วันอังคารที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ปฏิบัติธรรมไปทำไม?

มีผู้มาถามพุทธเจ้าว่า"ปฏิบัติธรรมไปทำไม?"

-การปฏิบัติธรรมของเรา.......ไม่เป็นไปเพื่อปรับวาทะกับเจ้าลัทธิอื่น(ไม่ได้ไปโต้เถียงกัน)
-การปฏิบัติธรรมของเรา.......ไม่ได้เป็นเพื่อชื่อเสียง
-การปฏิบัติธรรมของเรา.......ไม่ได้เป็นไปเพื่อลาภสักการะ
-การปฏิบัติธรรมของเรา.......ไม่ได้เป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์ของอาหาร
-การปฏิบัติธรรมของเรา.......ไม่ได้เป็นไปเพื่ออนิสงค์ของสมาธิ
-การปฏิบัติธรรมของเรา.......ไม่ได้เป็นไปเพื่ออนิสงค์ของปัญญา
-การปฏิบัติธรรมของเรา.......เป็นไปเพื่อ หลุดพ้น จาก เพลิงทุกข์ เพลิงกิเลส ด้วยการทำอาสวะให้สิ้น
..........................
//-เราขอประกาศว่า
เราตรัสรู้โดยชอบ ด้วยตนเอง
อาสวะใด ที่มนุษย์ยึดอยู่ เราทำให้สิ้นแล้ว
ธรรมะนั้น เราเรียบเรียงไว้ดีแล้ว(ธรรมะที่ พัฒนามนุษย์เป็นอริยะบุคคล)
ธรรมะนั้น ผู้ปฏิบัติธรรม และเปลี่ยนเป็นอริยะบุคคล มีอยู่
........................
//-อาสวะบางอย่าง พ้นได้.......................ด้วยการมีวิสัยทัศน์ เห็นด้วยปัญญา
-อาสวะบางอย่างต้อง"เว้น".....................เช่นคนร้าย สัตว์ร้าย ความคิดชั่วร้าย ตัวอย่างชั่วร้าย
-อาสวะบางอย่างต้องอดทน.....................เมื่อถูกทดสอบ หรือไม่มีทางหลีก
..อดทนที่ฝึกฝน ยกระดับภูมิจิต ธรรม ปัญญา ให้ยิ่งฯ
-อาสวะบางอย่างต้องพิจรณาก่อนนำมาใช้.....เช่นปัจจัยสี่ ความรู้ที่นำเข้ามา เพื่อไม่ติด หลงไหล เป็นทาส วัตถุกาม
-อาสวะบางอย่าง ต้องตกผลึกความคิด .......เอาอดีตมาแยก เป็นขันธุ์ พิจรณาแยกเป็นส่วนๆ แล้วทิ้งอกุศล เหลือกุศลเจริญให้แข็งแรง
-อาสวะบางอย่าง ต้องบวช......................เปลี่ยนสัญชาติญาณดิบ ไปทำสิ่งดีๆ ให้ ตน สังคม สิ่งแวดล้อม(เปลี่ยนกิเลส ให้เป็นโพธิ)
-อาสวะบางอย่าง ต้องคิดแบบพุทธะ............"คิดให้เป็น(คิดแบบสิบมิติ)
-อาสวะบางอย่าง ต้อง"ไม่ประมาท" ...........เช่นขบวนการปรุงแต่ง(สังขาร)
ความคิด เจตนา บุคลิกภาพ ภายใน และ กรรม เวลา มัจจุราช ที่ไม่เคยคอยใคร
.............................
//-ทุกคนมีธาตุแห่งพุทธะ(สัมมาสติ โพธิปัญญารู้แจ้งในธรรมะ)อยู่ภายใน
แต่มีผู้รู้(วิธีปลุกให้ตื่น) กับไม่รู้(วิธีปลุกให้ตื่น)
.................
//-วิธีคิด สิบมิติ
1.คิดจากเหตุ.........................ไปหาผล
2.คิดจากผล...........................กลับมาที่เหตุ
3.คิดเห็น...............................เหตุปัจจัยปรุงแต่ง เป็นลูกโซ่ ให้เกิดสิ่งต่างๆ
4.คิดเห็น...............................อะไรเป็นตัวจุดประกาย ให้เกิด
5.คิดเห็น...............................อะไรเป็นตัวส่งเสรีม ให้เจริญ
6.คิดเห็น...............................อะไร เป็นตัวตัดรอนให้เสื่อม
7.คิดเห็น...............................อะไรเป็นตัวตัดขาด ให้ดับ
8.คิดแบบ..............................แยกแยะ องค์ประกอบ เป็นส่วนๆ
9.คิดแบบ..............................มองแบบองค์รวม มาทำหน้าที่ร่วมกัน
10.คิดเห็น.............................ความเป็นไปได้ จริง หรือ หลอก
......................................................... สาธุ

