีวิต
การปฏิบัติธรรม ก็คือการฝึกใจให้ยอมรับความเป็นจริงของชีวิต
ความเป็นจริงของชีวิตคืออะไร
ชีวิตของเรามีร่างกายกับจิตใจ ร่างกายของทุกคนมีทุกข์ติดมาด้วย เป็นต้นว่า ต้องหิว ต้องขับถ่าย ต้องปวดเมื่อยเมื่อยอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานๆ ต้องเหนื่อยล้าจากการทำงานหนัก ต้องง่วงเป็นต้น
ทุกข์ดังกล่าวมีอยู่ทุกวัน เราบำบัดได้ง่าย หรือป้องกันก่อนที่ทุกข์นั้นจะเกิดขึ้นก็ได้ เช่น กินก่อนหิว ขับถ่ายก่อนปวด เปลี่ยนอิริยาบถก่อนปวดเมื่อย พักผ่อนก่อนเหนื่อยล้า นอนก่อนง่วง เป็นต้น เมื่อเป็นเช่นนี้ เราจึงเห็นว่าเรื่องดังกล่าวไม่ใช่ความทุกข์ ทั้งๆ ที่อาการเหล่านี้เป็นความทุกข์อย่างหนึ่งของร่างกาย
สิ่งที่เราเห็นว่าเป็นความทุกข์ทางกายก็คือ ความแก่ ทำให้อวัยวะบางอย่างเสื่อม ไม่สามารถใช้การได้ตามปกติ ทำให้ช่วยตัวเองไม่ได้ ความเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง ทำให้เจ็บปวด ได้รับความทุกข์ทรมานและความตาย ซึ่งคนทั่วๆ ไปไม่อยากตาย เพราะไม่อยากพลัดพรากจากของรักของหวง
แต่ทุกคนก็ต้องแก่ ต้องเจ็บ และต้องตายด้วยกันทั้งนั้

