นานมาแล้วมีชายคนหนึ่งชื่อว่า...ทิฐิ... เขาเป็นคนที่มีนิสัยอวดดื้อถือดีไม่ต่างจากชื่อ เพราะเมื่อได้ลองเชื่อมั่นในสิ่งใดแล้ว ทิฐิคนนี้ก็จะยึดมั่นถือมั่นในสิ่งนั้นไม่เปลี่ยน และจะไม่ยอมรับฟังข้อคิดเห็นที่ผิดไปจากความเชื่อเดิมโดยเด็ดขาด แม้ว่านี่จะแสดงให้เห็นถึงความเป็นคนเอาจริงเอาจังและเคร่งครัดกับชีวิต แต่บางครั้งเขาก็ดื้อรั้นมากเกินไปจนขาดเหตุผล และทำให้สูญเสียสิ่งดีๆ ในชีวิตไปมากมาย โดยที่เขาเองก็ไม่เคยรู้มาก่อน
เนื่องจากทิฐิไม่ใช่คนร่ำรวย ดังนั้นเขาจึงต้องทำงานหนักเพื่อหาเงินมาใช้จ่าย จนกระทั่งมีฐานะขึ้นมาในระดับหนึ่งแล้ว ทิฐิจึงคิดที่จะหยุดพักตัวเองจากการงาน แล้วเดินทางไปเรื่อยๆ เพื่อเที่ยวชมโลกกว้าง
เมื่อตัดสินใจได้ดังนั้น ทิฐิจึงจัดการฝากบ้านไว้กับญาติพี่น้อง แล้วเก็บสัมภาระออกเดินทางทันที
ทิฐิเดินทางไปยังที่ต่างๆ ชมนั่นแลนี่ และพูดคุยกับผู้คนที่อยู่ในที่เหล่านั้นมากมาย การท่องโลกกว้างของทิฐิน่าจะทำให้เขามีความรู้ดีๆ หรือเกิดทัศนคติใหม่ๆ ขึ้นมาบ้าง แต่เมื่อไรก็ตามที่มีคนกล่าวคำซึ่งผิดไปจากความรู้หรือความเชื่อมั่นเดิมของเขา ทิฐิก็จะรีบกล่าวแก่คนคนนั้นทันทีว่า... “นั่นไม่ถูกเลยนะ ที่จริงแล้วมันต้องเป็นดังที่ข้ารู้มาต่างหาก”
สิ่งนี้เองทำให้การเดินทางไปทั่วโลกของเขา แทบจะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใดขึ้นในชีวิตของเขาเลย
จนกระทั่งวันหนึ่ง ทิฐิได้พลัดหลงเข้าไปในดินแดนแห่งทะเลทรายอันแสนแห้งแล้ง และไร้ผู้คนสัญจร เขาหลงทางอยู่ในดินแดนแห่งนั้นสามวันสามคืน จนกระทั่งอาหารและน้ำดื่มร่อยหรอและหมดลงในที่สุด ทิฐิจึงเดินต่อไปไม่ไหว เขาล้มลงนอนบนผืนทรายอย่างคนสิ้นเรี่ยวแรง
แต่ทิฐิยังไม่อยากตายตอนนี้ ดังนั้นแม้ร่างกายจะอ่อนระโหยโรยแรงขนาดไหน แต่เขาก็รวบรวมพลังใจของตนเฝ้ากล่าวคำภาวนาขอความเมตตาจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ช่วยเหลือเขาด้วย
“ข้าแต่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ได้โปรดเมตตาข้า ผู้ซึ่งไม่เคยเบียดเบียนใคร ขอทรงประทานน้ำมาให้ข้าได้รักษาชีวิตของตนเองไว้ แม้เพียงหนึ่งหยดก็ยังดี”
แล้วในตอนนั้นเอง ทิฐิก็เห็นชายแปลกหน้าชาวเยอรมันคนหนึ่งเดินตรงมาหาเขา ทิฐิดีใจสุดจะกล่าว แล้วรีบพูดขึ้นทันทีว่า.. “โอ..ท่านผู้เป็นความหวังของข้า โปรดแบ่งน้ำของท่านให้ข้าดื่มด้วยเถิด”
ชายคนนั้นยื่นถุงหนังสีน้ำตาลในมือของเขาให้แก่ทิฐิ แล้วกล่าวว่า... “นี่คือ วาสซ่าร์ จงดื่มเสียสิ”
แต่ทิฐิไม่อยากได้วาสซ่าร์ เขาอยากได้น้ำ ดังนั้นเขาจึงปฏิเสธที่จะรับถุงหนังสีน้ำตาลจากชายแปลกหน้าคนนั้น ชายคนนั้นจึงเดินจากไป