จากเพื่อน Google+ ขอบคุณครับ?

ปฐมเทศนา

ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร 


[๑๓] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะพระปัญจวัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ที่สุดสองอย่างนี้อันบรรพชิตไม่ควรเสพ คือ
การประกอบตนให้พัวพันด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย เป็นธรรมอันเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑
การประกอบความเหน็ดเหนื่อยแก่ตน เป็นความลำบาก ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั้น นั่นตถาคตได้ ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิปทาสายกลางที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตา ให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพานั้ นไฉน?
ปฏิปทาสายกลางนั้น ได้แก่อริยมรรค มีองค์ ๘ นี้แหละ คือปัญญาอันเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑ เจรจาชอบ ๑ การงานชอบ ๑ เลี้ยงชีวิตชอบ ๑ พยายามชอบ ๑ ระลึกชอบ ๑ ตั้งจิตชอบ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือปฏิปทาสายกลางนั้น ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.

[๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขอริยสัจ คือ ความเกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่ ก็เป็นทุกข์ ความเจ็บไข้ก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์ ความประจวบด้วยสิ่งที่ไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ โดยย่นย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขสมุทัยอริยสัจ คือตัณหาอันทำให้เกิดอีก ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน มีปกติเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขนิโรธอริยสัจ คือ ตัณหานั่นแลดับ โดยไม่เหลือด้วยมรรคคือวิราคะ สละ สละคืน ปล่อยไป ไม่พัวพัน.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แหละ คือ ปัญญาเห็นชอบ ๑ ... ตั้งจิตชอบ ๑.

[๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขอริยสัจ.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขอริยสัจนี้นั้นแล ควรกำหนดรู้.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขอริยสัจนี้นั้นแล เราก็ได้กำหนดรู้แล้ว.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขสมุทัยอริยสัจ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้นั้นแล ควรละเสีย.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้นั้นแล เราได้ละแล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธอริยสัจนี้นั้นแล ควรทำให้แจ้ง.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธอริยสัจนี้นั้นแล เราทำให้แจ้งแล้ว.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้นแล ควรให้เจริญ.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้นแล เราให้เจริญแล้ว.
ญาณทัสสนะ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒

[๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงของเราในอริยสัจ ๔ นี้ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ ยังไม่หมดจดดีแล้ว เพียงใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังยืนยันไม่ได้ว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ อันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ใน หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เพียงนั้น.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดแล ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงของเรา ในอริยสัจ ๔ นี้ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ หมดจดดีแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้น เราจึงยืนยันได้ว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ อันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์.
อนึ่ง ปัญญาอันรู้เห็นได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ความพ้นวิเศษของเราไม่กลับกำเริบ ชาติ นี้เป็นที่สุด ภพใหม่ไม่มีต่อไป.
ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระโกณฑัญญะว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวล มีความดับเป็นธรรมดา.
[๑๗] ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมจักรให้เป็นไปแล้ว เหล่าภุมมเทวดาได้ บันลือเสียงว่า นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน เขตพระนครพาราณสี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือ ใครๆ ในโลก จะปฏิวัติไม่ได้.
เทวดาชั้นจาตุมหาราช ได้ยินเสียงของพวกภุมมเทวดาแล้ว ก็บันลือเสียงต่อไป.
เทวดาชั้นดาวดึงส์ ได้ยินเสียงของพวกเทวดาชั้นจาตุมหาราชแล้ว ก็บันลือเสียงต่อไป.
เทวดาชั้นยามา ...
เทวดาชั้นดุสิต ...
เทวดาชั้นนิมมานรดี ...
เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวดี ...
เทวดาที่นับเนื่องในหมู่พรหม ได้ยินเสียงของพวกเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวดีแล้ว ก็บันลือเสียงต่อไปว่า นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน เขตพระนครพาราณสี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก จะปฏิวัติไม่ได้.
ชั่วขณะการครู่หนึ่งนั้น เสียงกระฉ่อนขึ้นไปจนถึงพรหมโลก ด้วยประการฉะนี้แล.
ทั้งหมื่นโลกธาตุนี้ได้หวั่นไหวสะเทือนสะท้าน ทั้งแสงสว่างอันยิ่งใหญ่หาประมาณมิได้ ได้ปรากฏแล้วในโลก ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเปล่งพระอุทานว่า ท่านผู้เจริญ โกณฑัญญะ ได้รู้แล้วหนอ ท่านผู้เจริญ โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ เพราะเหตุนั้น คำว่า อัญญาโกณฑัญญะนี้ จึงได้เป็นชื่อของท่านพระโกณฑัญญะ ด้วยประการฉะนี้.
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร จบ ( พระวินัยปิฎก เล่ม ๔ มหาวรรคภาค ๑ )

วันพุธที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2557

อุปสรรคของสมาธิ

อุปสรรคของสมาธิคืออะไร..?


อุปสรรคของสมาธิ ได้แก่ นิวรณ์   หมายถึง  สิ่งที่กั้นจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณความดี,  ไม่ให้บรรลุสมาธิได้   มี 5 อย่าง คือ

1. กามฉันท์  พอใจในกามคุณ 5 ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สิ่งสัมผัสทางกาย ที่น่ารักน่าใคร่
2. พยาบาท  คิดร้ายผู้อื่น
3. ถีนมิทธะ  ความหดหู่ ท้อแท้ และซึมเซา ง่วงซึม เคลิ้มหลับ
4. อุทธัจจกุกกุจจะ  ความฟุ้งซ่าน และหงุดหงิด รำคาญใจ
5. วิจิกิจฉา  ความลังเลสงสัย ไม่แน่ใจในคุณพระรัตนตรัย และวิธีการที่ปฏิบัติ


อีกอย่างหนึ่ง  หมายถึง อุปกิเลสของสมาธิ 11 อย่าง ได้แก่


1. วิจิกิจฉา  ความลังเล หรือความสงสัย
2. อมนสิการ  ความไม่สนใจ ใส่ใจ ไว้ให้ดี
3. ถีนมิทธะ  ความท้อ และความเคลิบเคลิ้ม ง่วงนอน
4. ฉัมภิตัตตะ ความสะดุ้งหวาดกลัว
5. อุพพิละ  ความตื่นเต้นด้วยความยินดี
6. ทุฏฐุลละ  ความไม่สงบกาย
7. อัจจารัทธวิริยะ  ความเพียรจัดเกินไป
8. อติลีนวิริยะ  ความเพียรย่อหย่อนเกินไป
9. อภิชัปปา  ความอยาก
10. นานัตตสัญญา  ความนึกไปในสิ่งต่างๆ เรื่องราวต่างๆ ที่เคยผ่านมาหรือจดจำไว้ มาผุดขึ้นในขณะทำสมาธิ
11. รูปานัง อตินิชฌายิตัตตะ  ความเพ่งต่อรูปหรือเพ่งต่อนิมิตนั้นจนเกินไป?