วันอังคารที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2555

คำว่า ทาน

จากหนังสือธรรมปฏิบัติ เล่ม 12 โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤๅษี วัดท่าซุง)
อามิสทาน
คำว่า "ทาน" แปลว่า "การให้" การให้นี้มีอยู่ 2 อย่างด้วยกัน ที่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าท่านตรัสไว้ ให้สรรพสิ่งของต่างๆ อย่างนี้ พระพุทธเจ้าเรียกว่าอามิสทาน ได้แก่การให้วัตถุ จะเป็นเงินหรือวัตถุสิ่งของเครื่องใช้ เครื่องบริโภคก็ตาม เรียกว่าอามิสทานทั้งนั้น
ธรรมทาน
ทานอีกส่วนหนึ่งที่องค์สมเด็จพระภควันต์ทรงกล่าวก็ได้แก่ธรรมทาน ธรรมทานในที่นี้ก็ได้แก่การบอกธรรม คำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระชินวรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าชี้เหตุผลให้รู้ว่าอะไรดีอะไรชั่ว อย่างนี้เป็นต้นอย่างหนึ่ง อย่างนี้เขาเรียกว่าธรรมทาน
ธรรมทานอีกส่วนหนึ่งที่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้ากล่าวว่าสำคัญที่สุดจัดว่าเป็นปรมัตถทาน คือ เป็นทานที่ไม่ต้องลงทุน ก็ได้แก่ "อภัยทาน"
ทานทั้ง 2 อย่างนี้มีผลต่างกัน "อามิสทานนั้นให้ผลอย่างสูงก็แค่กามาวจรสวรรค์" ตามนัยที่องค์สมเด็จพระพิชิตมารตรัสไว้ว่า "ทานัง สัคคโส ปาณัง" คือว่า "การให้ทานย่อมเป็นปัจจัยเป็นบันไดไปสู่สวรรค์" นี่สำหรับอามิสทาน
แต่สำหรับธรรมทาน กล่าวคือ ให้ธรรมเป็นทานก็ดี ให้อภัยทานก็ดี ทานทั้ง 2 ประการนี้เป็นปัจจัยแห่งพระนิพพาน
สำหรับธรรมทาน ทานที่ 2 นี่มีความสำคัญมาก การให้ธรรมเป็นทาน กล่าวคือ
นำพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระชินวรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า เอามาแนะนำแก่บรรดาท่านพุทธบริษัทถ้าเทศน์เองไม่เป็นก็ไปหาคนอื่นมาเทศน์แทน อย่างนี้ก็ชื่อว่าเจ้าภาพเป็นผู้เทศน์เหมือนกัน เรียกว่าเอาคนมาพูดแทน
การให้ธรรมทานเป็นปัจจัยใหญ่ เพราะการให้ธรรมทานบุคคลได้ฟังแล้วจะเกิดปัญญา สิ่งใดที่ไม่เคยรู้มาแล้วก็จะได้มีความรู้ขึ้น เมื่อมีความรู้แล้วก็เกิดความมั่นใจ มีปัญญาเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ใด บุคคลนั้นก็เป็นผู้หลีกความทุกข์ได้
ถ้าปัญญามีมากก็หลีกความทุกข์ได้มาก ปัญญามีน้อยก็หลีกความทุกข์ได้น้อย ดีกว่าคนที่ไม่มีปัญญาเลย ไม่มีโอกาสจะหลีกความทุกข์ได้ นี่ว่ากันถึงธรรมทาน
อภัยทาน
ธรรมทานอีกส่วนหนึ่งที่มุ่งหมายจะเทศน์กันในวันนี้ก็คืออภัยทาน อภัยทานนี้เป็นการให้ทานที่ไม่ต้องลงทุนด้วยวัตถุแล้วก็เป็นทานสูงสุด
พระพุทธเจ้ากล่าวว่า "ใครเป็นผู้มีอภัยทานประจำใจ คนนั้นก็เป็นผู้เข้าถึงปรมัตถบารมีแล้ว"
คำว่าปรมัตถบารมีนี้เป็นบารมีสูงสุด เป็นบารมีที่จะทำให้เข้าถึงพระนิพพาน คำว่า "อภัยทาน" ก็ได้แก่ "การให้อภัยซึ่งกันและกัน" หมายความว่า คนใดก็ตาม เขาทำให้เราขุ่นเคือง ทำให้เราไม่ชอบใจด้วยกรณีใดๆ ก็ตาม ถ้าหากเราคำพิจารณาเข่นฆ่าจองล้างจองผลาญ ถ้าเขาด่าเรา เราคิดว่าโอกาสสักวันหนึ่งข้างหน้าเราจะด่าตอบ เขาลงโทษเรา เราจะลงโทษตอบ เขาตีเรา เราคิดว่าจะดีตอบ แต่โอกาสมันยังไม่มี คิดเข้าไว้ในใจว่าเราจะทำอันตรายตอบ อย่างนี้พระพุทธเจ้ากล่าวว่าเป็น อาฆาต คือ พยาบาท เป็นไฟเผาผลาญดวงจิต
เพราะคนที่เรากำลังคิดจะฆ่าก็ดี คิดจะประทุษร้ายก็ดีนี่เขายังไม่ทันรู้ตัว เขามีความสุข เราคนที่คิดจะทำเขานั่นแหละตั้งแต่แรกหาความสุขไม่ได้ คบไฟแห่งความพยาบาทมันเข้าเผาผลาญ มีแต่ความร้อนรุ่มกลุ้มใจ
คิดวางแผนการต่างๆ ว่า เราทำยังไงจึงจะแก้มือเขาได้ ทำยังไงเราจึงจะฆ่าเขาได้ ทำยังไงจึงจะตีเขาได้ ทำยังไงเราจึงจะด่าเขาได้ โดยคนอื่นเห็นว่าไม่มีความผิด อารมณ์ที่คิดอยู่อย่างนี้ ยังตัดสินใจไม่ได้ ยังทำไม่ได้ มันเป็นไฟเผาผลาญคนคิดนี่แหละ กินไม่ได้ นอนไม่หลับ เพราะอำนาจโทสะเข้าสิงใจ
นี่อำนาจโทสะหรือพยาบาทมันเริ่มเผาผลาญตั้งแต่คิด แต่คนที่ถูกคิดประทุษร้ายนั้นเขายังมีความสุข ทีนี้ถ้าเราไปทำเขาเข้าอีก ไอ้โทษมันก็จะหนักขึ้น ทำเขาเข้าอีก เขาก็จะแก้มือใหญ่ ถ้าเขาไม่แก้มือ ทางกฏหมายก็ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือความทุกข์ใหญ่ก็จะเกิดขึ้น.
ที่มา : หนังสือธรรมปฏิบัติ เล่ม 12 โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน

มีความสุข...อย่างไร??