ทิฐิภาวนาต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์อีกครั้ง คราวนี้มีชายชาวจีนคนหนึ่งเดินถือถุงหนังสีแดงเข้ามายื่นให้แก่ทิฐิ
“นี่คือ น้ำใช่หรือไม่” ทิฐิถามชายชาวจีน
“นี่คือ ซือจุ้ย จงดื่มเสียสิ” ชายชาวจีนตอบ
ทิฐิรู้สึกไม่พอใจ ตอนนี้เขากระหายน้ำมากเหลือเกินแล้ว แต่ทำไมชายผู้นี้จึงนำซือจุ้ย มามอบให้แก่เขาเล่า ทิฐิจึงปฏิเสธถุงหนังสีแดงของชายชาวจีน ชายชาวจีนจึงเดินจากไป
ทิฐิเริ่มภาวนาถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์อีก และครั้งนี้มีผู้หญิงชาวอินเดียคนหนึ่งมาปรากฏกายตรงหน้าของเขาในแทบจะทันที
“เธอผู้มีใจเมตตา ขอน้ำให้ข้าดื่มหน่อยเถิด” ทิฐิพึมพำคำอ้อนวอนออกจากริมฝีปากที่แห้งผาก
“นี่คือ ปานี จงดื่มเสียสิ” หญิงชาวอินเดียกล่าวพร้อมกับยื่นถุงหนังสีเขียวให้แก่ทิฐิ แต่นั่นทำให้ทิฐิโกรธมาก เขารวบรวมเรี่ยวแรงทั้งหมดที่มียกแขนปัดถุงหนังสีเขียวให้พ้นหน้า แล้วพูดอย่างโกรธเคืองว่า
“ข้าไม่เอาของของเจ้า ข้าจะตายเพราะขาดน้ำอยู่แล้ว ข้าต้องการน้ำเท่านั้น”
หญิงอินเดียเมื่อได้ฟังดังนั้นก็เดินจากไปอีกคน ทิฐิเฝ้าอ้อนวอนขอสิ่งศักดิ์สิทธิ์อีกครั้ง แต่คราวนี้ไม่มีใครนำอะไรมายื่นให้เขาอีกแล้ว จิตของทิฐิกำลังหลุดลอยออกจากร่างที่ใกล้แตกดับ แล้วในตอนนั้นเองเสียงเสียงหนึ่งก็ดังแว่วๆ ให้ได้ยินว่า
“ทิฐิคนถือดีเอ๋ย เราช่วยเจ้าแล้ว แต่เจ้ากลับไม่เคยให้โอกาสตนเองเลย หากเจ้าเปิดใจกว้าง และยอมรับในข้อดีของสิ่งที่ไม่คุ้นเคยเสียบ้าง เจ้าก็คงรู้ว่าสิ่งที่อยู่ในถุงหนังทั้งสามนั้น ต่างก็เป็นน้ำดื่มบริสุทธิ์ทั้งสิ้น”
เมื่อสิ้นเสียงแว่วนั้น ทิฐิคนถือดีก็สิ้นลมหายใจทันที...
๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐
เรื่องราวของทิฐินั้น สอนให้เราเปิดตาตนเองให้กว้าง แล้วมองสิ่งต่างๆ รอบตัวด้วยสายตาและหัวใจที่ไร้อคติ หากเราปิดกั้นหัวใจและสายตาไว้ เราก็อาจพลาดสิ่งดีๆ ในชีวิตไปอย่างน่าเสียดาย ซึ่งบางครั้งสิ่งดีๆ เหล่านั้นก็อาจจะไม่หวนกลับมาหาเราอีกแล้วก็เป็นได้
วันอังคารที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
กรรมมีความหมาย 2 นัย
กรรมมีความหมาย 2 นัย คือ ความหมายในทางโลกและความหมายในทางธรรม
ทางโลก...หมายถึง การกระทำต่างๆ จะโดยเจตนาหรือไม่เจตนาก็ตาม ผู้ทำจะได้รับผลตอบสนองตามเหตุปัจจัย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกฎหมาย วัฒนธรรม จารีตประเพณี ค่านิยม ของแต่ละท้องถิ่น ตลอดจนความพอใจของแต่ละบุคคล
ทางธรรม...หมายถึง การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลายเจตนาเรียกว่ากรรม..