วันอังคารที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2557

ผลกรรมทำผิดศีล 5 ครับ


ปาณาติปาตา เวรมณี สิกฺขาปทํสมาทิยามิ

ผิดศีลข้อ 1 : ฆ่าสัตว์ เบียดเบียนทำร้ายสัตว์ กักขังทรมานสัตว์

ผลกรรมคือ

1.มักมีปัญหาสุขภาพ ขี้โรค มีโรคเรื้อรัง รักษาไม่หาย รักษายุ่งยาก
2.มีอุบัติเหตุบ่อย ๆ อาจมีอุปฆาตกรรม คือกรรมตัดรอน ทำให้ตายก่อนอายุขัย
3.อาจพิกลพิการ มีปัญหาร่างกายไม่สมส่วน ไม่สมประกอบ
4.กำพร้าพ่อแม่ คนใกล้ตัวโดนฆ่า
5.อายุสั้น ตายทรมาน ตายแบบเดียวกับที่ไปฆ่าไปทรมานสัตว์ไว้
6.อัปลักษณ์ มีปมด้อยด้านสังขาร

แนะนำหนทางทุเลา : ตั้งสัจจะว่าจะพยายามไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ทำร้ายหรือเบียดเบียน ไม่แกล้ง ไม่กักขัง ว่าง ๆ ก็ไถ่ชีวิตสัตว์ เช่น ไปตลาดซื้อปลาที่เค้ากำลังจ ะขายให้คนไปทำกินให้เราซื้อไปปล่อยในเขตอภัยทาน

หรือซื้อยาสมุนไพรยาแผนปัจจุบันไปให้ถวายพระที่วัด หรือไปตามโรงพยาบาลทั้งของคนปกติและของสงฆ์เพื่อบริจาคค่ารักษา หรือรับอุปถัมภ์ค่ารักษาพยาบาลบริจาคเลือดและร่างกาย ให้สภากาชาดไทยหรือตามโรงพยาบาลต่าง ๆ และอื่น ๆ ตามแต่จะสะดวกและตามกำลัง

อทินฺนาทานา เวรมณี สิกฺขาปทํสมาทิยามิ

ผิดศีลข้อที่ 2 : ลักทรัพย์ ขโมย ฉ้อโกง ยักยอก ทำลายทรัพย์

ผลกรรมคือ

1.ธุรกิจไม่เจริญก้าวหน้า เจ๊ง ขาดทุน ฝืดเคือง โดนโกง
2.มีแต่อุบัติเหตุให้เสียทรัพย์สิน ต้องชดใช้ให้คนอื่นอย่างไร้เหตุผล
3.ทรัพย์หายบ่อย ๆ หลงลืมทรัพย์วางไว้ไม่เป็นที่ หาก็ไม่เจอ
4.มีคนมาผลาญทรัพย์เรื่อย ๆ ทั้งคนใกล้ตัวและคนทั่วไป
5.ลูกหลานแย่งชิงมรดก โดนลักขโมยบ่อย ๆ
6.ตระกูลอับจนไม่มีที่สิ้นสุด มีแต่คนมาทำลายทรัพย์

แนะนำหนทางทุเลา : ตั้งสัจจะไม่ยุ่งกับทรัพย์สินของคนอื่น หากอยากได้ให้ขอเสียก่อน จนกว่าเจ้าของจะอนุญาตด้วยความเต็มใจ หมั่นทำบุญสังฆทาน บริจาคค่าน้ำ ค่าไฟวัดเพื่อที่ศาสนาจะได้ไม่ขาดแคลนปัจจัย

ส่งผลบุญให้เราไม่ขัดสน มอบทุนการศึกษาแด่ผู้ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ผลบุญทำให้เรามีปัญญาที่จะหาทรัพย์อย่างสุจริตรวม ทั้งต้องตั้งสัจจะที่จะมีสัมมาอาชีพ ไม่ฉ้อโกงใคร แม้แต่สลึงเดียวและอื่น ๆ ตามแต่จะสะดวกและตามกำลัง

กาเมสุมิจฺฉาจารา เวรมณี สิกฺขาปทํสมาทิยามิ

ผิดศีลข้อ 3 ประพฤติผิดในกาม ผิดลูกเมียคนอื่น (ล่วงเกินบุตรธิดาของผู้อื่นก่อนได้รับอนุญาต แย่งคนรักของคนอื่น กีดกันความรักคนอื่น นอกใจคู่ครอง หลอกลวง ข่มขืน ค้าประเวณี ล่วงเกินทางเพศต่าง ๆ)