หนังสือ time magazine บอกว่า ที่อเมริกา
มีงานวิจัยพบว่าคนที่มีความสุขมากที่สุดในโลก คือพระในพุทธศาสนา
โดย ทดสอบด้วยการ สแกนสมองพระที่ทำสมาธิและได้ผลลัพธ์ออกมาว่าเป็นจริง

+ หลักความเชื่อของศาสนาพุทธ คือ เหตุที่ทำให้เกิดความสุข
นั้นก็คืออยู่กับปัจจุบัน ขณะปล่อยวางได้ในสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว
ควบคุมความอยาก ที่ไม่มีสิ้นสุด

+ ไม่ใช้ความรุนแรง ไม่ทะเลาะ และใช้หลักเวรย่อมระงับด้ วยการไม่จองเวร
ให้อภัยตัวเองและผู้อื่น มีจิตใจเมตตา กรุณา และเสียสละเพื่อผู้อื่น

+ อริยะ สัจ 4 สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงค้ นพบและบอกไว้ด้วย ทุกข์ สมุทัย
นิโรธ มรรค แท้จริงแล้วก็คือทางเดินไปหาคำว่า "ความ สุข"
เพราะ ถ้าเมื่อไรเรา กำจัด "ความ ทุกข์" ได้ แล้วความสุขก็ จะเกิดขึ้น

+ อุปสรรค ของความสุขก็ คือแรงปรารถนา และ ตัณหา
คนเราจะมีความสุขไม่ขึ้นอยู่กับว่า"มี เท่าไร"
แต่ ขึ้นอยู่ที่ว่า เรา "พอ เมื่อไร" ความ สุขไม่ได้ขึ้น กับจำนวนสิ่ง
ของที่เรามี หรือเราได้...

+ ดังนั้นวิธีจะมี ความสุขอันดับ แรกต้อง "หยุด ให้เป็น และ พอใจให้ได้"
ถ้า เราไม่หยุดความอยากของเราแล้วละก็
เรา ก็จะต้องวิ่ง ไล่ตามหลายสิ่ง ที่เรา "อยาก ได้" แล้ว นั่นมันเหนื่อย
และความทุกข์ ก็จะตามมา...

+ ข้อ ต่อมาที่ทำให้ เราเป็นสุขคือ การมองทุกอย่าง ในแง่บวก
ชีวิตแต่ละวัน แน่นอนเราต้อง เจอทั้งเรื่องดีและไม่ดี
ถ้าเราอยากจะมีความสุข เราต้องเริ่มด้วยการมองแต่สิ่งดีๆ มองให้เป็นบวก
เพื่อใจเราจะได้ เป็นบวก คิดถึงสิ่งที่เราทำสำเร็จแล้วในวันนี้
สิ่งดีๆที่เราได้ทำ

+ ข้อ ต่อมาคือการให้ หมายรวมถึงการให้ในรูปแบบ สิ่งของหรือ เงิน
เรียกว่าบริจาค และการให้ความเมตตากรุณาต่อกัน
ให้ อภัยทั้งตัวเองและคนอื่น สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัย
ทำให้เรามีความ สุข....

+ การ ปล่อยวางให้ได้ ในทุกสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว
และที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต ไม่ว่าเรื่องจะ ร้ายแรงและ เศร้าโศกเพียงใด
จำไว้ว่ามันจะโดนเวลาพัดพามันไปจากเรา ไม่ช้าก็ เร็ว
เราจะผ่านพ้นไปได้....และยอมรับในความเป็นจริงของชีวิต
ไม่ ว่าจะเป็น เรื่องที้เราไม่ชอบเพียงใด ไม่ว่าผิดหวัง สูญเสีย เจ็บป่วย
ล้วนแล้วแต่เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเรา
ทุกคนต้องได้ผ่านบททดสอบนี้ทั้งสิ้น ไม่ว่าเราจะเป็นใคร...