ผลของกรรมในทางธรรมที่จะตอบสนองผู้กระทำเรียกว่า..วิบาก
ส่วน..เวร..ที่มักใช่คู่กับกรรม หมายถึง ความแค้น หรือคิดแก้แค้นผู้ที่ทำร้าย ความผูกใจพยาบาทต่อกัน เช่น จองเวร นอกจากนี้ยังหมายถึง..หนี้กรรม..ที่จะต้องชดใช้ หากใช้ยังไม่หมดเรียกว่า..ยังไม่หมดเวร หากใช้หมดแล้วเรียกว่า..หมดเวร
ตัวอย่างความแตกต่างระหว่างกรรมทางโลกกับทางธรรมก็คือ...
สมมติว่า..นายแดงจอดรถยนต์ไว้หน้าบ้านของนายดำ มีลูกหมาที่น่ารักของนายดำนอนอยู่ใต้ท้องรถ โดยที่นายแดงไม่รู้ นายแดงขับรถออกไปทับลูกหมาตายโดยไม่เจตนา ในทางธรรมนายแดงไม่ได้ทำกรรม การกระทำของนายแดงไม่บาป ไม่มีวิบากกรรมที่นายแดงจะต้องชดใช้จากการขับรถทับลูกหมาตาย
แต่ในทางโลก การกระทำของนายแดงถือว่าเป็นกรรม นายดำซึ่งเป็นเจ้าของลูกหมาโกรธนายแดงมาก นายดำอาจจะต่อว่าด่านายแดง หรือเรียกค่าเสียหายเป็นเงินได้ หากนายแดงไม่ยอม นายดำอาจจะทำร้าย หรือนำเรื่องไปฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย นายแดงจะต้องชดใช้ค่าเสียหายหรือไม่ขึ้นอยู่กับกฎหมายแต่ละประเทศ ดังนี้เป็นต้น
หรืออีกกรณีหนึ่ง นางแม้นเป็นแม่ค้าขายปลา นางแม้นจึงฆ่าปลาอยู่เป็นประจำ กรรมที่นางแม้นทำในทางโลกไม่ผิดกฎหมาย ไม่ต้องรับโทษ สังคมก็ไม่ตำหนิ เพราะถือเป็นอาชีพสุจริต
แต่ในทางธรรม การกระทำของนางแม้นถือว่าเป็นกรรม เป็นบาป ผิดศีลข้อฆ่าสัตว์ วิบากกรรมที่นางแม้นทำ จะตามสนองนางแม้นทั้งในชาตินี้และชาติหน้า เป็นผลให้นางแม้นมีปัญหาเรื่องสุขภาพ ถ้าทุบหัวปลาเป็นประจำนางแม้นจะเป็นโรคปวดหัว หรือถูกทำร้ายที่หัว นอกจากนี้กรรมที่ทำส่งผลให้นางแม้นอายุสั้น มีโรคประจำตัวด้วย
จะเห็นความแตกต่างระหว่างกรรทางโลก กับทางธรรมได้ชัดเจนด้วยความแตกต่างดังกล่าว จึงทำให้คนบางคนไม่เชื่อเรื่องผลกรรม ที่ว่า..ทำดี-ได้ดี ทำชั่ว-ได้ชั่ว เพราะเข้าใจเรื่องกรรมผิดไป
เช่นนายขาวเป็นผู้มีอิทธิพล ค้าของเถื่อน คอรัปชั่น การกระทำของนายขาว ผิดทั้งทางโลกและทางธรรม แต่เนื่องจากนายขาวเป็นผู้มีอิทธิพล จึงไม่ถูกกฎหมายลงโทษ นายขาวมีฐานะร่ำรวยเป็นเศรษฐีมีความเป็นอยู่ที่สะดวกสบาย มีคนนับหน้าถือตาในสังคม คนทั่วไปก็รู้ว่านายขาวค้าของเถื่อน คอรัปชั่น ถึงแม้ในใจจะไม่ชอบนายขาว แต่เมื่อพบหน้านายขาวก็แสดงความเคารพนอบน้อม ยกย่องให้เกียรติตามมารยาท ขณะเดียวกันก็มีความเห็นว่า นายขาวทำชั่วแต่กลับได้ดี ตัวอย่างที่กล่าวมานี้มีอยู่มากมายในสังคมไทย ทำให้คนส่วนหนึ่งไม่เชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม กลับเห็นว่า..ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป
ในทางธรรม นายขาวทำชั่วผิดศีล จะต้องได้รับผลร้ายตอบแทนอย่างแน่นอน เงินที่ได้มาอย่างไม่สุจริตเป็นเงินร้อน จะนำความวิบัติมาสู่นายขาว ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เป็นต้นว่า จะทำให้คนในครอบครัวของนายขาวเป็นคนฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย ใช้เงินอย่างไม่ประหยัด ลูกนายขาวอาจชอบเที่ยวเตร่ เสเพล เกียจคร้าน ไม่สนใจการเรียน หมกมุ่นในอบายมุข กล่าวโดยสรุปก็คือ..เสียคน ทำให้นายขาวและภรรยาทุกข์ใจ นอกจากนี้ลูกเห็นพ่อโกง ต่อไปลูกก็จะโกง สำหรับตัวนายขาวเองก็จะเข้าสังคมที่ฟุ้งเฟ้อ มีเมียหลายคน เมียหลวงนายขาวก็อาจจะประชดสามี ออกนอกบ้านไปมีชู้ ทำให้ครอบครัวแตกแยกขาดความอบอุ่น มีแต่เรื่องบาดหมางทุกข์ใจ หรือในบั้นปลาย นายขาวอาจจะเสื่อมลาภ เสื่อมยศ ถูกนินทา มีทุกข์มาก เพราะมีชีวิตตกต่ำ มีโรคภัยไข้เจ็บตามมา พฤติกรรมเช่นนี้มีให้เห็นอยู่ไม่น้อยในสังคม
ยิ่งไปกว่านั้นวิบากกรรมที่ทำไว้ จะส่งผลให้บั้นปลายชีวิตของนายขาว พบกับเรื่องร้ายนานาประการ ผลของกรรมยังตามไปสนองในชาติหน้า นายขาวอาจจะไปเกิดในอบายภูมิ เป็นสัตว์นรก เปรต อสุรกาย หรือสัตว์เดรัจฉาน รับเคราะห์กรรมไปนาน เงินทองที่ได้จากการทำชั่ว ใช้อยู่ไม่นานก็หมด เมื่อตายไปก็เอาไปไม่ได้สักสตางค์ แต่จะต้องไปใช้กรรมหนักหนาสาหัสไม่คุ้มกันเลย..
๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐
ทำดีกันให้มากๆ นะครับ ตายไปจะพาไปขึ้นสวรรค์จ๊ะ
ทางโลก...หมายถึง การกระทำต่างๆ จะโดยเจตนาหรือไม่เจตนาก็ตาม ผู้ทำจะได้รับผลตอบสนองตามเหตุปัจจัย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกฎหมาย วัฒนธรรม จารีตประเพณี ค่านิยม ของแต่ละท้องถิ่น ตลอดจนความพอใจของแต่ละบุคคล
ทางธรรม...หมายถึง การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลายเจตนาเรียกว่ากรรม..
ผลของกรรมในทางธรรมที่จะตอบสนองผู้กระทำเรียกว่า..วิบาก
ส่วน..เวร..ที่มักใช่คู่กับกรรม หมายถึง ความแค้น หรือคิดแก้แค้นผู้ที่ทำร้าย ความผูกใจพยาบาทต่อกัน เช่น จองเวร นอกจากนี้ยังหมายถึง..หนี้กรรม..ที่จะต้องชดใช้ หากใช้ยังไม่หมดเรียกว่า..ยังไม่หมดเวร หากใช้หมดแล้วเรียกว่า..หมดเวร
ตัวอย่างความแตกต่างระหว่างกรรมทางโลกกับทางธรรมก็คือ...