ผลกรรมคือ

1.หาคู่ครองไม่ได้,ไม่มีใครเอา, หน้าตาอัปลักษณ์, โดนเพศตรงข้ามล้อเลียนจนมีปมด้อย
2.เป็นหม้าย, ผัวเมียตายจาก, ผัวหย่าเมียร้าง, คบใครก็มีเหตุให้หย่าร้างเลิกรา
3.คนรักนอกใจ, คนรักมีชู้, มีเมียน้อย, คบใครก็เจอแต่คนเจ้าชู้, โดนหลอกฟัน, ท้องไม่รับ, เสียตัวฟรี, โดนข่มขืน
4.ไม่มีมิตรจริงใจ, เพื่อนฝูงไม่รัก, พี่น้องก็ไม่รัก, พ่อแม่ทอดทิ้ง, ชีวิตขาดความอบอุ่น, มีแฟนก็ไม่มีใครจริงจังด้วย, ครอบครัวไม่อบอุ่น
5.มีความผิดปกติทางเพศ, ทางร่างกาย, ทางจิตใจ, ถูกกีดกันทางความรัก, สังคมไม่ยอมรับความรักของตน, มีความรักหลบ ๆ ซ่อน ๆ
6.ต้องมีเหตุพลัดพรากจากคนรักและของรักอยู่เสมอ (ก่อนเวลาอันควร)

แนะนำหนทางทุเลา : ตั้งสัจจะว่าจะไม่ทำผิดเรื่องทางเพศ ไม่ทำให้ใครรู้สึกผิดหวังเสียใจในเรื่องความรัก ไม่กีดกัน ไม่คิดแย่งหรือไปรักกับคนรักของใคร ไม่คิดทำร้ายความรู้สึกคนรัก ไม่ล่วงเกินบุตรธิดาของใครก่อนได้รับอนุญาต รักเดียวใจเดียว ไม่นอกใจไม่มีกิ๊ก พอใจในคู่ครองของตนเอง

หมั่นทำบุญถวายเทียนคู่ให้วัด ถวายธงคู่ประดับวัด ช่วยออกค่าใช้จ่ายงานแต่งงานและอื่นๆ ตามแต่จะสะดวกและตามกำลัง หรือให้ธรรมะด้านความรักแก่คู่รักที่รู้จักเอาใจใส่คู่ครอง คนรักเอาใจใส่พ่อแม่ของตนเอง หากรักพ่อแม่เอาใจใส่พ่อแม่อย่างดีจะได้รับผลบุญ ทำให้ความรักของเราสดใสไม่เจ็บช้ำหากทรมานพ่อแม่ ทำอย่างไรกับพ่อแม่ไว้ต่อไปชีวิตรักก็จะเลวร้ายพอ ๆ กับความรู้สึกเสียใจของพ่อแม่ที่เราได้กระทำไว้

มุสาวาทา เวรมณี สิกฺขาปทํสมาทิยามิ

ผิดศีลข้อ 4 : โกหก ปลิ้นปล้อน กลับคำ ไม่มีสัจจะ (หลอกลวงผู้อื่นใส่ร้ายผู้อื่น ยุแยงให้คนแตกกัน ใช้วาจาดูหมิ่น พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ ขี้โม้ นินทา ด่าทอ ด่าพ่อล้อแม่ ด่าและเถียงผู้มีพระคุณ ผิดสัญญาสาบานแล้วไม่ทำตาม)

ผลกรรมคือ

1.ปากไม่สวย ฟันไม่สวย มีกลิ่นปาก มีปัญหาเรื่องปากเรื่องฟันอยู่เนืองนิจ
2.มีแต่คนพูดให้เสียหาย มีคนซุบซิบนินทาเรื่องของเรา มีคนคอยใส่ร้ายดูหมิ่นและส่อเสียดเราอยู่เสมอ
3.ไม่มีใครจริงใจด้วย มีแต่คนมาพูดจาหลอกลวง ผิดสัญญาต่อเรา
4.เกิดในสังคมที่พูดแต่คำหยาบคำส่อเสียดปลิ้นปล้อน นินทาอยู่เนืองนิจ เพียงตื่นมาก็พบเจอความไม่เป็นมงคล (สังคมที่ปากไม่เป็นมงคล)
5.หลงเชื่อคนอื่นได้ง่าย โดนหลอกได้ง่าย ไม่มีความระวังเวลาโดนโกหก
6.ไม่มีใครเชื่อถือในคำพูดของเรา, เป็นคนที่พูดอะไรแล้วคนเมิน,พูดติดๆขัดๆ, นึกจะพูดอะไรก็ไม่ได้ดั่งใจ