+ ทำตนเองให้สดใส ด้วยการยิ้มให้ตนเอง ทำคนอื่นให้สดใสได้
ด้วยการยิ้มให้เขา การยิ้มไม่ต้องลงทุนอะไรเลย
แต่สร้างความสดใสได้มาก ทำให้เราเป็น สุขอยู่เสมอ
เพราะความสุขมันอยู่ใกล้แค่นี้เอง แค่ที่ใจข องเรานี่เอง
ยิ้มแย้มอย่างแจ่มใส เห็นใครทักก่อน
นี่คือ.. วิธีแสดงเสน่ห์แบบง่ายๆ แต่ให้ผลมาก

การให้อภัยไม่ต้องลงทุนอะไรเลย แต่การแก้แค้นลงทุนมาก
เขาด่าว่าเราไม่ถึงนาที เขาอาจลืมไปแล้วด้วย แต่เรายังจดจำ
ยังเจ็บใจอยู่... นี่เราฉลาดหรือโง่กันแน่
บ่นแล้วหมดปัญหาก็น่าบ่น บ่นแล้วมีปัญหา ไม่รู้จะบ่นหาอะไร
เรายังเคยเข้าใจผิดผู้อื่น ถ้าคนอื่นเข้าใจเราผิดบ้าง
ก็ใช่ว่าจะเป็นเรื่องแปลกอะไร ทำไมต้องเศร้าหมอง
ในเมื่อเราไม่ได้เป็นอย่างที่ใครเข้าใจ
อย่าโกรธฟุ่มเฟือย อย่าโกรธจุกจิก อย่าโกรธไม่เป็นเวลา อย่าโกรธมาก
จะเสียสุขภาพกาย และสุขภาพจิต
แม้จะฝึกให้เป็นผู้ไม่โกรธไม่ ได้ แต่ฝึกให้เป็นผู้ไม่โกรธบ่อยได้
ฝึกให้เป็นผู้รู้จักให้อภัยได้
การนินทาว่าร้ายเป็นเรื่ องของเขา การให้อภัยเป็นเรื่องของเรา
การชอบพูดถึงความดีของเขา คือความดีของเรา การชอบพูดถึงความไม่ดีของเขา
คือความไม่ดีของเรา
โทษคนอื่นแก้ไขอะไรไม่ได้ โทษตนเองแก้ไขได้
แก้ตัวไม่ได้ช่วยอะไร แต่แก้ไขช่วยให้ดีขึ้น
การนอนหลับเป็นการพักกาย การทำสมาธิเป็นการพักใจ คนส่วนใหญ่พักแต่กาย ไม่ค่อย
พักใจ
รู้จักทำใจให้รักผู้บังคับบัญชา รู้จักทำใจให้รักลูกน้อง
รู้จักทำใจให้รักเพื่อนร่วมงาน
สวรรค์ก็อยู่ที่ทำงาน
เกลียดผู้บังคับบัญชา เกลียดลูกน้อง เกลียดผู้ร่วมงาน นรก ก็อยู่ที่ทำงาน
การที่เรายังต้องแสวงหาความสุข แสดงว่าเรายังขาดความสุข
แต่ถ้าเรารู้จักทำใจให้เป็นสุขได้เอง ก็ไม่ต้องไปดิ้นรนแสวงหาที่ไหน
อ่อนน้อม อ่อนโยน อ่อนหวาน นั้นดี.... อ่อนข้อให้เขาบ้างก็ยังดี
แต่...อ่อนแอนั้น ไม่ดี
ในการคบคน ศิลปะใดๆ ก็สู้ความจริงใจไม่ได้
จงประหยัด คำติ แต่อย่าตระหนี่ คำชม
อภัยให้แก่กันในวันนี้ ดีกว่าอโหสิให้กันตอนตาย
ถ้าคิดทำความดี ให้ทำได้ทันที
ถ้าคิดทำความชั่ว ให้เลิกคิดทันที
ถ้าเลิกคิดไม่ได้ ก็อย่าทำวันนี้
ให้พลัดวันไปเรื่อยๆ
ถึงจะรู้ร้อยเรื่องพันเรื่อง ก็ไม่สู้รู้เรื่องดับทุกข์
โลกสว่างด้วยแสงไฟ ใจสว่างด้วยแสงธรรม
แสงธรรมส่องใจ แสงไฟส่องทาง
ผู้สนใจธรรม สู้ผู้รู้ธรรมไม่ได้
ผู้รู้ธรรม สู้ผู้ปฎิบัติธรรมไม่ได้
ผู้ปฎิบัติธรรม สู้ผู้ที่เข้าถึงธรรมไม้ได้
มีทรัพย์มาก ย่อมมีความสะดวกมาก
มีธรรมะมาก ย่อมมีความสุขมาก
เมื่อก่อนยังไม่มีเรา
เราเพิ่งมีมาเมื่อไม่นานมานี้เอง
และอีกไม่นานก็จะไม่มีเราอีก
จึงควรรีบทำดี ในขณะที่ยังมี...เรา
" ขอขอบคุณ ผู้ที่ได้จัดทำบทความนี้ จึงขอ ส่งต่อ ให้เพื่อนๆๆ
เพื่อให้มีสติมากขึ้น และพร้อมที่ จะสู้ต่อไป