สมมติว่า..นายแดงจอดรถยนต์ไว้หน้าบ้านของนายดำ มีลูกหมาที่น่ารักของนายดำนอนอยู่ใต้ท้องรถ โดยที่นายแดงไม่รู้ นายแดงขับรถออกไปทับลูกหมาตายโดยไม่เจตนา ในทางธรรมนายแดงไม่ได้ทำกรรม การกระทำของนายแดงไม่บาป ไม่มีวิบากกรรมที่นายแดงจะต้องชดใช้จากการขับรถทับลูกหมาตาย
แต่ในทางโลก การกระทำของนายแดงถือว่าเป็นกรรม นายดำซึ่งเป็นเจ้าของลูกหมาโกรธนายแดงมาก นายดำอาจจะต่อว่าด่านายแดง หรือเรียกค่าเสียหายเป็นเงินได้ หากนายแดงไม่ยอม นายดำอาจจะทำร้าย หรือนำเรื่องไปฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย นายแดงจะต้องชดใช้ค่าเสียหายหรือไม่ขึ้นอยู่กับกฎหมายแต่ละประเทศ ดังนี้เป็นต้น
หรืออีกกรณีหนึ่ง นางแม้นเป็นแม่ค้าขายปลา นางแม้นจึงฆ่าปลาอยู่เป็นประจำ กรรมที่นางแม้นทำในทางโลกไม่ผิดกฎหมาย ไม่ต้องรับโทษ สังคมก็ไม่ตำหนิ เพราะถือเป็นอาชีพสุจริต
แต่ในทางธรรม การกระทำของนางแม้นถือว่าเป็นกรรม เป็นบาป ผิดศีลข้อฆ่าสัตว์ วิบากกรรมที่นางแม้นทำ จะตามสนองนางแม้นทั้งในชาตินี้และชาติหน้า เป็นผลให้นางแม้นมีปัญหาเรื่องสุขภาพ ถ้าทุบหัวปลาเป็นประจำนางแม้นจะเป็นโรคปวดหัว หรือถูกทำร้ายที่หัว นอกจากนี้กรรมที่ทำส่งผลให้นางแม้นอายุสั้น มีโรคประจำตัวด้วย
จะเห็นความแตกต่างระหว่างกรรทางโลก กับทางธรรมได้ชัดเจนด้วยความแตกต่างดังกล่าว จึงทำให้คนบางคนไม่เชื่อเรื่องผลกรรม ที่ว่า..ทำดี-ได้ดี ทำชั่ว-ได้ชั่ว เพราะเข้าใจเรื่องกรรมผิดไป
เช่นนายขาวเป็นผู้มีอิทธิพล ค้าของเถื่อน คอรัปชั่น การกระทำของนายขาว ผิดทั้งทางโลกและทางธรรม แต่เนื่องจากนายขาวเป็นผู้มีอิทธิพล จึงไม่ถูกกฎหมายลงโทษ นายขาวมีฐานะร่ำรวยเป็นเศรษฐีมีความเป็นอยู่ที่สะดวกสบาย มีคนนับหน้าถือตาในสังคม คนทั่วไปก็รู้ว่านายขาวค้าของเถื่อน คอรัปชั่น ถึงแม้ในใจจะไม่ชอบนายขาว แต่เมื่อพบหน้านายขาวก็แสดงความเคารพนอบน้อม ยกย่องให้เกียรติตามมารยาท ขณะเดียวกันก็มีความเห็นว่า นายขาวทำชั่วแต่กลับได้ดี ตัวอย่างที่กล่าวมานี้มีอยู่มากมายในสังคมไทย ทำให้คนส่วนหนึ่งไม่เชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม กลับเห็นว่า..ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป
ในทางธรรม นายขาวทำชั่วผิดศีล จะต้องได้รับผลร้ายตอบแทนอย่างแน่นอน เงินที่ได้มาอย่างไม่สุจริตเป็นเงินร้อน จะนำความวิบัติมาสู่นายขาว ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เป็นต้นว่า จะทำให้คนในครอบครัวของนายขาวเป็นคนฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย ใช้เงินอย่างไม่ประหยัด ลูกนายขาวอาจชอบเที่ยวเตร่ เสเพล เกียจคร้าน ไม่สนใจการเรียน หมกมุ่นในอบายมุข กล่าวโดยสรุปก็คือ..เสียคน ทำให้นายขาวและภรรยาทุกข์ใจ นอกจากนี้ลูกเห็นพ่อโกง ต่อไปลูกก็จะโกง สำหรับตัวนายขาวเองก็จะเข้าสังคมที่ฟุ้งเฟ้อ มีเมียหลายคน เมียหลวงนายขาวก็อาจจะประชดสามี ออกนอกบ้านไปมีชู้ ทำให้ครอบครัวแตกแยกขาดความอบอุ่น มีแต่เรื่องบาดหมางทุกข์ใจ หรือในบั้นปลาย นายขาวอาจจะเสื่อมลาภ เสื่อมยศ ถูกนินทา มีทุกข์มาก เพราะมีชีวิตตกต่ำ มีโรคภัยไข้เจ็บตามมา พฤติกรรมเช่นนี้มีให้เห็นอยู่ไม่น้อยในสังคม
ยิ่งไปกว่านั้นวิบากกรรมที่ทำไว้ จะส่งผลให้บั้นปลายชีวิตของนายขาว พบกับเรื่องร้ายนานาประการ ผลของกรรมยังตามไปสนองในชาติหน้า นายขาวอาจจะไปเกิดในอบายภูมิ เป็นสัตว์นรก เปรต อสุรกาย หรือสัตว์เดรัจฉาน รับเคราะห์กรรมไปนาน เงินทองที่ได้จากการทำชั่ว ใช้อยู่ไม่นานก็หมด เมื่อตายไปก็เอาไปไม่ได้สักสตางค์ แต่จะต้องไปใช้กรรมหนักหนาสาหัสไม่คุ้มกันเลย..
๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐
ทำดีกันให้มากๆ นะครับ ตายไปจะพาไปขึ้นสวรรค์จ๊ะ
วันศุกร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2558
นิทานเซนตอนปัญหารบกวนจิตใจ 3 ประการ
ยังมีแม่ทัพใหญ่ผู้หนึ่ง ในใจมีคำถามที่ขบคิดไม่เข้าใจอยู่ 3 ประการ จึงได้ตัดสินใจปลอมแปลงตนเองด้วยเครื่องแต่งกายของชาวบ้านธรรมดา แล้วออกเดินทางขึ้นเขาเพื่อไปขอให้อาจารย์เซนชี้แจงแถลงคำตอบของปัญหาทั้ง 3 ข้อนี้ต่อเขา
เมื่อแม่ทัพเสาะหาจนพบอาจารย์เซน อาจารย์เซนกำลังขุดดินดายหญ้าอยู่ในแปลงผัก แม่ทัพจึงเป็นฝ่ายเอ่ยขึ้นว่า "ข้ามีปัญหารบกวนจิตใจอยู่ 3 ประการที่ต้องการคำชี้แนะจากท่านอาจารย์"
ข้อแรกคือ เวลาใด ที่สำคัญที่สุด?
ข้อสองคือ ในการร่วมกันทำงานนั้น บุคคลที่สำคัญที่สุดคือใคร?
ข้อสุดท้ายคือ สิ่งสำคัญที่สุดที่ควรกระทำคืออะไร?
ทว่าอาจารย์เซนไม่เพียงไม่ตอบคำถาม ทั้งยังก้มหน้าก้มตาขุดดินดายหญ้าต่อไป ฝ่ายแม่ทัพเห็นว่าอาจารย์เซนอายุมาก ทั้งยังผอมแห้งแรงน้อย จึงอาสาช่วยขุดดินแทนให้ พร้อมทั้งกล่าวกับอาจารย์เซนว่า "หากท่านอาจารย์ไม่มีคำตอบให้ข้า ขอเพียงเอ่ยปาก ข้าก็จะเดินทางกลับ" ทว่าอาจารย์เซนยังคงเงียบงัน แม่ทัพจึงขุดดินดายหญ้าต่อไปเรื่อยๆ
จากนั้นไม่นาน ปรากฏคนผู้หนึ่งซึ่งได้รับบาดเจ็บสาหัสโซซัดโซเซมาถึงเบื้องหน้าคนทั้งสอง จากนั้นจึงสลบไป แม่ทัพจึงรีบประคองคนผู้นั้นไปพักผ่อนยังเพิงหญ้าคาทั้งยังทำแผลให้และคอยเฝ้าดูอาการจนวันรุ่งขึ้น
วันรุ่งขึ้น เมื่อชายผู้ได้รับบาดเจ็บฟื้นขึ้นมาพบหน้ากับแม่ทัพใหญ่ ได้เอ่ยปากขออภัยในทันที ส่วนแม่ทัพกลับไม่ทราบว่าเป็นเรื่องราวใด คนผู้นั้นจึงอธิบายว่า "ในสงครามครั้งหนึ่ง ท่านเคยสังหารน้องชายของข้า บัดนี้เมื่อข้าทราบว่าท่านเดินทางขึ้นเขา จึงสบโอกาสคิดมาลอบสังหารท่าน มิคาดกลับโดนผู้ติดตามของท่านทำร้ายจนบาดเจ็บสาหัส แรกทีเดียวคิดว่าต้องตายแน่นอน แต่สุดท้ายกลับเป็นท่านอีกเช่นกันที่ช่วยชีวิตข้าไว้ ดังนั้นข้าจึงล้มเลิกความคิดฆ่าฟันท่านแล้ว"ความแค้นที่แม่ทัพได้ก่อไว้เมื่อหลายปีก่อน คลี่คลายลงอย่างง่ายดายในลักษณะนี้ จนแม้แต่ตัวแม่ทัพเองยังแทบไม่เชื่อว่าเป็นความจริง
