วันอังคารที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ความทุกข์เป็นเรื่องของใจมากกว่ากาย

         
              บางครั้งเราอาจเป็นทุกข์กับความเจ็บป่วยหรือความลำบากทางกาย
แต่ก็ไม่มากเท่ากับทุกข์ที่เกิดจากความคิดหรือการวางใจไว้ผิด

จริงหรือไม่ว่า เราชอบเก็บเอาความคิดร้ายๆมาใส่ใจ
คำพูดของคนอื่นที่ผ่านไปนานแล้ว เราก็ยังเก็บมาคิดให้รู้สึกเจ็บแค้นในใจ

เวลาที่มีคนต่อว่า แทนที่เราจะทำใจให้เป็นอิสระโดยการปล่อยให้คำพูดนั้นผ่านไปกับกาลเวลา
แต่เรากลับยอมเป็นทาสของถ้อยคำเหล่านั้น ด้วยการเก็บมาคิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า
เหมือนฉายหนังเรื่องเดิมโดยไม่รู้จักหยุด ทั้ง ๆ ที่รู้ดีว่าไม่เกิดประโยชน์อะไร

เมื่อไรก็ตามที่เรามีสติรู้ตัวและไม่ยอมให้ทุกข์เล่นงานอย่างที่เคยเป็น
ไม่ว่าใครก็ไม่อาจบังคับใจเราให้เป็นทุกข์ได้
เมื่อใจของเราไม่ยอมเก็บความคิดร้าย ๆ มาใส่ใจ
ทุกข์เหล่านั้นก็เป็นเหมือนสายลมที่พัดมาแล้วก็ลอยผ่านไป
ไม่ส่งผลสะเทือนต่อความเป็นอยู่ของเรา
เมื่อนั้น ใจเราก็เป็นอิสระจากทุกข์



การปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน

        ทำไมจึงต้องปฏิบัติธรรม? ถ้าเราไม่ปฏิบัติธรรมจิตของเราก็จะไม่เกิดเป็นธรรม เมื่อจิตไม่เป็นธรรม การกระทำ การพูด การคิดเห็น ก็จะไม่เป็นธรรม เพราะมีอารมณ์ของบาปอกุศลคอยคิดเห็นแทนในการกระทำ ในการพูด ในการคิดเห็น เราจึงมักทำอะไรๆผิดๆพลาดๆอยู่เสมอในชีวิตประจำวัน เพราะจิตไม่มีธรรม จึงไม่มีเมตตาธรรม ไม่มีหิริความละอายแก่ใจ ไม่มีโอตตัปปะคือไม่เกลงกลัวต่อบาป ฉะนั้นการปฏิบัติธรรมจึงสำคัญต่อชีวิตเป็นอย่างยิ่ง

การปฏิบัติธรรมทุกๆคนทำได้และทำได้ตลอดเวลาของชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะอยู่วัดหรืออยู่บ้านก็ทำได้และก็ทำในแบบเดียวกันหมด คือมุ่งละบาป ละอกุศลธรรม ละความโลภ, ละความโกรธ, ละความหลง, ด้วยการเจริญสติตามแนวทาง ธัมมานุสสติ คือการระลึกถึงพระธรรม หรือหัวข้อธรรมเป็นอารมณ์ ไว้ในใจตลอดเวลาทั้งวันและคืน หรือท่องธัมมะภาวนาไว้ให้ได้ ๓๐ ครั้งต่อวันหรือตลอดวันของชีวิตประจำวันว่า “อย่ายินดียินร้าย.อย่าว่าร้ายใคร.อย่าคิดร้ายใคร.”
เพื่อให้จิตเกิดความรู้ตัว(คือสัมปชัญญะ) เป็นความจำเก็บสะสมไว้ในจิตใต้สำนึกให้ได้มากๆ อันเป็นเหตุให้จิตมีสติรู้สกัดกั้นบาปและอกุศลไม่ให้เกิดขึ้น หรือเป็นการรู้ปล่อยวางในอารมณ์ เช่นมีใครมาด่าว่าเราๆก็ไม่โกรธเพราะจิตรู้ปล่อยวาง ได้ยินเสียงด่าเพียงสักแต่ว่าได้ยิน จึงไม่โกรธเพราะจิตไม่นึกคิดปรุงแต่งด้วยอัตตา ก็ไม่เกิดการทำบาป เพราะจิตเป็นกุศลธรรม จึงเกิดเป็นบุญคือความสบายใจ และก็อยู่ในความสงบสุข จิตมีความนิ่งไม่ว้าวุ่น ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่เป็นทุกข์ มีเมตตาธรรม มีหิริ มีโอตตัปปะ นี่แหละผลของการปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน ดังนี้.

โดยหลวงพ่ออุดม มหาปุญโญ วัดป่าหนองเลง

น้ำกับทิฐิ

นานมาแล้วมีชายคนหนึ่งชื่อว่า...ทิฐิ... เขาเป็นคนที่มีนิสัยอวดดื้อถือดีไม่ต่างจากชื่อ เพราะเมื่อได้ลองเชื่อมั่นในสิ่งใดแล้ว ทิฐิคนนี้ก็จะยึดม...