วันพุธที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2555

วันเข้าพรรษา



วันเข้าพรรษา เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนาวันหนึ่ง ที่พระสงฆ์อธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดช่วงฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น
          "เข้าพรรษา" แปลว่า "พักฝน" หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่น ๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน คือ เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี เรียกว่า "ปุริมพรรษา"
          ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือนแปดหลัง และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เรียกว่า "ปัจฉิมพรรษา" เว้นแต่มีกิจธุระคือเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในเดียวนั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืน เรียกว่า "สัตตาหะ" หากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์แห่งการจำพรรษา จัดว่าพรรษาขาด
          สำหรับข้อยกเว้นให้ภิกษุจำพรรษาที่อื่นได้ โดยไม่ถือเป็นการขาดพรรษา เว้นแต่เกิน 7 วัน ได้แก่
          1.การไปรักษาพยาบาลภิกษุ หรือบิดามารดาที่เจ็บป่วย
          2.การไประงับภิกษุสามเณรที่อยากจะสึกมิให้สึกได้
          3.การไปเพื่อกิจธุระของคณะสงฆ์ เช่น การไปหาอุปกรณ์มาซ่อมกุฏิที่ชำรุด
          4.หากทายกนิมนต์ไปทำบุญ ก็ไปฉลองศรัทธาในการบำเพ็ญกุศลของเขาได้

          นอกจากนี้หากระหว่างเดินทางตรงกับวันหยุดเข้าพรรษาพอดี พระภิกษุสงฆ์เข้ามาทันในหมู่บ้านหรือในเมืองก็พอจะหาที่พักพิงได้ตามสมควร แต่ถ้ามาไม่ทันก็ต้องพึ่งโคนไม้ใหญ่เป็นที่พักแรม ชาวบ้านเห็นพระได้รับความลำบากเช่นนี้ จึงช่วยกันปลูกเพิง เพื่อให้ท่านได้อาศัยพักฝน รวมกันหลาย ๆ องค์ ที่พักดังกล่าวนี้เรียกว่า "วิหาร" แปลว่า ที่อยู่สงฆ์ เมื่อหมดแล้ว พระสงฆ์ท่านออกจาริกตามกิจของท่านครั้ง ถึงหน้าฝนใหม่ท่านก็กลับมาพักอีก เพราะสะดวกดี แต่บางท่านอยู่ประจำเลย บางทีเศรษฐีมีจิตศัรทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ก็เลือกหาสถานที่สงบเงียบไม่ห่างไกลจากชุมชนนัก สร้างที่พัก เรียกว่า "อาราม" ให้เป็นที่อยู่ของสงฆ์ดังเช่นปัจจุบันนี้
          ทั้งนี้ โดยปกติเครื่องใช้สอยของพระตามพุทธานุญาตให้มีประจำตัวนั้น มีเพียงอัฏฐบริขาร อันได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ เข็ม บาตร รัดประคด หม้อกรองน้ำ และมีดโกน และกว่าพระท่านจะหาที่พักแรมได้ บางทีก็ถูกฝนต้นฤดูเปียกปอนมา ชาวบ้านที่ใจบุญจึงถวายผ้าอาบน้ำฝนสำหรับให้ท่านได้ผลัดเปลี่ยน และถวายของจำเป็นแก่กิจประจำวันของท่านเป็นพิเศษในเข้าพรรษา นับเป็นเหตุให้มีประเพณีทำบุญเนื่องในวันนี้สืบมา...
          อย่างไรก็ตาม แม้การเข้าพรรษาจะเป็นเรื่องของพระภิกษุ แต่พุทธศาสนิกชนก็ถือเป็นโอกาสดีที่จะได้ทำบุญรักษาศีล และชำระจิตใจให้ผ่องใส ก่อนวันเข้าพรรษาชาวบ้านก็จะไปช่วยพระทำความสะอาดเสนาสนะ ซ่อมแซมกุฏิวิหารและอื่น ๆ พอถึงวันเข้าพรรษาก็จะไปร่วมทำบุญตักบาตร ถวายเครื่องสักการะบูชา ดอกไม้ ธูปเทียน และเครื่องใช้ เช่น สบู่ ยาสีฟัน เป็นต้น พร้อมฟังเทศน์ ฟังธรรม และรักษาอุโบสถศีลกันที่วัด บางคนอาจตั้งใจงดเว้นอบายมุขต่าง ๆ เป็นกรณีพิเศษ เช่น งดเสพสุรา งดฆ่าสัตว์ เป็นต้น อนึ่ง บิดามารดามักจะจัดพิธีอุปสมบทให้บุตรหลานของตน โดยถือกันว่าการเข้าบวชเรียนและอยู่จำพรรษาในระหว่างนี้จะได้รับอานิสงส์อย่างสูง