แนะนำหนทางทุเลา : ตั้งสัจจะว่าจะไม่พลั้งปากโกหกหรือส่อเสียดนินทายุแยงใคร ไม่ด่าใคร พูดตามความเป็นจริงทุกอย่าง สิ่งใดควรพูดก็ควรพูด ไม่ควรพูดก็อดทนไว้ ไม่ด่า ไม่เถี ยง ไม่นินทาผู้มีพระคุณ เช่น พ่อแม่ ครูบาอาจารย์ ให้คำสั ญญาใครไว้ต้องรักษา

อย่าสาบานอะไรพร่ำเพรื่อ ว่างๆ ก็ออกค่าใช้จ่ายให้ค่าทำฟันแก่คนยากคนจนและอื่นๆ ตามแต่จะสะดวกและตามกำลัง หมั่นให้สัจธรรมความจริงแก่คนทั่วไป พูดแต่ธรรมะ สอนธรรมะอยู่เสมอ หมั่นพูดหรือเผยแพร่ธรรมะให้คนอื่นฟังบ่อยๆ ทำตัวให้มีธรรมะให้มีสัจจะพูดอะไรก็ไม่ผิดคำพูด ไม่กลับคำ ไม่หลอกลวงใคร คนจะเชื่อถือมากขึ้น

สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา เวรมณี สิกฺขาปทํสมาทิยามิ

ผิดศีลข้อ 5 : ดื่มของมึนเมา เสพยาเสพติด (ให้ยาเสพติด ให้ของมึนเมา ขายของมึนเมา ขายยาเสพติด)

ผลกรรมคือ

1.สติปัญญาไม่ดี ขี้หลงขี้ลืม เรียนไม่เก่ง อ่านหนังสือไม่จำ อ่านยังไงก็ไม่เข้าใจ
2.เกิดในตระกูลที่โง่เขลา เต็มไปด้วยอบายมุข
3.หากกรรมหนักจะเกิดเป็นเอ๋อ ปัญญาอ่อน เป็นโรคทางปัญญา
4.ลูกหลานสำมะเลเทเมา มีลูกหลานติดยาเสพติด
5.เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ไม่มีสติระวัง มีแต่ความประมาท
6.มักลุ่มหลงในสิ่งผิดได้ง่าย เป็นคนที่โดนมอมเมาให้หลงใหลในสิ่งผิดได้ง่าย (ขาดสติ)

แนะนำหนทางทุเลา : ตั้งสัจจะว่าจะไม่ดื่มของมึนเมาและยาเสพติดทุกชนิด ไม่จำหน่ายจ่ายแจกของมึนเมาและยาเสพติดทุกชนิด หมั่นทำธรรมทาน วิทยาทานให้ปัญญาความรู้แก่คนทั่วไปและอื่น ๆ ตามแต่จะสะดวกและตามกำลัง

และนี่เป็นผลกรรมและหนทางทุเลากรรมได้บางส่วน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ชาวสนุก!ดูดวง ทุกคนควรหลีกเลี่ยงการทำผิดศีลในทุกๆ ข้อ จะดีที่สุด และที่สำคัญประพฤติตนเป็นคนดี ไม่ทำความเดือดร้อนให้คนรอบข้างจะดีที่สุด

วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557

สัมมาอาชีวะ

      สัมมาอาชีวะ( ในพระพุทธศาสนา ) "สัมมาอาชีวะ หรือ สัมมาชีพ" แปลว่า การเลี้ยงชีวิตในทางที่ชอบ คือการทำมาหากิน หรือหน้าที่การงาน การทำงานของมนุษย์เราเพื่อหารายได้มาประทังชีวิตหรือเลี้ยงชีวิตของตนและครอบครัวนั่นเอง. การเลี้ยงชีวิต ไม่ว่าจะเป็นอาชีพอะไรก็แล้วแต่ จะเป็น พ่อค้า แม่ค้า ชาวไร่ ชาวนา เกษตรกรรม ปศุสัตว์ หรือจะเป็นข้าราชการ นักธุรกิจ อย่างใดอย่างหนึ่งก็แล้วแต่ สรูปการกระทำนั้น ๆ ออกมาเป็น 2 ทาง คือ 1. ทางกาย คือ การงานหรืออาชีพ ที่ต้องใช้กำลังแรงกาย หรือการกระทำทางกายเข้าประกอบ 2. ทางวาจา คือ การงานหรืออาชีพ ที่ต้องใช้วาจาเข้าประกอบในการทำงาน อาชีพบางอย่าง อาจใช้แรงกายอย่างเดียวเข้ากระทำ อาชีพบางอย่าง อาจใช้วาจาอย่างเดียว ในการกระทำ, และอาชีพบางอย่างอาจใช้ทั้งทางกาย และทางวาจาทั้งสองเข้ากระทำ เช่น ค้าขาย ใช้แรงกายในการผลิตสินค้า และใช้คำพูดหรือเครื่องมือ เช่นหนังสือ เครืองคอมพ์ เป็นต้น ในการโฆษณาสินค้า หรือบอกราคาสินค้า ถ้าผลิตสินค้าปลอม เป็นกายทุจริต โฆษณาเกินความจริง หรือตั้งราคาสูงเกินความจริง เป็นวจีทุจริต อย่างนี้เป็นต้น .....ฯ เพราะฉะนั้น การกระทำทางกาย และทางวาจา คือคำพูด นี้จึงเป็นหลักในการทำงาน หรืออาชีพ ดังนั้น สัมมาอาชีพในทางพระพุทธศาสนา จึงกำหนดเอา กายกรรม 3 คือ การกระทำทางกาย 3 ประการ, และวจีกรรม 4 คือการเปล่งวาจา คำพูด หรือแสดงเครื่องหมายสัญลักษณ์ ที่เป็นไปอย่างสุจริต เป็นหลักในการตัดสิน ฯ ถ้ากายกรรม 3 และวจีกรรม 4 ที่เกี่ยวเนื่องกับการงานอันเป็นอาชีพ เป็นทุจริต หรืออาชีพอะไรก็ตามที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกายสุจริต 3 และวจีสุจริต 4. อาชีพนั้น ๆ ทั้งหมด จัดเป็น มิจฉาอาชีวะ หรือเป็นมิจฉาชีพ ทันที...ฯ กายสุจริต 3 ได้แก่ 1. ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่เบียดเบียน ทรมาณสัตว์ทุกชนิด 2. ไม่ลักทรัพย์ ไม่ยักยอกทรัพย์ ตลอดจนวิธีการอื่น ๆ ที่เป็นเหตุให้ได้ทรัพย์มาโดยสุจริต 3. ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่เป็นกิ๊กกับเมียชาวบ้าน ฯลฯ.... วจีสุจริต 4 ได้แก่ 1. ไม่พูดเท็จ 2. ไม่พูดคำหยาบ 3. ไม่พูดส่อเสียด 4. ไม่พูดเพ้อเจ้อไร้สาระ ถ้าหาก กายสุจริต 3, วจีสุจริต 4 เหล่านี้ บุคคลกระทำไปโดยไม่เกียวกับการงานอันเป็นอาชีพ ท่านเรียก กายสุจริต 3 วจีสุจริต 4 เหล่านี้ว่า "สัมมากัมมันตะ และ สัมมาวาจา" ตามลำดับ ฯ (คัดจาก ตามรอยพระพุทธเจ้า )

น้ำกับทิฐิ

นานมาแล้วมีชายคนหนึ่งชื่อว่า...ทิฐิ... เขาเป็นคนที่มีนิสัยอวดดื้อถือดีไม่ต่างจากชื่อ เพราะเมื่อได้ลองเชื่อมั่นในสิ่งใดแล้ว ทิฐิคนนี้ก็จะยึดม...