ก่อนที่แม่ทัพจะเดินทางลงจากเขา อาจารย์เซนจึงได้เอ่ยปากกับเขาเป็นครั้งแรกว่า "ปัญหาทั้ง 3 ข้อของท่านคงได้รับการคลี่คลายแล้ว" แต่แม่ทัพยังคงไม่เข้าใจ อาจารย์เซนจึงอธิบายต่อว่า "หากเมื่อวานนี้ท่านไม่ได้อยู่ช่วยข้าขุดดินดายหญ้า แต่ตัดสินใจเดินทางกลับไปก็อาจจะโดนคนผู้นี้ทำร้ายกลางทาง ดังนั้นเวลาที่สำคัญที่สุดก็คือเวลาที่ท่านขุดดินดายหญ้านี้เอง และวานนี้หากท่านไม่ยื่นมือช่วยคนผู้นี้ ท่านกับเขาย่อมไม่อาจเพาะบุญคุณ ลบความแค้น ดังนั้นบุคคลที่ทำคัญที่สุดสำหรับท่านในตอนนี้ก็คือคนผู้นี้เอง และสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ควรกระทำคือการที่ท่านได้ดูแล รักษาอาการบาดเจ็บของเขาจนหายดี...ท่านจงจำไว้ว่า เวลาที่สำคัญที่สุดคือ ปัจจุบัน เพราะเป็นช่วงเวลาเดียวที่ท่านสามารถควบคุมจัดการได้ ส่วนบุคคลที่สำคัญที่สุดก็คือคนที่อยู่กับท่าน ณ ขณะนั้น และสิ่งที่พึงกระทำมากที่สุดคือทำให้คนที่อยู่ข้างๆ ณ ขณะนั้นเป็นสุข"
ปัญญาเซน : สรรพสิ่งมี "เกิดขึ้น" และ "ดับลง" ในระหว่างการ เกิด-ดับ นั้น มีเพียงสิ่งเดียวที่คงอยู่ คือ ปัจจุบันกาล และเป็นสิ่งเดียวที่สามารถควบคุมจัดการได้ เพื่อให้บรรลุยังเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้
นิทานเซนตอนพระผู้เฒ่ากับคนแบกของ
พระเซนชรารูปหนึ่งในประเทศจีนซึ่งปฏิบัติภาวนาอยู่นานหลายปี ท่านมีจิตดีและกลายเป็นคนสงบเงียบมาก แต่ก็ยังไม่เคยสัมผัสการสิ้นสุดแห่ง "ฉัน" และ "ผู้อื่น" ภายในใจได้อย่างแท้จริง ท่านไม่เคยบรรลุถึงต้นธารความนิ่งหรือศานติที่สมบูรณ์ซึ่งเป็นบ่อเกิดการเปลี่ยนแปลงอันลึกซึ้ง ด้วยเหตุนี้ท่านจึงไปขออนุญาตอาจารย์ว่า
"ผมขอออกไปปฏิบัติบนเทือกเขาได้ไหมครับ ผมถือบวชและฝึกฝนมานานหลายปี ไม่ต้องการอื่นใดนอกจากการเข้าใจธรรมชาติแท้ของตนเองและโลก"
อาจารย์รู้ว่าจิตของพระรูปนี้สุกงอมแล้วจึงอนุญาตให้ไปได้ ท่านออกจากวัดโดยมีบาตรและบริขารเพียงเล็กน้อยติดตัว ระหว่างทางได้เดินผ่านเมืองต่าง ๆ หลายเมือง ครั้นออกจากหมู่บ้านสุดท้ายก่อนขึ้นเขา ปรากฏว่ามีชายชราคนหนึ่งเดินสวนทางลงมา ชายคนนั้นมีห่อใหญ่มากเป้ติดหลังมาด้วย (ชายชราผู้นี้แท้จริงแล้วคือพระมัญชุศรีโพธิสัตว์ ซึ่งพุทธศาสนิกชาวจีนเชื่อกันว่าจะมาปรากฏแก่คนที่มีจิตสุกงอมในจังหวะที่เขาจะบรรลุธรรม ภาพของพระมัญชุศรีที่มีการบรรยายไว้มาก มักเป็นภาพพระองค์ถือดาบแห่งปรีชาญาณคมกริบที่สามารถตัดความยึดมั่น มายาคติ และความรู้สึกแบ่งแยกได้หมดสิ้น) ชายชราเอ่ยทักพระว่า
"สหาย ท่านกำลังจะไปไหนหรือ"
พระจึงเล่าเรื่องของตนว่า