วันเข้าพรรษา
          นอกจากนี้ ยังมีประเพณีสำคัญที่ขาดไม่ได้เลย คือ "ประเพณีหล่อเทียนเข้าพรรษา" ประเพณีที่กระทำกันเมื่อใกล้ถึงฤดูเข้าพรรษา ซึ่งมีมาตั้งแต่โบราณกาล การหล่อเทียนเข้าพรรษานี้ มีอยู่เป็นประจำทุกปี เพราะในระยะเข้าพรรษา พระภิกษุจะต้องมีการสวดมนต์ทำวัตรทุกเช้า – เย็น และในการนี้จะต้องมีธูป - เทียนจุดบูชาด้วย พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย จึงพร้อมใจกันหล่อเทียนเข้าพรรษาสำหรับให้พระภิกษุจุดเป็นการกุศลทานอย่างหนึ่ง เพราะเชื่อกันว่าในการให้ทานด้วยแสงสว่าง จะมีอานิสงฆ์เพิ่มพูนปัญญาหูตาสว่างไสว ตามชนบทนั้น การหล่อเทียนเข้าพรรษาทำกันอย่างเอิกเกริกสนุกสนานมาก เมื่อหล่อเสร็จแล้ ก็จะมีการแห่แหน รอบพระอุโบสถ 3 รอบ แล้วนำไปบูชาพระตลอดระยะเวลา 3 เดือน บางแห่งก็มีการประกวดการตกแต่ง มีการแห่แหนรอบเมืองด้วยริ้วขบวนที่สวยงาม โดยถือว่าเป็นงานประจำปีเลยทีเดียว 
          ทั้งนี้ ในปี 2555 นี้ "วันเข้าพรรษา" จะตรงกับวันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ.2555

วันเข้าพรรษา
 กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันเข้าพรรษา
          ร่วมกิจกรรมทำเทียนจำนำพรรษา
          ร่วมกิจกรรมถวายผ้าอาบน้ำฝน และจตุปัจจัย แก่พระภิกษุสามเณร
          ร่วมทำบุญ ตักบาตร ฟังธรรมเทศนา รักษาอุโบสถศีล
          อธิษฐานงดเว้นอบายมุขต่าง ๆ


ที่มา กระปุก ดอทคอม

น้ำกับทิฐิ

นานมาแล้วมีชายคนหนึ่งชื่อว่า...ทิฐิ... เขาเป็นคนที่มีนิสัยอวดดื้อถือดีไม่ต่างจากชื่อ เพราะเมื่อได้ลองเชื่อมั่นในสิ่งใดแล้ว ทิฐิคนนี้ก็จะยึดม...