"เราปฏิบัติมานานหลายปีแล้ว ตอนนี้สิ่งเดียวที่ต้องการคือการได้สัมผัสจุดศูนย์กลางนั้น คือการรู้สิ่งที่เป็นแก่นแท้แห่งชีวิต บอกเราเถิดผู้เฒ่า ท่านทราบอะไรเกี่ยวกับความรู้แจ้งนี้บ้างไหม"
จังหวะนั้นชายชราเพียงแต่ปลดของที่แบกมาปล่อยให้หล่นลงพื้น แล้วพระก็บรรลุธรรมตามแบบฉบับนิทานเซนที่ดี ความหมายก็คือ เราต้องรู้จักปล่อยวางความทะเยอทะยานและสิ่งที่ยึดมั่นว่าเป็นภารกิจ ปล่อยวางอดีต อนาคต อัตลักษณ์ ความกลัว ทัศนคติ ความรู้สึกแห่งความเป็น "ตัวฉัน" และ "ของฉัน" เสียให้สิ้น
มาถึงจุดนี้ พระเพิ่งบรรลุธรรมมองชายชราอย่างสับสนเล็กน้อยว่าควรทำอย่างไรต่อไป ท่านถามว่า
"แล้วต่อไปล่ะ"
ชายชรายิ้มก่อนก้มลงหยิบห่อของมา เป้ใส่หลังอีกครั้งแล้วเดินเข้าเมืองไป
การจะวางแอกหนักลงได้นั้น ก่อนอื่นเราต้องรับรู้ทุกอย่างที่แบกอยู่ กล่าวคือ เราต้องเห็นความทุกข์โศกของตนเอง เห็นความยึดมั่นและความเจ็บปวด เห็นความที่เราทั้งหลายต่างก็อยู่ในวังวนนี้ และยอมรับการเกิดและการตาย หากเราไม่เผชิญหน้า ถ้าเรากลัวตาย กลัวการยอมระวางและไม่อยากมอง เราไม่อาจเปลื้องความทุกข์โศกไปได้ มีแต่จะผลักไสมันแล้วก็หวนมายึดจับกลับไปกลับมาอยู่เท่านั้นเอง เราจะปลงภาระได้ก็ต่อเมื่อได้เห็นธรรมชาติของชีวิตอย่างตรงไปตรงมาแล้วเท่านั้น ครั้นแล้วด้วยปัญญากรุณา เราก็สามารถหยิบมันขึ้นมาใหม่ เมื่อปล่อยวางแล้ว เราย่อมกระทำ
การต่าง ๆ ในโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือกระทั่งอย่างน่าทึ่ง โดยไม่รู้สึกขมขื่นหรือเกิดความสำคัญตนแต่อย่างใด.
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
น้ำกับทิฐิ
นานมาแล้วมีชายคนหนึ่งชื่อว่า...ทิฐิ... เขาเป็นคนที่มีนิสัยอวดดื้อถือดีไม่ต่างจากชื่อ เพราะเมื่อได้ลองเชื่อมั่นในสิ่งใดแล้ว ทิฐิคนนี้ก็จะยึดม...
-
มัชฌิมาปฏิปทาในทางพุทธศาสนาหมายถึงทางสายกลาง คือ การไม่ยึดถือสุดทางทั้ง 2 ได้แก่ อัตตกิลมถานุโยค คือ การประกอบตนเองให้ลำบากเกิน...
-
อุปสรรคของสมาธิคืออะไร..? อุปสรรคของสมาธิ ได้แก่ นิวรณ์ หมายถึง สิ่งที่กั้นจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณความดี, ไม่ให้บรรลุสมาธิได้ มี 5 อ...
-
.....พรานคงและคนรุ่นเก่า ๆ ให้สัจจะปฏิญาณว่า ถึงจะล่าสัตว์ก็จริง แต่จะไม่ล่าและฆ่าลิง ค่าง บ่าง ชนี เพราะสัตว์เหล่านี้เมื่อถลก หนังออกแล้ว ม...